svasdssvasds

กรธ. เห็นแย้งปรับแก้ร่างกฎหมายเลือกตั้ง

กรธ. เห็นแย้งปรับแก้ร่างกฎหมายเลือกตั้ง

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

กรธ.ขอตั้งกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย โดยมองว่า การปรับแก้ไขร่างกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. และ ร่างกฎหมายการได้มาซึ่ง ส.ว.เป็นการทำให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญถูกบิดเบือนไป และยังมองว่าเป็นการปิดกั้นโอกาสให้หลายๆด้าน

นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แถลงความคืบหน้าประเด็นการเห็นแย้งของ กรธ.ที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งทาง กรธ.นั้นมีข้อเห็นแย้งอันประกอบด้วย การจำกัดสิทธิ์ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง โดย กรธ.เห็นว่าการจำกัดสิทธิ์นั้นมีอยู่แล้วในรัฐธรรมนูญที่เป็นการจำกัดสิทธิ์เฉพาะตัวในเรื่องการห้ามรับสมัครเลือกตั้ง ทั้งระดับประเทศ และ ท้องถิ่น การคัดค้านผลการเลือกตั้ง การสมัครเป็นกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ที่ล้วนมีอยู่แต่เดิม แต่ทาง สนช. ได้มีการปรับแก้โดยมีการเพิ่มในส่วนของการจำกัดสิทธิ์การเป็นข้าราชการการเมือง ถือเป็นการกีดกันแบบภาพรวมและไม่ใช่เรื่องของการจำกัดสิทธิ์เฉพาะตัว

ต่อมาคือ การให้ดำเนินการจัดมหรสพ โดย กรธ.มองว่า การหาเสียงเลือกตั้งควรทำให้เกิดความเสมอภาคกันในทุกพรรคการเมือง ซึ่งปัจจัยที่เป็นปัญหาคือ การที่พรรคเล็ก มีทุนไม่มากพอที่จะดำเนินการในกรณีดังกล่าว ต่างจากพรรคการเมืองที่มีทุนสูง ทำให้เกิดความได้เปรียบ เสียเปรียบทางการเมือง ประการต่อมาคือ การขยายกรอบเวลาการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งจากเดิมที่เริ่มใช้สิทธิ์ 8 นาฬิกา ถึง 15 นาฬิกา ทาง กรธได้มีการปรับขยายออกไปเป็น 16 นาฬิกา แต่เมื่อเข้าสู่ชั้น สนช.กลับมีการปรับเวลาเป็น 7 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา จึงทำให้เจตนารมณ์นั้นถูกปรับเปลี่ยนจนเป็นปัญหา โดยผลกระทบที่ทาง กรธ.มองนั้นมีความเห็นที่ตรงกับ กกต.คือ ทำให้เกิดปัญหาการทำหน้าที่ของ กกต.เอง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศต่างกัน ทำให้การปฏิบัติหน้าที่นั้นอาจมีความยากลำบาก //

สำหรับข้อเห็นแย้งในส่วนของร่างกฎหมาย ส.ว.นั้นทาง กรธ.ได้เปิดโอกาสให้มีการแบ่งกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย เหมาะแก่การที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมในรัฐสภาได้อย่างเต็มที่ และทำหน้าที่ไม่ต่างจากสภาผู้แทนราษฎร แต่การแก้ไขของ สนช.กลับเป็นการทำให้เจตนารมณ์ขาดหายไป คือ การสมัครแบบคัดกรองขององค์กร และ การแบ่งประเภท 10 กลุ่ม แม้ สนช.จะเสนอให้มีการคัดกรอง เพื่อดูคนที่มาเป็น ส.ว. แต่ก็ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ รวมไปถึงการยกเลิกเลือกไขว้นั้น ก่อนหน้า กรธ.ได้อธิบายมาโดยตลอดถึงเหตุผล การยกเลิกจะทำให้เกิดเรื่องของการบล็อกโหวตมากกว่าเดิม

สำหรับรายชื่อผู้เป็นกรรมาธิการร่วมในส่วนของ กรธ.นั้น มีการแบ่งออกเป็น 2 ชุดคือ ร่างกฎหมายลือกตั้ง ส.ส. ประกอบด้วย พลเอกอัจฉพร เจริญพานิช , นายภัทระ คำพิทักษ์ , นายศุภชัย เยาวประภาษ , นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง , และนายนรชิต สิงหเสนี

ส่วนชุดการพิจารณากร่างกฎหมายการได้มาซึ่ง ส.ว. มีตัวแทน กรธ.คือ นายอัชพร จารุจินดา , นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ , นายปกรณ์ นิลประพันธ์ ,นายอภิชาติ สุขคานนท์ , และนายอุดม รัฐอมฤต โดยทั้ง 2 คณะนี้จะมีการประชุมนัดแรกวันที่ 15 กุมภาพันธ์

related