svasdssvasds

เบื้องหลังแรงบันดาลใจ!! "เจ้านางจ่ายุ้นท์" เผยเรื่องราวเบื้องหลังรูปถ่ายแห่งประวัติศาสตร์ ชะตาชีวิตที่แตกต่างจาก "เจ้ามิ่งหล้า" แห่งรากนครา

เบื้องหลังแรงบันดาลใจ!! "เจ้านางจ่ายุ้นท์" เผยเรื่องราวเบื้องหลังรูปถ่ายแห่งประวัติศาสตร์ ชะตาชีวิตที่แตกต่างจาก "เจ้ามิ่งหล้า" แห่งรากนครา

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

เบื้องหลังแรงบันดาลใจ!! "เจ้านางจ่ายุ้นท์" เผยเรื่องราวเบื้องหลังรูปถ่ายแห่งประวัติศาสตร์ ชะตาชีวิตที่แตกต่างจาก "เจ้ามิ่งหล้า" แห่งรากนครา

จากกรณีที่มีกระแสพูดถึงละครเรื่อง "รากนครา" และมีการพูดถึง "เจ้ามิ่งหล้า" ผู้หญิงที่ถูกราชินีเมืองมัณฑ์ทำแท้ง มีการพูดถึงว่า "เจ้ามิ่งหล้า" ตัวจริงก็คือ "เจ้านางจ่ายุ้นท์" มหาเทวีในเจ้าฟ้ากองไต แห่งเมืองเชียงตุง แต่มีกระแสพิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับกรณีนี้ว่า ความจริงที่ทำให้บางคนเข้าใจว่าเป็น เจ้านางจ่ายุ้นท์ เพราะว่า มีการนำบุคลิก การแต่งกายของเจ้านางเท่านั้น เพราะตามประวัติศาสตร์เมืองเชียงตุงนั้น เจ้านางมีพระราชโอรสและพระราชธิดาถึง ๕ พระองค์

เบื้องหลังแรงบันดาลใจ!! "เจ้านางจ่ายุ้นท์" เผยเรื่องราวเบื้องหลังรูปถ่ายแห่งประวัติศาสตร์ ชะตาชีวิตที่แตกต่างจาก "เจ้ามิ่งหล้า" แห่งรากนครา

เบื้องหลังแรงบันดาลใจ!! "เจ้านางจ่ายุ้นท์" เผยเรื่องราวเบื้องหลังรูปถ่ายแห่งประวัติศาสตร์ ชะตาชีวิตที่แตกต่างจาก "เจ้ามิ่งหล้า" แห่งรากนครา

สำหรับประวัติที่แท้จริงของเจ้านางจ่ายุ้นท์นั้น ราชธิดาของเจ้าฟ้าแห่งสีป้อ ซึ่งเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมากในรัฐฉาน เจ้านางจ่ายุนท์มีความงดงามเพียบพร้อมตามแบบสาวชาววังสี่ป่อ รูปร่างสูงโปร่ง ใบหน้ารูปไข่ดวงตาโตดำขลับ แต่แฝงไว้ด้วยความเศร้าในดวงตา น้องสาว อีกท่านคือเจ้านางอ่องยุนท์ ซึ่งมีความงาม จนถูกขอไปเป็นแบบภาพวาด วาดโดยเซอร์ เจอรัลด์ เคลลี (Sir Gerald Kelly) จิตรกรชาวอังกฤษผู้หลงไหลในวัฒนธรรมพม่า เมื่อปี ๑๙๓๒ ระหว่างที่เจ้านางเสด็จเยือนอังกฤษพร้อมด้วยเสืออุ่งจ่า เจ้าฟ้าเมืองสีป่อ ซึ่งเป็นพระเทวัน (พี่เขย) ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ๑๙๓๑ - มกราคม ๑๙๓๒ ปัจจุบัน ภาพเจ้านาง เป็นสัญลักษณะแห่งความงามอันอมตะแห่งรัฐฉานและได้รับสมญานามว่า "โมนาลิซ่าแห่งเอเชีย"

เมื่อความงามขจรขจายไปในวัยสาวสะพรั่ง เจ้าฟ้าก้อนแก้ว แห่งเชียงตุง ซึ่งมีบุตรชายคนโปรดคือเจ้ากองไตจึง ได้ไปหมั้นหมายเจ้านาง จากเมืองที่รุ่งเรืองที่สุดมาให้ งานเสกสมรสของเจ้านางจ่ายุนท์ บุตรเจ้าเข้ เจ้าฟ้าสี่ป้อ กับ เจ้ากองไทบุตรชายผู้ที่เจ้าฟ้าก้อนแก้วหมายมั่นปั้นมือ จะให้เป็นเจ้าฟ้าเแห่งเชียงตุงได้ทำการเสกสมรสกัน ณ หอสกานส่า เมืองสี่ป้อ และ เดินทางมาครองรักกันที่ เมืองเชียงตุง โดยมีบุตรธิดาร่วมกัน ดังนี้

