svasdssvasds

รู้หรือไม่...ใส่รองเท้าแตะขับรถประเภทไหนบ้างถึงโดนจับ

รู้หรือไม่...ใส่รองเท้าแตะขับรถประเภทไหนบ้างถึงโดนจับ

ทีมข่าวสปริงนิวส์มีคำตอบเกี่ยวกับกรณีคนขับรถบรรทุกถูกตำรวจจับข้อหาใส่ร้องเท้าแตะ

จากกรณีที่มีผู้ใช้เฟสบุ๊กชื่อนายสุขสันต์ เกี้ยวแก้ว ได้เฟสบุ๊กไลฟ์ถ่ายทอดสดเหตุการณ์ขณะที่ถูกตำรวจภูธรโชคชัย จ.นครราชสีมา เรียกตรวจ เมื่อเวลา 13.40 น.วันที่ 9 กันยายน 2561 โดยภายในคลิปนายสุขสันต์ ได้เข้าไปตรวจสอบการปฎิบัติหน้าที่ของตำรวจภูธรโชคชัยที่ตั้งจุดตรวจอยู่บริเวณแยกปักธงชัย แต่ปรากฎว่ามีการโต้เถียงกันเกี่ยวกับข้อกฎมหาย และการปฎิบัติหน้าที่ของตำรวจ แต่สุดท้ายนายสุขสันต์ ซึ่งเป็นคนขับรถบรรทุก 6 ล้อ ถูกตำรวจเปรียบเทียบปรับ 400 บาท ในข้อหาไม่แต่งกายให้ถูกต้องตามกฎกระทรวง

หลังคลิปวีดีโอนี้ถูกเผยแพร่ในโลกออนไลน์ ปรากฎว่ามีคนเข้ามาแสดงความเห็นกันจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ต่อว่าการทำงานของตำรวจ แต่มีอีกหลายข้อความที่ระบุว่าการปฎิบัติหน้าที่ของตำรวจถูกต้องแล้ว เพราะนายสุขสันต์ ทำผิดกฎหมายอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีบางรายมาแสดงความคิดเห็นว่าที่นายสุขสันต์ ถูกปรับแค่ 400 บาท ถือว่าเป็นโทษที่เบาแล้วเพราะหากถูกตำรวจเปรียบเทียบปรับเต็มตามที่กฎหมายกำหนด อาจจะถูกปรับสูงสุดถึง 5,000 บาท

รู้หรือไม่...ใส่รองเท้าแตะขับรถประเภทไหนบ้างถึงโดนจับ

ทีมข่าวของเราติดต่อสอบถามไปยัง พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ ผบก.ส.3 ในฐานะคณะทำงานแก้ไขปัญาจราจรสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ข้อมูลกับทีมข่าวสปริงนิวส์ ว่าการที่ตำรวจภูธรโชคชัย เปรียบเทียบปรับนายสุขสันต์ เป็นการกระทำที่ถูกต้องแล้ว เพราะ พรบ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ประจำรถหรือผู้ขับรถต้องแต่งกายให้เรียบร้อยตามที่กำหนดในกฏกระทรวง ต้องปฎิบัติตัวดังต่อไปนี้คือ 1.จะต้องสวมเสื้อเชิ๊ตคอพับแขนยาวหรือแขนสั้น ชายเสื้ออยู่ในกางเกง 2.เสื้อคอแบะปล่อยเอว แขนสั้น 3.กางเกงขายาวแบบสุภาพ 4. ต้องสวมรองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อ" หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 127

รู้หรือไม่...ใส่รองเท้าแตะขับรถประเภทไหนบ้างถึงโดนจับ

นอกจากนี้ทีมข่าวสปริงนิวส์ยังได้สอบถามข้อมูลไปยังสำนักกฎหมายกรมการขนส่งทางบก ซึ่งเจ้าหน้าที่อธิบายกับทีมข่าวของเราว่า ตามประกาศกฎกระทรวง เกี่ยวกับข้อกำหนดเครื่องแต่งกาย เครื่องหมาย ประวัติคนขับ บัตรประจำตัวคนขับรถ และการแสดงบัตรประจำตัวคนขับรถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร และรถจักรยานยต์รับจ้าง พ.ศ.2555 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 ( 15 ) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัญติรถยนต์ ( ฉบับที่ 13 ) พ.ศ.2547 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดเครื่องแต่งกาย เครื่องหมาย ประวัติคนขับรถปัตรประจำตัวคนขับรถ และการแสดงบัตรประจำตัวคนขับรถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร และรถจักรยานยนต์ สาธารณะ พ.ศ.2548 ข้อ 2. ในขณะขับรถรับจ้าง คนขับรถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร ต้องแต่งกายให้สะอาด สุภาพเรียบร้อยและรัดกุมด้วยเครื่องแต่งกายดังต่อไปนี้ ( 1 ) เสื้อเชิ้ตคอตั้งหรือคอพับ แขนยาวหรือแขนสั้น ไม่มีลวดลาย การสวมเสื้อให้สอดชายล่างของเสื้ออยู่ภายในกางเกง ยกเว้นเสื้อที่โดยสภาพไม่ต้องสอดชายล่างให้อยู่ภายในกางเกง ( 2 ) กางเกงขายาวไม่มีลวดลาย ( 3 ) ร้องเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อ นิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของรถยนต์บริการอาจกำหนดแบบของเครื่องแต่งกายคนขับรถยนต์บริการธุรกิจและรถยนต์บริการทัศนาจรให้แตกต่างไปจากเครื่องแบบของเครื่องแต่งกายตามวรรคหนึ่งได้ แต่ต้องเป็นแบบที่สุภาพเรียบร้อย และเหมาะสมกับการปฎิบัติหน้าที่ โดยนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของรถยนต์บริการต้องแจ้งแบบของเครื่องแต่งกายนั้นให้กรมการขนส่งทางบกทราบ

รู้หรือไม่...ใส่รองเท้าแตะขับรถประเภทไหนบ้างถึงโดนจับ

สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลที่ไม่ใช่เป็นรถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะกฎหมายไม่ได้กำหนดเรื่องกายแต่งกายที่เข้มงวดเหมือนกับรถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร และรถจักรยานยต์รับจ้าง เพียงแต่ผู้ขับขี่ต้องแต่งกายให้สุภาพและเหมาะสมกับการขับรถยนต์และรถจักรยานยนต์

related