svasdssvasds

“นักวิชาการ” ชี้! คนรุ่นใหม่จะขับเคลื่อนประชาธิปไตยไกลกว่าเดิม

“นักวิชาการ” ชี้! คนรุ่นใหม่จะขับเคลื่อนประชาธิปไตยไกลกว่าเดิม

เวทีเสวนาวิชาการ “ทิศทางและบทบาทของขบวนการทางสังคมในกระแสก่อตั้ง” เห็นตรงกันว่า ภาคประชาชนมีความสำคัญต่อการเลือกตั้งครั้งหน้า โดยคนรุ่นใหม่ถือว่ามีความสำคัญ เพราะจะเป็นตัวแทนขับเคลื่อนประเทศไปสู่ประชาธิปไตยที่ไกลกว่าเดิม

วันนี้(26พ.ค.)วงเสวนา “ทิศทางและบทบาทของขบวนการทางสังคมในกระแสก่อตั้งพรรคการเมือง มีผู้เข้าร่วมเสวนาจากหลากหลายวงการ เช่น นายจอน อึ๊งภากรณ์  ผู้อำนวยการ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw  ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  นายกิตติชัย งามชัยพิสิฐ  ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสามัญชน  นายสรวิศ เหลาเกิ้มหุ่ง สมาชิก Group of Comrades ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัดขึ้นที่ สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน เขตราชเทวี

“นักวิชาการ” ชี้! คนรุ่นใหม่จะขับเคลื่อนประชาธิปไตยไกลกว่าเดิม

โดยนายจอน ระบุว่า พรรคการเมืองไทยมาจากฐานเศรษฐกิจ หรือ มีนักลงทุนคอยสนับสนุน สะท้อนให้เห็นว่า พรรคการเมืองของไทยส่วนใหญ่ ยังไม่มีฐานมวลชนระดับรากหญ้าที่เข้มแข็ง ดังนั้น ควรผลักดันระบอบประชาธิปไตยให้ไกลกว่านี้ โดยเฉพาะ พรรคการเมืองที่มาจากจากภาคประชาสังคม สามารถเกิดขึ้นได้ อาจต้องใช้เวลาร่วมกันสร้างขึ้นมา ที่กำหนดสมาชิกพรรค ควรมาจากรากหญ้า ไม่ได้มาจากเศรษฐี รวมถึง กำหนดนโยบายและเลือกกรรมการ ที่มาจากภาคประชาชน ที่ได้รับการเลือกจากสมาชิกในพื้นที่จริง ซึ่งถือเป็นหลักการสำคัญ ส่วนเงินหมุนเวียนภายในพรรค ก็ควรมาจากสมาชิก ไม่ใช่มาจากผู้ที่บริจาคมากสุดในพรรค จนเกิดการเกรงใจ ไม่เช่นนั้น ก็ยังคงมีพรรคการเมืองแบบเดิมอยู่ พร้อมเชื่อว่า ฐานเสียงต้องมาจากภาคประชาชน ที่ไม่ได้มาจากกลุ่มนายทุน เหมือนเช่นพรรคอนาคตใหม่ ที่เข้ามามีบทบาท ผลักดันให้เกิดขึ้นได้ ที่สำคัญ พรรคการเมืองที่ปฏิเสธการเมืองแบบเก่า จะต้องร่วมมือกัน เพื่อเลือกบุคคลเหมาะสมมาแข็งกับพรรคขนาดใหญ่ เพื่อช่วงชิงคะแนนเสียง

ด้าน นายกิตติชัย มีข้อสังเกตว่า ภาคประชาสังคมเห็นด้วยกับการตั้งพรรคการเมือง แต่กลับจำกัดตัวเองเพียงเฉพาะแก้ปัญหาในชุมชนเท่านั้น ดังนั้น ต้องเสนอนโยบายทุกพรรค เพราะเกรงว่า จะสูญเสียข้อเสนอไป หากเสนอเพียงแค่บางพรรค แต่ไม่ชนะ จึงต้องเสนอทุกพรรคไปพร้อมๆ กัน ขณะเดียวกัน ยังมีปัญหาเรื่องจุดยืนพรรคการเมือง โดยไม่ได้สนใจกลุ่มคะแนนเสียงที่เป็นกลุ่มก้อน และภาคประชาชนเองทำงานเพียงแต่ละประเด็นที่แคบลงไปเรื่อยๆ ดังนั้นพรรคการเมืองควรไปเอาความคิดนโยบายของภาคประชาชนมาแก้ไข ไม่ใช่ภาพใหญ่อย่างเดียว ส่วนการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น ส่วนตัวมองว่า มีกติกากีดกันพรรคเล็กมากมาย เพราะมีข้อจำกัดคือการเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียว ทำให้ประชาชนไม่สามารถเลือกพรรคเล็กได้ และการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่ได้สะท้อนเสียงจากภาคประชาสังคม แต่กลับสะท้อนเสียงจากคนในท้องถิ่นมากกว่า

เช่นเดียวกับ นายสรวิชญ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา มองว่า คนรุ่นใหม่เริ่มเบื่อการเมือง และยังถูกปิดกั้นไม่ให้คนรุ่นใหม่เข้าไปขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา เพราะถูกมองว่า ยังเป็นเยาวชน ซึ่งตนเห็นว่า เป็นเรื่องที่ผิดพลาด เพียงเพราะความคิดแบบอำนาจนิยมจากผู้ใหญ่ ส่วนตัวมองว่า ต้องมีการผลักดันให้มีพรรคการเมืองที่เป็นภาคประชาชนอย่างแท้จริงเพื่อเข้าไปแก้ปัญหา ไม่ใช่พรรคการเมืองใหญ่ที่เสนอนโยบายสวยงาม แต่ไม่สามารถทำได้จริง อีกทั้ง ควรมีพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนของกลุ่มต่างๆ ให้มากขึ้น และประเทศไทยต้องมีรัฐธรรมนูญที่ยึดโยงกับประชาชน

“นักวิชาการ” ชี้! คนรุ่นใหม่จะขับเคลื่อนประชาธิปไตยไกลกว่าเดิม

ขณะที่ ดร.กนกรัตน์ ได้ฟันธงถึงการเลือกตั้งครั้งหน้าที่จะเกิดขึ้นด้วยว่า  พรรคการเมืองที่มาจากภาคประชาชน เป็นไปได้ยากที่จะชนะการเลือกตั้ง แต่ทั้งหมดนี้ ความขัดแย้ง หรือ อุดมการณ์ ยังมีอยู่ พร้อมย้ำว่า หากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นจริง จะต้องไม่ใช่การเลือกตั้งจากรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว เพราะจะทำให้ประชาชนตั้งคำถามกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้

related