svasdssvasds

กรมชลฯ มั่นใจ! กทม.ไม่ซ้ำรอยปี 54 แน่ - เขื่อนอุบลรัตน์ปริมาณฝนเยอะเหนือความคาดหมาย

กรมชลฯ มั่นใจ! กทม.ไม่ซ้ำรอยปี 54 แน่ - เขื่อนอุบลรัตน์ปริมาณฝนเยอะเหนือความคาดหมาย

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

วันที่ 31 ต.ค.60 เกาะติดสถานการณ์น้ำที่หลายฝ่ายเป็นกังวลว่าจะกระทบถึงกรุงเทพมหานครหรือไม่ ทีมข่าวสปริงนิวส์ ทีวีดิจิทัล ช่อง 19 ได้สอบถามไปยัง คุณสมเกียรติ ประจำวงษ์ อธิบดีกรมชลประทาน สอบถามถึงสถานการณ์น้ำที่ประชาชนและหลายฝ่ายหวั่นว่าจะซ้ำรอย ปี 2554 ที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินเป็นวงกว้างนั้น

สมเกียรติ ประจำวงษ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การระบายน้ำในพื้นที่ กทม.และปริมณฑลเป็นไปในทางที่ดี แต่ยังต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง เนื่องจากปริมาณน้ำได้ลงลดตามลำดับ ตั้งแต่พื้นที่ จ.นครสวรรค์ และขอยืนยันว่ามวลน้ำทั้งหมดนั้นไม่ได้มีปริมาณเยอะเท่าปี 2554 ตามที่หลายฝ่ายกังวลอย่างแน่นอน ซึ่งเมื่อปี 2554 ได้มีปริมาณน้ำเยอะตั้งแต่ต้นปี ขณะที่ปี 2560 นั้น มีมวลน้ำมาในช่วงเดือนตุลาคม และลักษณะการเกิดไม่เหมือนกัน และที่เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อมีปริมาณฝนเยอะในพื้นที่ตอนเหนือของลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมชลประทานได้กักเก็บไว้ในเขื่อนทั้งหมด กว่า 2-3 พันล้าน ลบ.ม.

กรมชลฯ มั่นใจ! กทม.ไม่ซ้ำรอยปี 54 แน่ - เขื่อนอุบลรัตน์ปริมาณฝนเยอะเหนือความคาดหมาย

 

เมื่อสอบถามว่ารูปแบบการจัดการน้ำในปี 2560 แตกต่างจากปี 2554 หรือไม่นั้น อธิบดีกรมชลประทาน เผยว่า ค่อนข้างที่จะแตกต่าง คือ ลักษณะการตกของฝน ซึ่งเมื่องปี 2554 นั้นมีพายุ 4-5 ลูก ไล่เกิดมาตั้งแต่พื้นที่ตอนบนลงพื้นที่ด้านล่าง ทำให้เขื่อนกักเก็บน้ำมีปริมาณเกือบเต็ม เช่น เขื่อนภูมิพลเต็มตั้งแต่เดือนตุลาคม เขื่อนสิริกิตต์เต็มช่วงเดือนกันยายน และพายุที่เกิดขึ้นจากบนลงล่างทำให้การระบายน้ำเป็นไปได้ยาก แต่ต้องระบายน้ำ ส่วนปีนี้จะเห็นว่าปริมาณน้ำทั้ง 2 เขื่อนนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทำให้สามารถพร่องน้ำมากักเก็บไว้ได้มาก โดยรวมแล้วลักษณะการเกิดจะไม่เหมือนกัน และตอนนี้เขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกิน 100 % นั้นอยู่ 8 แห่ง

กรมชลฯ มั่นใจ! กทม.ไม่ซ้ำรอยปี 54 แน่ - เขื่อนอุบลรัตน์ปริมาณฝนเยอะเหนือความคาดหมาย

