svasdssvasds

หรือจะเป็น "เดอะซีรีย์" !! ตามรอยไปดูทำไม? จึงมีช่องให้ "โกงกินอาหารนักเรียน"

หรือจะเป็น "เดอะซีรีย์" !! ตามรอยไปดูทำไม? จึงมีช่องให้ "โกงกินอาหารนักเรียน"

กำลังจะกลายเป็น "ปัญหาใหญ่" อีกประเด็น เพราะเหตุ "ทุจริต" การทำหน้าที่พ่อพิมพ์ แม่พิมพ์ ที่กล้าโกง แม้กระทั่งโครงการอาหารกลางวันของนักเรียน ผุดขึ้นมา เมื่อมีพ่อแม่ ผู้ปกครองร้องเรียนว่า ลูกหลานถูกโกงแม้แต่ค่ากิน ตั้งแต่เด็ก

ช่างกล้าโกง!! งาบเงินมื้อกลางวันเด็ก

กรณีผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าใหม่ จ.สุราษฎร์ธานี ที่ป.ป.ช.สอบแล้ว ได้ผลเบื้องต้นว่า บกพร่องในหน้าที่ของการจัดซื้อวัตถุดิบประกอบอาหาร แต่ยังสืบเสาะไม่ถึง เอกสารหลักฐานว่ามีทุจริต คอรัปชั่นมากน้อยเพียงใด ล่าสุด มีข่าวครูร้องเพจดัง ผู้บริหารโรงเรียน ในจ.ลพบุรี ทุจริตอาหารกลางวันเด็กอีก

สำหรับที่มาของโครงการอาหารกลางวัน กำกับดูแลโดยกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา เริ่มมาตั้งแต่ ปี 2549 กระทรวงศึกษาธิการทดลองจัดอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน แต่ทำได้ไม่ทั่วถึงระยะหนึ่ง เพราะขาดงบประมาณ จนปี 2530 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแงชาติ นำกลับมากำหนดเป็นนโยบายให้โรงเรียนดำเนินการอีกครั้ง ก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2530 ภายใต้คำขวัญ 60 พรรษามหาราชา เด็กประถมศึกษาไม่หิวโหย นำไปสู่การตราให้มี พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน ในโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2535

สาระสำคัญคือ จัดตั้งกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา วงเงิน 6,000 ล้านบาท เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่าย สำหรับการสนับสนุนและช่วยเหลือภาวะโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา และแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็ก ครม.ให้ถือเป็นนโยบายหลัก ความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ

หรือจะเป็น "เดอะซีรีย์" !! ตามรอยไปดูทำไม? จึงมีช่องให้ "โกงกินอาหารนักเรียน"

จากนั้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2544 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ถ่ายโอนงบประมาณค่าอาหารกลางวัน ไปให้กระทรวงมหาดไทย ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้จัดตั้ง และจัดสรรงบประมาณเอง มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 จนถึงปัจจุบัน

สำหรับงบประมาณที่นำเข้ากองทุน เป็นค่าใช้จ่าย มาจาก 4 แหล่งด้วยกัน

1.ทุนประเดิมตามพรบ.กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันฯ

2.เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี

3.เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีผู้บริจาค

4.ดอกผลที่เกิดจากกองทุนฯ

ทั้งนี้ ปี 2546-2551 ข้อมูลของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษาได้รับการจัดสรรงบฯ

- ปี 2542 จัดสรรคนละ 6 บาท 200 วัน ดำเนินการได้ร้อยละ 30

- ปี 2549 จัดสรรคนละ 10 บาท 200 วัน ทำได้ร้อยละ 40

- ปี 2550 จัดสรรคนละ 10 บาท 200 วัน ครอบคลุมร้อยละ 50

- ปี 2551 จัดสรรคนละ 10 บาท 200 วัน ครอบคลุมร้อยละ 60

สำหรับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นับแต่ปี 2547 - 2550 ให้วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีจำนวน 46 แห่ง เป็นพี่เลี้ยงดูแลโรงเรียน สังกัด สพฐ. 1,200 โรงเรียน ดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืน

 

หรือจะเป็น "เดอะซีรีย์" !! ตามรอยไปดูทำไม? จึงมีช่องให้ "โกงกินอาหารนักเรียน"

จากนั้น รัฐบาลก่อน มีนโยบายการกระจายอำนาจ ทำให้งบฯ ถูกถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแล และบริหารจัดการ ก็ส่งผลกระทบ ดังนี้

1.กิจกรรมการประกอบอาหาร และการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

2.โรงเรียนขาดกำลังคน ไม่เพียงพอที่จะดูแลการจัดอาหารกลางวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ขาดการบริหารจัดการที่ดีในการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน

4.โรงเรียนขาดองค์ความรู้ในการจัดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และถูกหลักโภชนาการ

5.โรงเรียนจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ ยังไม่เป็นระบบ และไม่เป็นปัจจุบัน

6. ไม่มีการนิเทศติดตาม และประเมินผลอ่างเป็นระบบ

7. ไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญ และตระหนักถึงปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ทำให้ขาดการมีส่วนร่วมทั้งจากผู้ปกครองหรือชุมชน

นักโภชนายืนยันงบค่าอาหารกลางวันเด็ก 20 บาท/หัวเพียงพอ

ปี 2561 สพฐ.มีงบประมาณทั้งสิ้นกว่า 12,578,756,000 บาท และได้จัดสรรให้แก่โรงเรียนในสังกัดทั่วประเทศ ที่มีนักเรียน ระดับชั้น ประถมศึกษา ปีที่ 1- 6 กว่า 27,948 โรงเรียน ในอันตรา 20 บาท / คน / วัน จำนวนวันต่อ 1 ปีการศึกษา 200 วัน

สามารถจำแนกออกเป็นดังนี้

ป.1 จำนวน 516,621 คน ค่าอาหาร 10,332,420

ป.2 จำนวน 513,370 คน ค่าอาหาร 10,267,400

ป.3 จำนวน 515,301 คน ค่าอาหาร 10,306,020

ป.4 จำนวน 527,408 คน ค่าอาหาร 10,548,160

ป.5 จำนวน 533,992 คน ค่าอาหาร 10,679,840

ป.6 จำนวน 537,997 คน ค่าอาหาร 10,759,940

รวมทั้งสิ้น 3,144,689 คน เป็นเงิน 62,893,780 บาท/

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อุไรพร จิตต์แจ้ง อดีตนักวิชาการด้านโภชนาการชุมชน สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากความบกพร่องของผู้ที่เกี่ยวข้องที่ขาดการตรวจสอบที่ต่อเนื่อง เพราะงบรายหัวที่ให้กับเด็กนักเรียน 20 บาท ต่อคนนั้น เพียงพอ หรือจะพูดได้ว่า “เหลือเฟือ” ด้วยซ้ำ

related