svasdssvasds

ข้าพระบาท ทาสประชาชน : เอกภาพแห่งชาติกับการเลือกตั้ง

ข้าพระบาท ทาสประชาชน : เอกภาพแห่งชาติกับการเลือกตั้ง

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

ย่างเข้าสู่ปีที่ 4 ของการยึดอำนาจโดย คสช.ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้เป็นทั้งหัวหน้า คสช.และนายกรัฐมนตรี สัญญาณแห่งปัญหาและความยุ่งยากในการบริหารประเทศก็เริ่มส่อเค้า เมฆฝนการเมืองกำลังตั้งเค้า แม้ว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ผ่านความเห็นชอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.กับ ส.ว.ไปแล้วทั้ง 2 ฉบับ ในการประชุมสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ทราบกำหนดการการเลือกตั้งชัดเจนขึ้น ทุกฝ่ายในสังคมคลายความกังวลใจ และมั่นใจได้ว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปค่อนข้างแน่นอน

ข้าพระบาท ทาสประชาชน : เอกภาพแห่งชาติกับการเลือกตั้ง

ข้าพระบาท ทาสประชาชน : เอกภาพแห่งชาติกับการเลือกตั้ง

แต่ด้วยการแก้ไขมาตรา 2 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ก็มีผลทำให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไปอีก 90 วัน นับแต่วันที่กฎหมายได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งถ้าหากบวกเวลาและขั้นตอนก่อนที่นายกฯ จะได้นำกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ กราบบังคมทูลเพื่อทรงลงพระปรมาภิไทย ก็ต้องกินเวลาและอาจร่นไปอีก กำหนดการที่คาดว่าจะมีการเลือกตั้งในปลายปี  2561 จึงเกิดความไม่แน่นอน และที่คาดว่าจะเป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ก็อาจเลื่อนเวลาออกไปอีกอย่างน้อย 1 หรือ 2 เดือนเป็นอย่างต่ำ หากไม่มีอุบัติเหตุอะไรก็อาจเป็นกลางปี 2562

ข้าพระบาท ทาสประชาชน : เอกภาพแห่งชาติกับการเลือกตั้ง

การที่โรดแมปการเลือกตั้งถูกเลื่อนออกไปหลายครั้งเช่นนี้ แม้รัฐบาลและท่านนายกฯ จะบอกกับสังคมว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้พิจารณา โดยรัฐบาลและนายกฯ มิได้เกี่ยวข้องสั่งการหรือส่งสัญญาณใดๆ ก็ตาม แต่ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลก็ยังมีปัญหา มีความเปราะบางมากขึ้นที่อาจนำไปสู่วิกฤติศรัทธาต่อรัฐบาลและ คสช.ได้ เพราะความเป็นรัฐบาล คสช.และ สนช.นั้นแยกออกจากกันยาก ในมุมมองและสายตาประชาชนทั่วไป เพราะมาจากต้นน้ำสายเดียวกัน ดังนั้นการบริหารจัดการในเรื่องนี้ เพื่อควบคุมสถานการณ์และรักษาบรรยากาศทางการเมือง ให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ด้วยความรักสามัคคีของคนในสังคมนั้น จึงเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งของรัฐบาล และ คสช.ในขณะนี้

ข้าพระบาท ทาสประชาชน : เอกภาพแห่งชาติกับการเลือกตั้ง

สัญญาณที่บ่งบอกว่า ความรู้สึกของประชาชนเริ่มมีปัญหาและไม่เชื่อมั่นต่อรัฐบาล ปรากฎผ่านผลสำรวจของดุสิตโพล 48.27% อยากให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย และอีก 26.07% ยังเห็นว่าหากเลื่อนเลือกตั้งไปอีก 90 วัน จะกระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศ เป็นการสืบทอดอำนาจ 47.05% ไม่เห็นด้วยหากต้องเลื่อนเลือกตั้งออกไป และที่สำคัญถ้ามีการเลื่อนการเลือกตั้ง 36.87% เห็นว่าบรรยากาศทางการเมือง ยังมีการทะลาะเบาะแว้งโจมตีกันไปมา 35.19% อาจมีกลุ่มไม่พอใจออกมาเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาล

นี่คือผลโพลหลัง สนช.แก้ไขกฎหมายขยายเวลาเลือกตั้งออกไป 90 วัน ขณะที่ผลโพลของนิด้าก็อาจออกมาในทำนองเดียวกัน แต่ผลโพลนิด้าถูกห้ามเผยแพร่จากผู้บริหารสถาบันเสียก่อน จน ผอ.นิด้าโพล ตัดสินใจลาออกด้วยเหตุผลว่า "หากไม่มีเสรีภาพทางวิชาการหรือไม่ได้รับการให้เกียรติ และเมื่อในฐานะนักวิชาการไม่สามารถนำเสนองานวิชาการอย่างตรงไปตรงมา ด้วยความกล้าหาญและมีจริยธรรม หากไม่สามารถธำรงสิ่งเหล่านี้และในตำแหน่ง ผอ.นิด้าโพลล์ ไม่สามารถสะท้อนความคิดเห็นต่อประชาชนอย่างซื่อสัตย์ " จึงตัดสินใจลาออก นี่ก็อาจเป็นหนึ่งสัญญาณอันตรายทางการเมือง

