svasdssvasds

อย่าเชื่อ !! ข่าวเก่า “ไอเอ็มเอฟ” หวนจัดการเศรษฐกิจไทย

อย่าเชื่อ !! ข่าวเก่า “ไอเอ็มเอฟ” หวนจัดการเศรษฐกิจไทย

มีการเผยแพร่และแชร์ในสื่อออนไลน์ว่า เศรษฐกิจไทยใกล้เข้า I.M.F. นั้น ไม่เป็นความจริงเป็นข่าวเก่า ยืนยัน เศรษฐกิจไทยยังมั่นคง

ทั้งนี้ นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แะ  นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะรองโฆษกสำนักงาน เศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนพฤษภาคม 2562 พบว่า “การขยายตัว ของเศรษฐกิจไทยเดือนพฤษภาคม 2562 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจาก ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งขยายตัวสูงถึงร้อยละ 5 ต่อปี ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกสินค้ามีสัญญาณชะลอตัว สำหรับเศรษฐกิจไทยด้านอุปทาน ภาคการเกษตรสามารถพลิกกลับมาขยายตัวได้ ภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวชะลอตัว สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจ ยังอยู่ในระดับมั่นคง” มีรายละเอียดดังนี้

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ในภาพรวม สะท้อนได้จาก การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี ขณะที่การบริโภคสินค้าคงทนสะท้อนจากปริมาณ จำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ชะลอตัวที่ร้อยละ -3.8 และปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคชะลอตัวที่ร้อยละ -1.2 ต่อปี พร้อมกับ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงปรับตัวลงอยู่ที่ระดับ 64.8

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (y-o-y) แต่พบว่าหลายเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นเทียบกับเดือนก่อนหน้า (m-o-m) ทั้งนี้ การลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัว ร้อยละ 5.2 ต่อปีตามการขยายตัวของปริมาณจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ชะลอตัวที่ร้อยละ -6.9 ต่อปีสำหรับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดก่อสร้างสะท้อนจากปริมาณจำหน่าย ปูนซีเมนต์ภายในประเทศชะลอตัวที่ร้อยละ -3.1 ต่อปีภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวที่ร้อยละ -15.0 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี

 ภาคการค้าระหว่างประเทศยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงิน สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ชะลอตัวที่ร้อยละ -5.8 ต่อปีโดยมูลค่าการส่งออกไปประเทศจีนชะลอตัวที่ร้อยละ -7.2 ต่อปีและการส่งออกไปยังภูมิภาคอาเซียนชะลอตัวที่ร้อยละ -10.2 ต่อปี อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออก ไปยังสหรัฐอเมริกาขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 ต่อปีสำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ -0.6 ต่อปี ทั้งนี้ดุลการค้าในเดือนพฤษภาคม 2562 กลับมาเกินดุลที่มูลค่า 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานพบว่า ภาคการเกษตรสามารถพลิกกลับมาขยายตัวได้ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวชะลอตัว โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 0.6 ต่อปี จากหมวดพืชผลสำคัญขยายตัวร้อยละ 1.1 ต่อปี และหมวดปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปีสำหรับ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ -4.0 ต่อปี ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 95.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า

สำหรับภาคการท่องเที่ยวสะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนพฤษภาคม 2562 มีจำนวน 2.73 ล้านคน ชะลอตัวที่ร้อยละ -1.0 ต่อปี ซึ่งเป็นผลจากนักท่องเที่ยวชาวจีนเป็นสำคัญ ทำให้รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติมีมูลค่ารวม 134,560 ล้านบาท ชะลอตัวร้อยละ -1.0 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ภาคการท่องเที่ยวได้รับปัจจัยสนับสนุนจากนักท่องเที่ยว ประเทศอื่นๆ ที่ขยายตัวได้ดี เช่น มาเลเซีย อินเดีย และญี่ปุ่น เป็นต้น

 เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงาน สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนเมษายน 2562 อยู่ที่ร้อยละ 42.0 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561

 สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของ เศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2562 อยู่ในระดับสูงที่ 210.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

อย่าเชื่อ !! ข่าวเก่า “ไอเอ็มเอฟ” หวนจัดการเศรษฐกิจไทย

related