๑. เจ้านางปภาวดี(เจ้านุช)

๒. เจ้าจาย

๓. เจ้าฟ้าจายหลวง(เจ้าธีรราช)

๔. เจ้านางเอ็นดูวดี(เวร่า/เจ้านุ่ม)

๕. เจ้าจายน้อย

เบื้องหลังแรงบันดาลใจ!! "เจ้านางจ่ายุ้นท์" เผยเรื่องราวเบื้องหลังรูปถ่ายแห่งประวัติศาสตร์ ชะตาชีวิตที่แตกต่างจาก "เจ้ามิ่งหล้า" แห่งรากนครา

เจ้ารัตนะก้อนแก้วอิน แถลง แต่งตั้ง เจ้ากองไตเป็น เจ้าแกมเมืองมาถึง ๑๓ ปี เจ้าฟ้าเฒ่าจึงวายชนม์ลง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ และเจ้ากองไทก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าเชียงตุงในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ และ ชีวิตของเจ้านางจ่ายุ้นท์ เจ้าหญิงผู้เพียบพร้อมจากสี่ป้อ ก็ได้ก้าวขึ้นสู่ ตำแหน่งสูงสุด มหาเทวีเจ้าแห่งเชียงตุง จะมีงานพิธีครองเมืองในเดือนมกราคม แต่ก็เกิดเหตุฆาตกรรมอันลือลั่นขึ้นเสียก่อน พอถึงเดือนตุลาคม วันที่ ๒๒ ตรงกับวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๒ มีงานพิธีออกพรรษา คืนนั้นเจ้าฟ้ากองไต ก็ถูกฆาตกรรม งานนี้สามารถจับตัวฆาตกรได้ คือเจ้าสีหะและในเบื้องต้นได้ซัดทอดคนสนิท เจ้าพรหมลือจนมีเสียงร่ำลือว่าเจ้าพรหมลือ มีส่วนในการจ้างวานผู้อื่นลอบปลงพระชนม์เจ้าฟ้ากองไทเพราะต้องการแก้แค้นที่ถูกปล้นราชสมบัติไป ท่านจึงจ้างทนายความพม่ามาเพื่อแก้ต่างในคดีนี้จนเสียเงินว่าจ้างเป็นจำนวนมากแต่ก็พ้นข้อกล่าวหามาได้ และชาวเชียงตุงส่วนใหญ่ก็ไม่ปักใจเชื่อว่า เจ้าพรหมลือจะมีส่วนในคดีนี้ เพราะเห็นว่าทั้งสองนั้นรักใคร่สนิทสนมกันมากขณะที่ข้าหลวงอังกฤษยังคงเชื่อมั่นว่า เจ้าพรหมลือต้องมีส่วนในกรณีนี้ ก็ไม่ได้ผลคืบหน้า หาตัวผู้กระทำผิดไม่ได้เมื่อไม่มีหลักฐานมัดตัวเจ้าพรหมลือ จึงได้ทำการปล่อยตัวเจ้าพรหมลือส่วนเจ้าสีหะได้รับโทษเพียงจำคุกตลอดชีวิต

เดือนยี่ แรม ๖ ค่ำได้ทำการ ณาปนกิจศพเจ้ากองไตที่กาดตุงอย่างเรียบง่าย และ ต่อมาในเดือน๓ ขึ้น ๕ ค่ำ จึงได้ทำศพเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลงซึ่งเก็บพระศพไว้หลายปี เป็นงานมโหฬาร เจ้าฟ้ารัฐต่างๆได้มาร่วมงานหลายเจ้าฟ้า และ ข้าหลวงใหญ่อังกฤษก็มาในงานนี้ด้้วย ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าฟ้ากองไท และ การตัดสินคดีที่ยังคลางแคลงใจเจ้านางจ่ายุ้นท์ มหาเทวีม่ายซึ่งหัวใจสลายจากผลการตัดสินคดีสิ้นพระชมน์ของพระสวามี อันไร้ความยุติธรรม เจ้านางเชื่อมั่นคดีตามข้าหลวงอังกฤษที่ว่าเจ้าพรหมลือ อยู่เบื้องหลังการฆาตกรรมเจ้ากองไต สวามีของเจ้านาง

