svasdssvasds

ไม่ได้บวม เพราะกินเค็ม!! แต่หนูเป็น "โรคโปรตีนรั่ว"

ไม่ได้บวม เพราะกินเค็ม!! แต่หนูเป็น "โรคโปรตีนรั่ว"

มีการแชร์ข้อความกันในกลุ่มแม่และเด็กว่า ลูกเป็นโรคเนฟโฟรติก หรือโปรตีนรั่ว จากการที่ชอบกินขนมพวกที่มีเครื่องปรุงเค็ม ซอสจิ้มขนม ซอสปรุงรส" ”โรคเนฟโฟรติก ไม่ได้เกิดจากการกินเค็ม"

เพื่อให้เข้าใจถูกต้องชัดเจน ไปพูดคุยกับชมรมโรคไตเด็กแห่งประเทศไทย โดย พญ. อรอัชฌา ศิริมงคลชัยกุล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช  และผศ.นพ.ขวัญชัย ไพโรจน์สกุล คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี ระบุว่า  โรคเนโฟรติก เป็นโรคไตชนิดหนึ่ง ที่พบบ่อยในเด็กอายุ 2-6 ปี เกิดจากการรั่วของโปรตีนชนิดอัลบูมิน(ไข่ขาว) ในปัสสาวะปริมาณมาก ทําให้อัลบูมินในเลือดตํ่าลงจึงเกิดอาการบวม

สำหรับสาเหตุนั้น ส่วนใหญ่ไม่พบสาเหตุของการเกิดโรค เด็กบางคนอาจเกิดอาการร่วมกับโรคเอสแอลอี (SLE) การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ การกินยาบางชนิด จากโรคมะเร็งบางชนิด หรือจากการความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

วิธีสังเกตว่าลูกเป็นโรคเนโฟรติกหรือไม่ คือดูว่า มีอาการบวมทั่วตัวหรือไม่ เริ่มจากบวมบริเวณหนังตาภายหลังตื่นนอน บวมที่ขาทั้งสองข้าง ท้องบวม หรือมีนํ้าในช่องท้อง อวัยวะเพศบวม ร่วมกับสังเกตว่าปัสสาวะมีฟองปน

ไม่ได้บวม เพราะกินเค็ม!! แต่หนูเป็น "โรคโปรตีนรั่ว"

 

วิธีการรักษาโรคเนโฟรติกนั้น จะรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ จนโปรตีนในปัสสาวะลดลงเป็นปกติ อาการบวมจะหายไป สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ จะต้องจำกัด "อาหารรสเค็ม" ด้วยในช่วงที่มีอาการบวม และให้กินอาหารที่มีโปรตีีนให้เพียงพอ เช่น ไข่ขาว นม เนื้อสัตว์ เป็นต้น

สรุปก็คือ การกินอาหารรสเค็ม ไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเนฟโฟรติก หรือโปรตีนรั่ว ... แต่ถ้าเป็นโรคแล้ว ก็ควรจำกัดการกินอาหารเค็มเพื่อไม่ให้ร่างกายบวมมากไป

related