ข้าพระบาท ทาสประชาชน : เอกภาพแห่งชาติกับการเลือกตั้ง

ในเวลาเดียวกันก็ปรากฎข่าวว่า ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเดินมิตรภาพ โดยสั่งให้ตำรวจดูแลการเดินมิตรภาพตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ มิให้กระทำการใดๆ ที่มีลักษณะเป็นการปิดกั้นขัดขวาง ในการใช้เสรีภาพของการชุมนุมภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย และให้ดำเนินการใช้อำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองความสะดวกของประชาชน การดูแลการชุมนุมจนถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2561 อันเป็นวันสิ้นสุดการชุมนุมสาธารณะ คำสั่งของศาลปกครองดังกล่าว ทำให้คำสั่งที่ห้ามการชุมนุมของ คสช.หมดความศักดิ์สิทธิ์ไร้ผลบังคับ ทำให้บรรยากาศการชุมนุมทางการเมืองกลับมาเผชิญหน้ากับรัฐบาล คสช.อย่างหลีกเลี่ยงมิได้

และทันทีหลังคำสั่งศาลปกครองดังกล่าว กลุ่มพลังมวลชนทางการเมืองกำลังก่อการเคลื่อนไหว พายุทางการเมืองกำลังตั้งเค้าอีกครั้ง คสช.ที่ตั้งใจว่าจะคืนความสุขแก่ประชาชน เรียกร้องและดำเนินการให้มีความสามัคคีปรองดอง กลับกลายเป็นปัญหาและคู่ความขัดแย้งเผชิญหน้ากับประชาชนเสียเอง น่าเสียดายเวลาและโอกาสที่ผ่านมาเป็นอย่างยิ่ง เพราะความละเลยต่อปัญหากองหนุนและแนวร่วม จึงกลายเป็นการผลักมิตรให้เป็นศัตรู กลุ่มการเมืองต่างสีต่างกลุ่ม กำลังจับมือสามัคคีพุ่งเป้าหมายมาที่ คสช. สถานการณ์เช่นนี้หาได้เป็นผลดีต่อรัฐบาลและ คสช.แต่อย่างใด

ข้าพระบาท ทาสประชาชน : เอกภาพแห่งชาติกับการเลือกตั้ง

เมื่อประมวลภาพบรรยากาศและสถานการณ์ขณะนี้ ต้องถือว่าปัญหาความเป็นเอกภาพของคนในชาติมีความสำคัญยิ่งกว่าการเลือกตั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญและโครงสร้างทางการเมือง การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขี้น ด้วยบริบททางการเมืองดังกล่าว ยังไม่ใช่อนาคตและคำตอบสำหรับประเทศ การเลือกตั้งยังไม่อาจเริ่มขึ้น ความขัดแย้งทางการเมืองและการเผชิญหน้า ระหว่างพรรคการเมือง และกลุ่มพลังทางการเมืองภาคประชาชน กับอำนาจรัฐทางทหาร คสช. ก็ปะทุขี้นเสียแล้ว

ปัญหาความเป็นเอกภาพของคนในชาติสำคัญยิ่ง พร้อมกับความไม่พอใจในการเลื่อนการเลือกตั้ง ทางเลือกทางรอดของประเทศยามนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ต้องรีบดับไฟเสียแต่ต้นลม ไม่ปล่อยให้กระแสลุกลามบานปลาย จนสายเกินกว่าที่จะแก้ไข ซ้ำรอยประวัติศาสตร์ในอดีต

ความเป็นจริงแล้วประชาชนยังเห็นว่า พรรคการเมืองและนักการเมืองเก่า ไม่อาจเป็นที่พึ่งและความหวังได้ คนยังเบื่อการเมืองเก่าๆ ที่ทำบ้านเมืองเสียหาย พล.อ.ประยุทธ์ ยังเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่ ผู้เขียนเองก็ยังอยากให้ท่านเป็นนายกฯต่อไป

ข้าพระบาท ทาสประชาชน : เอกภาพแห่งชาติกับการเลือกตั้ง

เพื่อแก้ปัญหาชาติและปฏิรูปประเทศอย่างจริงจัง แต่นายกฯก็ต้องปรับบท เปลี่ยนทัศนะคติ วางยุทธศาสตร์เสียใหม่ เลิกบทหัวหน้า คสช.มาเล่นบทผู้นำชาติ เลิกบทผู้นำทหาร มาเล่นบทผู้นำประเทศ เลิกบทพี่น้องบูรพาพยัคฆ์ มาเป็นพี่น้องกับประชาชนทุกหมู่เหล่า สร้างความสามัคคีและเอกภาพแห่งชาติ ด้วยการนิรโทษทางการเมืองแก่ประชาชน ทุกกลุ่มทุกสีที่เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองโดยสุจริต ปกป้องประโยชน์ชาติ แต่ต้องถูกฟ้องคดีอาญาร้ายแรงโดยไม่เป็นธรรมจากรัฐ แล้วจัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วภายในปีนี้ สามัคคีทุกคนเข้าร่วมขบวนการปฏิรูปประเทศร่วมกัน ด้วยแนวทางนี้ก็เชื่อว่าจะดับไฟการเมืองที่คุกรุ่นได้แน่นอน ท่านจะได้กองหนุนและแนวร่วมกลับมา ก่อนเดินไปสู่การเลือกตั้ง คลื่นลมพายุการเมืองก็จะอ่อนแรงลง

ประเทศต้องการผู้นำ ประชาชนต้องการการปฏิรูป สังคมต้องการความเป็นเอกภาพครับท่าน

.................

คอลัมน์ : ข้าพระบาททาสประชาชน / หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ / ฉบับ 3336 ระหว่างวันที่ 1-3 ก.พ.2561

ข้าพระบาท ทาสประชาชน : เอกภาพแห่งชาติกับการเลือกตั้ง

related