เหตุการณ์นี้ รบกวนจิตใจอันอ่อนแอของเจ้านางจ่ายุ้นท์ จนไม่สามารถพำนักที่ เชียงตุง ได้อีกต่อไป เจ้านางเดินทางอย่าง เปลี่ยวเหงาเดียวดายไปพำนักตามเมืองต่างๆ ทั่วรัฐฉาน แต่ส่วนใหญ่ เจ้านางจะพำนักกับข้าหลวงใหญ่อังกฤษ กับ บุตรสาว ที่ เมืองตองจีทหารอังกฤษ ได้เขียนบันทึกเอ่ยถึงเจ้านางที่ตองยีไว้ว่าเจ้านางจ่ายุ้นท์ ในเวลานั้นกลายเป็นคนฉุนเฉียว ควบคุมตัวเองไม่ใคร่ได้ เจ้านางจากโลกยุคเก่า ผู้ได้รับข่าวร้ายซ้ำเติมหนักหนา การล่มสลายของสี่ป้อ และ ประยูรญาติที่ต้องหนีตายกันหัวซุกหัวซุน หนำซ้ำบุตรชายที่ได้ชึ้นเป็นเจ้าฟ้าเชียงตุง เจ้าจายหลวงกลับถูกจับโดยทหารพม่าและควบคุมตัวจนวันตาย พร้อมไปกับการล่มสลายของเจ้าฟ้ารัฐฉานทั้ง ๓๔ เมืองโดยทหารพม่าความเศร้าทุกข์ใจ จึงถาโถมสู่เจ้านางตราบจนสิ้นลม

เบื้องหลังแรงบันดาลใจ!! "เจ้านางจ่ายุ้นท์" เผยเรื่องราวเบื้องหลังรูปถ่ายแห่งประวัติศาสตร์ ชะตาชีวิตที่แตกต่างจาก "เจ้ามิ่งหล้า" แห่งรากนครา

(เจ้าจายหลวง)

 

ไม่มีหลักฐานถึงช่วงเวลาการสิ้นพระชมน์ของเจ้านาง อยู่ในช่วงเวลาใด และ บุตรชายของเจ้านางจ่ายุนท์ ที่เกิดกับเจ้ากองไตก็ได้ปกครองเป็นเจ้าฟ้าเชียงตุงสืบต่อไป เจ้าจายหลวง ประสูติในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ พระราชบุตรในเจ้าฟ้ากองไทที่เกิดกับพระมารดาคือเจ้านางจ่ายุ้นท์ เนื่องจากเจ้าพ่อได้ถูกลอบปลงพระชนม์ตั้งแต่เจ้าจายหลวงยังพระเยาว์อยู่ เมืองเชียงตุงจึงมีผู้สำเร็จราชการแทน โดยเจ้าจายหลวงได้ไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๙๐ เจ้าจายหลวงไปศึกษาต่อที่ประเทศออสเตรเลีย ในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้ราชาภิเษกเป็นเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงแต่ต่อมาภายหลังใน พ.ศ. ๒๕๐๒ เจ้าจายหลวงได้สละพระยศเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงตามข้อตกลงของพม่า โดยเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ นายพลเนวิน ได้ยึดอำนาจการปกครองพม่า และได้ดำเนินนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะการยกเลิกระบอบเจ้าฟ้า โดยเจ้าจายหลวงได้ถูกคุมองค์ไปคุมขัง ณ ย่างกุ้ง เป็นเวลา ๖ ปี และหลังจากนั้นมาทางการพม่าก็ให้เจ้าจายหลวงประทับอยู่ในย่างกุ้งต่อมา จนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และได้รับการถวายพระเพลิงพระศพที่ย่างกุ้ง เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยพระอัฐิของท่านได้นำมาบรรจุภายในกู่เจ้าฟ้าเชียงตุงด้วย

เบื้องหลังแรงบันดาลใจ!! "เจ้านางจ่ายุ้นท์" เผยเรื่องราวเบื้องหลังรูปถ่ายแห่งประวัติศาสตร์ ชะตาชีวิตที่แตกต่างจาก "เจ้ามิ่งหล้า" แห่งรากนครา

จากประวัติศาสตร์ข้างต้นนั้นเป้นการยืนยันว่า "เจ้ามิ่งหล้า" ตัวจริงนั้น ไม่ใช่คนเดียวกันกับ "เจ้านางจ่ายุ้นท์" แน่นอน เจ้านางไม่เคยถูกทำแท้ง ไม่เคยเป็นสนมของกษัตริย์พม่า นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระราชโอรสและพระราชธิดากับเจ้าฟ้ากองไท ถึง ๕ พระองค์ หนึ่งในนั้นคือ เจ้าจายหลวง เจ้าผู้ครองเมืองเชียงตุง หรือเป็นที่รู้จักในนามเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง ภายหลังทรงถูกทางการพม่าควบคุมตัว ณ คุกอินเส่งจนสิ้นพระชนม์ ส่วน เจ้ามิ่งหล้า นั้น ความจริงเป็นเพียงแค่การนำเอาบุคลิก การแต่งกายของ "เจ้านางจ่ายุ้นท์" มาเป็นเพียงแรงบันดาลใจเท่านั้น

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ ราชินี เจ้าจอม หม่อมห้าม ในอดีต โดย มนตรี ปัญญาฟู

Ig : tee_kanok

ขอบคุณภาพประกอบจาก : ละคร รากนครา (สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3)

related