ขณะที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะเป็นการกั้นพื้นที่ กทม.เพื่อไม่ให้น้ำท่วม แต่ให้พื้นที่รอบนอกนั้นจริงหรือไม่ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ปี 2560 เราได้มีการวางแผนเพื่อเตรียมการแก้ปัญหาน้ำแบบยั่งยืนนั้นยังไม่สำเร็จ เบื้องต้นกรมชลฯได้วางแนวทางการระบายน้ำกับพื้นที่หน่วงน้ำ ซึ่งขณะนี้ได้มีการศึกษาตั้งแต่ จ.นครสวรรค์ ขึ้นไป แต่มีการใช้งานจริงในพื้นที่ทุ่งบางระกำ จ.พิษณุโลก เป็นหลัก ส่วนพื้นที่ตอนล่างตั้งแต่ จ.นครสวรรค์ ลงมานั้นจะมีทุ่งที่ผันน้ำจำนวน 12 ทุ่ง โดยมีการประกาศวันที่จะระบายน้ำเข้าทุ่งเพื่อให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทัน ซึ่งพื้นที่หน่วงน้ำนั้นอาจจะได้รับผลกระทบ 2-3 เดือน ซึ่งกรมชลฯชี้แจงว่าพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบนั้นประมาณ 90 % คือพื้นที่รับน้ำ จากนนี้เมื่อน้ำลดจะปรับปรุงคันกั้นน้ำให้สูงขึ้นในปีต่อๆไป

กรมชลฯ มั่นใจ! กทม.ไม่ซ้ำรอยปี 54 แน่ - เขื่อนอุบลรัตน์ปริมาณฝนเยอะเหนือความคาดหมาย

ส่วนสถานการณ์ที่เขื่อนอุบลรัตน์นั้นได้รับผลกระทบจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่เข้ามาในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งหากดูปริมาณน้ำเมื่อต้นเดือนตุลาคมจะพบว่ามีปริมาณน้ำเข้ามาเพิ่มเติมในเขื่อนจำนวน 2,214 ล้าน ลบ.ม. และปริมาณน้ำเดิมประมาณ 2,500 ลบ.ม. ซึ่งเทียบเท่ากับเขื่อนอุบลรัตน์ และเมื่อเขื่อนลำปาวมีปริมาณน้ำมาจากพายุตารัส และพายุเซินกา ทำให้พื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ จ.สกลนคร ได้รับผลกระทบหนักเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานั้น เขื่อนลำปาวต้องระบายน้ำ และทำให้เขื่อนอุบลรัตน์ต้องฉลอการระบายน้ำออกไป ซึ่งก่อนหน้าปริมาณน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ยังไม่มากนัก

กรมชลฯ มั่นใจ! กทม.ไม่ซ้ำรอยปี 54 แน่ - เขื่อนอุบลรัตน์ปริมาณฝนเยอะเหนือความคาดหมาย

ขณะที่เดือนตุลาคมเพียงเดือนเดียวปริมาณน้ำเยอะมากเป็นประวัติศาสตร์ตั้งแต่สร้างเขื่อนอุบลรัตน์มา ขณะที่เขื่อนจุฬาภรณ์มีปริมาณน้ำเยอะเกือบเท่าความจุของอ่างเก็บน้ำแล้ว โดยคณะกรรมการน้ำได้ดำเนินการตามแผนที่วางไว้แต่ปริมาณน้ำฝนมากทำให้น้ำในเขื่อนมากกว่าปกติ ขณะเดียวกันด้าน กฟผ.ได้ประเมินว่าจะมีน้ำฝนเพียง 500 ล้าน ลบ.ม. เท่านั้น แต่เมื่อหย่อมความกดอากาศต่ำและพายุดีเปรสชันอยู่เวลานาน ทำให้ปริมาณน้ำฝนเหนือความคาดหมาย และระบายน้ำได้ไม่เต็มที่

[embed]https://youtu.be/VelkRHKHC6I[/embed]

related