svasdssvasds

แรงงานเฮ! ครม. เห็นชอบ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ‘8-20 บ.’ ทั่วไทย เริ่ม 1 เม.ย. นี้

แรงงานเฮ! ครม. เห็นชอบ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ‘8-20 บ.’ ทั่วไทย เริ่ม 1 เม.ย. นี้

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

ครม.รับทราบอัตราค่าเเรงขั้นต่ำปรับขึ้น8-20บาท  บังคับใช้1เม.ย.ทั่วประเทศ - นายจ้าง สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั้งหมดมาหักลดหย่อนภาษีได้ 1.15 เท่า -30 ม.ค. 61- นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม.) รับทราบการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามที่คณะกรรมการค่าจ้างได้ประกาศออกมาโดยเป็นการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 8-20 บาทต่อวันทุกจังหวัดโดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้มีค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ 308-330 บาทต่อวัน โดยเทียบเคียงกับสูตรค่าจ้างขั้นต่ำของต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส มาเลเซีย บราซิล และคอสตาริกา ซึ่งองค์การแรงงานระหว่างประเทศยอมรับว่าเป็นสูตรคำนวณที่สามารถดูแลคุณภาพชีวิตของลูกจ้างได้ รวมถึงคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 61 จะขยายตัวร้อยละ 3.6-4.6 ทั้งนี้ การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำขึ้น 8-20 บาทต่อวัน ในทุกจังหวัด แบ่งออกเป็น 7 ระดับ ได้แก่ 308 บาทต่อวันจำนวน 3 จังหวัด 310 บาทต่อวัน จำนวน 22 จังหวัด 315 บาทต่อวัน จำนวน 21 จังหวัด 318 บาทต่อวัน จำนวน 7 จังหวัด 320 บาทต่อวัน จำนวน 14 จังหวัด 325 บาทต่อวัน จำนวน 7 จังหวัด และ330 บาทต่อวัน จำนวน 3 จังหวัด ซึ่งประกาศดังกล่าว จะไม่มีผลบังคับใช้กับราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้เพื่อสร้างความเสมอภาคให้กับสังคมเพราะผู้ใช้แรงงานไม่ได้ปรับค้างจ้างมาระยะหนึ่งแล้ว และเป็นการปรับตามความต้องการของแต่ละจังหวัด แต่อย่างไรก็ดี รัฐบาลได้ออก 3 มาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้าง ได้แก่ มาตรการภาษีเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ แรงงานเฮ! ครม. เห็นชอบ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ‘8-20 บ.’ ทั่วไทย เริ่ม 1 เม.ย. นี้ โดยนายจ้าง สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั้งหมดมาหักลดหย่อนภาษีได้ 1.15 เท่า สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาท และมีการจัางแรงงานไม่เกิน 200 คน ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 อัตราค่าจ้างที่จ่ายจะต้องสูงกว่าอัตราค่าจ้างรายวันเดิม คาดว่ารัฐจะสูญเสียรายได้ประมาณ 5,400 ล้านบาท แต่มาตรการดังกล่าวจะช่วยบรรเทาภาระผู้ประกอบการ และทำให้มีศักยภาพในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจเอสเอ็มอี ในการลดผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงเพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เเละมีประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเพิ่มขึ้น โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ถึงเดือนกันยายน 2563 งบประมาณรวม 5,000 ล้านบาท โดยจะตั้งคณะทำงานกำกับโครงการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ผู้เข้าร่วมโครงการก่อนจะรับสมัครและทำการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการทั่วประเทศ แรงงานเฮ! ครม. เห็นชอบ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ‘8-20 บ.’ ทั่วไทย เริ่ม 1 เม.ย. นี้ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมประเมินการขึ้นค่าจ้างจะกระทบต้นทุนเอสเอ็มอีประมาณร้อยละ 0.5-1 ของต้นทุนทั้งหมด ขณะที่เอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการคาดว่าจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ร้อยละ 10 ทั้งนี้คาดว่าจะมีกลุ่มเอสเอ็มอี เข้าร่วม 50,000 กิจการ และบุคลากรได้รับการถ่ายทอดความรู้ 250,000 คน และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อลดผลกระทบด้านแรงงาน ประกอยด้วย มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรตามประกาศ บีโอไอ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์คือยกเงินภาษีเงินได้ระยะ 3 ปี การปรับปรุงมาตรการให้สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถจากการแข่งขันเดิมของปี 2557 โดยจะขยายให้ครอบคลุมการอบรมบุคลากรให้มีทักษะที่สูงขึ้น โดยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 200 ของเงินลงทุน หรือค่าใช้จ่ายที่เกินขึ้น นอกจากนี่นายกรัฐมนตรี ยังได้สั่งการให้แต่ละหน่วยงานหามาตรการช่วยเหลือร้านค้ารายเล็กเพิ่มเติมด้วย  
related