svasdssvasds

จำไว้เลย!! เครื่องสำอาง ห้ามใช้คำโฆษณาส่อ “เป็นยา”

จำไว้เลย!! เครื่องสำอาง ห้ามใช้คำโฆษณาส่อ “เป็นยา”

เป็นสินค้าและบริการที่มีการโฆษณา “โอ้อวด” เกินจริงอย่างมาก ในโลกออนไลน์ ทำให้กระทรวงสาธารณสุข ต้องทำงานหนักหน่วงในการไล่ล่าคนทำผิด และต้องสร้างความเข้าใจถูกต้อง

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความรู้เผยแพร่ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยระบุว่า การเลือกซื้อเลือกใช้เครื่องสำอาง ขอให้พิจารณาว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเข้าข่าย”โฆษณาเกินจริง”ไหม?  ให้พึงตระหนักไว้ว่า หากไม่น่าเชื่อถือ อย่าลองซื้อมาใช้เด็ดขาด

ขั้นตอนของการพิจารณาความน่าเชื่อถือ ให้ดูลักษณะ การโฆษณาที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ จาก...

1. สื่อระบุผลิตภัณฑ์ได้การรับรองคุณภาพ จาก “อย.” หรือ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

2. ไร้สารเคมี ไร้สารพิษ ในวัสดุหรือวัตถุดิบหรือ

3. มีการเปรียบเทียบผลที่ได้จากการใช้เครื่องสำอางว่าดีกว่าการทำ ห้ตถการทางการแพทย์ เช่น เลเซอร์ ฉีดโบท้อกซ์ ศัลยกรรม

4. อ้างว่ามีผลต่อสุขภาพ เช่น ฟื้นฟูผิวให้แข็งแรง ดูดซับของเสียตกค้างใต้ผิว สร้างสมดุลผิว ล้างสารพิษ

5.. อ้างมีผลต่อโครงสร้างร่างกาย เช่น ช่วยสลายไขมัน ปรับรูปหน้าเรียว กระชับสัดส่วน อกฟูรูฟิต ทำให้หน้าอกใหญ่ขึ้นหรือเล้กลง

6.. อ้างมีผลต่อการทำหน้าที่ในร่างกาย เช่น ต่อต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ลดการสร้างเม็ดสีผิว ลดผมหงอก เร่งสร้างผมเส้นใหม่

7.. อ้างสรรพคุณรักษาโรค อย่างการป้องกันหรือลดการอักเสบของสิว ป้องกันรักษาฝ้า กระ แก้ผดผื่นคัน ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราที่ผิวหนัง รักษาแผลลดการอักเสบในช่องปาก

8. มีจุดมุ่งหมายอื่นที่ไม่ใช่เครื่องสำอาง อาทิ ทาไล่ยุง แมลง ทาบริการแมลงกัดต่อย กำจัดเหา ใช้แล้วเปิดรับพลังด้านดีเปิดดวงชะตา กระชับคืนความสาวข้ามคืน บรรเทาข่องคลอดแห่ง รีแพร์ ช่องคลอดฟิต เพิ่มสมรรถภาพท่านชาย แก้ปัญหาไม่แข้งตัว ช่วยให้แข็ง อีด ทน

ข้อความที่ระบุไว้ ล้วนเป็นคำโฆษณาเกินจริง อวดโอ้ในการประชาสัมพันธ์เครื่องสำอาง “ห้ามใช้” ไม่เช่นนั่นจะถูกดำเนินคดีทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญาได้

จำไว้เลย!! เครื่องสำอาง ห้ามใช้คำโฆษณาส่อ “เป็นยา”

related