svasdssvasds

พนักงานการไฟฟ้าฯแต่งดำค้านแปรรูป กฟภ.เป็นบริษัท

พนักงานการไฟฟ้าฯแต่งดำค้านแปรรูป กฟภ.เป็นบริษัท

สหภาพแรงงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 3 นำผู้บริหาร พนักงานลูกจ้าง แต่งชุดดำคัดค้านการแปรรูปการไฟฟ้าในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

นายสมชาย อักษรภักดิ์ ประธานสหภาพแรงงานการไฟฟ้า ภาคใต้ เขต 3 ยะลา นำผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง การไฟฟ้าในส่วนของ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ยะลาและสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยะลา กว่า 100 คน รวมตัวแต่งชุดดำ พร้อมกับชูป้ายการคัดค้าน การจัดตั้งบริษัท RPS หรือ Regional Power System Company และการแปรรูป การแปรรูปการไฟฟ้า 3 จังหวัดชายแดนใต้

พนักงานการไฟฟ้าฯแต่งดำค้านแปรรูป กฟภ.เป็นบริษัท โดยนายสมชาย อักษรภักดิ์ ประธานสหภาพแรงงานการไฟฟ้าเขต 3 ยะลา ได้อ่านแถลงการณ์ มีข้อความระบุว่า เราชาวพนักงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ขอแสดงเจตนารมณ์คัดค้านการกระทำกังกล่าว เนื่องจากเป็นการกระทำโดยเร่งรีบ รวบรัด ไม่โปร่งใส ไม่มีการทำประชาพิจารณ์ หรือให้โอกาสให้พนักงานหรือส่วนเกี่ยวข้องของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมทั้งภาคประชาชนได้มีโอกาสชี้แจง

พนักงานการไฟฟ้าฯแต่งดำค้านแปรรูป กฟภ.เป็นบริษัท หาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกกำหนดให้อยู่ในรูปแบบของบริษัท ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องคำนึงถึงผลกำไรเป็นหลัก เมื่อไม่มีผลกำไร คงต้องมีการขึ้นราคาค่ากระแสไฟฟ้า ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ภายภาคหน้าหากต้องการผลกำไร การขึ้นค่ากระแสไฟฟ้าย่อมเกิดขึ้นได้ ความเดือดร้อนจึงตกไปอยู่กับประชาชน รวมทั้งพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเกิดผลกระทบ ความมั่นคงในการปฏิบัติงานจะถูกควบคุม ลิดรอนสิทธิ์ สวัสดิการ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีคำตอบจากผู้บริหารหรือ ผู้คิดโครงการนี้ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงขอคัดค้านการจัดตั้งบริษัท RPS อย่างเป็นรูปธรรมและทุกภาคส่วนต่อไป

พนักงานการไฟฟ้าฯแต่งดำค้านแปรรูป กฟภ.เป็นบริษัท สำหรับ RPS นั้น เป็นบริษัทที่จะตั้งขึ้นโดย กองทุนฯกระทรวงพลังงาน ถือหุ้น ร้อยละ 51,การไฟฟ้าภูมิภาค ถือหุ้น ร้อยละ 24.5 ,การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ถือหุ้น ร้อยละ 24.5โดยจะนำ กฟภ. ในพื้นที่ 3 จังหวัด ไปรวมกับ กฟผ. และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน เพื่อจัดตั้งเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้าและขายให้ผู้ใช้ไฟโดยตรง ซึ่งในส่วนของการไฟฟ้าภูมิภาค ต้องโอนผู้ใช้ไฟ ประมาณ 5 แสนรายของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ บริษัท RPS โดยหุ้นในส่วนของกองทุนฯ กระทรวงพลังงาน ร้อยละ 51 จะโอนให้เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน คือ วิสาหกิจชุมชนยะลา,ปัตตานีและนราธิวาส โดยมีโรงไฟฟ้าชีวมวลชีวภาพเดิม ประมาณ 112.5 เมกกะวัตต์ อยู่ในความดูแล หรือต่อไปอาจก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นของวิสาหกิจชุมชนเอง ในเดือนมิถุนายนนี้ทั้ง 3 จะฝ่ายลงนาม MOU เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีในเดือนกันยายน

related