svasdssvasds

หยุดแชร์ข่าวลือ!! “พายุสุริยะ” โหมโลก ฉลอง Earth Day

หยุดแชร์ข่าวลือ!! “พายุสุริยะ” โหมโลก ฉลอง Earth Day

ข่าวลือข่าวเล่าอ้างที่แพร่ทางไลน์ เรื่อง “พายุสุริยะ​จะกระทบโลกใน 48 ชั่วโมง จะร้อนตายให้พกน้ำ ขอ” เป็นเรื่องไม่จริง อย่าหลงเชื่อ แล้วแชร์ต่อ รับ 22 เมษายน วันคุ้มครองโลก

จากหัวข้อคลิปวิดีโพที่แชร์ต่อกัน ระบุว่า “ด่วนที่สุด ……Solar Storm Alert: Earth to be Bombarded by Solar Particles In A Few Days รายงานล่าสุดเมื่อ 19 เมย 2562 (https://www.youtube.com/watch?v=3B9Bz6WpeA4&feature=youtu.be)

ได้เกิดระเบิดที่ดวงอาทิตย์ กระแสคลื่นสุริยะจะพุ่งปะทะโลก ใน 48 ชม.  งานนี้อาจมีร้อนตายทั้งในไทย และ ทั่วโลก ……ให้พกน้ำดื่มติดตัวไว้ ป้องกันหัวใจวายเพราะขาดน้ำเฉียบพลัน

โดยยังระบุว่า โลกจะถูกโจมตีด้วยอนุภาคพลังงานแสงอาทิตย์ ในไม่กี่วัน ซึ่งคาดว่าจะมีพายุสุริยะเกิดขึ้นในสุดสัปดาห์นี้ นักวิจัยได้สังเกตเห็นจุดบอดบนดวงอาทิตย์ที่จะทิ้งระเบิดโลกด้วยอนุภาคพลังงานแสงอาทิตย์ในวันจันทร์ 22 เมษายนนี้ด้วย

หยุดแชร์ข่าวลือ!! “พายุสุริยะ” โหมโลก ฉลอง Earth Day

หยุดแชร์ข่าวลือ!! “พายุสุริยะ” โหมโลก ฉลอง Earth Day

สอบถามไปยังสมาคมดาราศาสตร์ไทย ตอบคำถามว่า ก่อนหน้านี้ คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเสวนา เกี่ยวกับเรื่อง พายุสุริยะ จากดวงอาทิตย์ที่อาจจะเกิดขึ้นบนโลก จะเตรียมรับมืออย่างไร  ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจับตาดูสถานการณ์ใกล้ชิด มีการตั้งสถานีตรวจวัดปริมาณนิวตรอนจากพื้นดิน เพื่อทำนายช่วงเวลาเกิดพายุสุริยะ คาดว่าทั่วโลกมีกว่า 40 สถานี  ประเทศไทยก็มีความร่วมมือของนักฟิสิกส์จาก 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สถานีตรวจวัดนิวตรอนสิรินธรของประเทศไทยตั้งอยู่บนยอดดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจุดที่ได้รับรังสีได้มากที่สุด สามารถแจ้งเตือนล่วงหน้าได้ 4-6 ชั่วโมง รวดเร็วกว่าองค์การนาซาที่แจ้งเตือนล่วงหน้าได้ 1.30-40 ชั่วโมงก่อนเกิดเหตุการณ์  เมื่อมีปริมาณรังสีจำนวนมากก็เป็นไปได้ที่จะเกิดพายุสุริยะ ระบบจะแจ้งเตือนล่วงหน้าเพื่อเตรียมการรับมือ

เรื่องดังกล่าว มีคำแถลงขององค์กาอวกาศนาซ่า ระบุว่า คณะกรรมการระหว่างประเทศ NOAA / NASA ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 5เมษายน  2019 คาดการณ์เบื้องต้นจะเกิดปรากฎการณ์ของดวงอาทิตย์ Solar Cycle 25 หรือจุดบอด/จุดดับของดวงอาทิตย์ (Sunspot) ซึ่งหมายถึง พื้นที่ส่วนหนึ่งบนชั้นโฟโตสเฟียร์ของดวงอาทิตย์ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ และมีสนามแม่เหล็กที่มีปั่นป่วนสูงมาก ทำให้เกิดการขัดขวางกระบวนการพาความร้อนบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ เกิดเป็นพื้นที่ที่มีความเข้มของแสงต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ ซึ่งจะเกิดไม่เร็วกว่าปีพ.ศ. 2566 และไม่ช้ากว่าปี 2569  (แถลงการณ์ NOAA อย่างเป็นทางการที่อธิบายการคาดการณ์ที่ https://www.swpc.noaa.gov/news/solar-cycle-25-preliminary-forecast)

หยุดแชร์ข่าวลือ!! “พายุสุริยะ” โหมโลก ฉลอง Earth Day

ทั้งนี้ พายุสุริยะ (Solar storm) เป็นการที่ผิวดวงอาทิตย์ระเบิดขึ้นมาที่เรียกว่า "การระเบิดลุกจ้า" ซึ่งทำให้อนุภาคประจุไฟฟ้าพุ่งออกมาจำนวนมหาศาล ประจุไฟฟ้าที่พุ่งออกมานี้ จะรบกวนระบบการสื่อสารมีผลทำให้การสื่อสารระยะไกลเป็นอัมพาต ทำให้เครื่องบินไม่สามารถติดต่อกับหอบังคับการได้ โทรศัพท์มือถือใช้งานไม่ได้ รวมไปถึงดาวเทียมเสียหาย

การทำนายความรุนแรงของพายุสุริยะสามารถทำได้โดยตรวจสอบจุดมืดดวงอาทิตย์ เนื่องจากจุดดำเกิดจากความแปรปรวนของสนามแม่เหล็ก เมื่อมีจุดมืดมากขึ้นก็จะส่งผลให้อนุภาคกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้เกิดความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น สรุปคือ มันเป็นกระแสของอนุภาคที่วิ่งจากดวงอาทิตย์ มากระทบโลก และก็เกิดขึ้นบ่อยๆ อยู่แล้ว มีผลกระทบโดยตรงแต่เฉพาะสิ่งที่อยู่นอกโลก ไม่ได้ทำให้โลกร้อนขึ้นจนคนตายอย่างที่ว่า .. เลิกแชร์ได้แล้ว

หยุดแชร์ข่าวลือ!! “พายุสุริยะ” โหมโลก ฉลอง Earth Day

related