svasdssvasds

นักโทษล้นคุก!! ไทยติดอันดับ 6 ผู้ต้องขัง ตัวเลขพุ่ง 3.5 แสนคน เกินครึ่งเจอ "คดียาเสพติด"

นักโทษล้นคุก!! ไทยติดอันดับ 6 ผู้ต้องขัง ตัวเลขพุ่ง 3.5 แสนคน เกินครึ่งเจอ "คดียาเสพติด"

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตั้งวงหาทางออก ปัญหาผู้ต้องขังล้นคุก เสนอแนวทาง ก้าวผิดคิดพลาด ให้โอกาสแก้ตัวใหม่ เปิดทางลดแออัดในเรือนจำ

กรมราชทัณฑ์ เปิดสถิติ ไทยติดอันดับ 6 ผู้ต้องขังมากที่สุดในโลก อันดับ 3 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน มีผู้ต้องขังมากเกิน 3 แสนคน แต่เรือนจำสามารถรองรับผู้ต้องขังจริงๆ ได้ประมาณ 120,000 คน กระทั่ง เกิดปัญหาคนล้นคุกขึ้น

นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า จำนวนผู้ต้องขังทั่วประเทศเกินอัตราที่เรือนจำรองรับได้ถึง 50,000 คน ทำให้ต้องกลับมาทบทวนอย่างจริงจังถึงมาตรการลงโทษอาญา ซึ่งประเทศไทยเน้นการลงโทษจำคุกมากเกินไป ทำให้จำนวนผู้ต้องขังของประเทศสูงเป็นอันดับ 4 ของทวีปเอเชีย รองจากคาซัคสถาน ไต้หวัน และสิงคโปร์

ประเทศต้องใช้งบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายของนักโทษประมาณ 16,000 บาทต่อคนต่อปี ทั้งนี้หากจำแนกผู้ต้องขังในเรือนจำจะพบว่า เป็นผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีถึง 28 % และเป็นผู้ต้องขังที่ต้องโทษจำคุกต่ำกว่า 5 ปี ถึง 55% ดังนั้นแนวทางการแก้ปัญหานักโทษล้นคุก จำเป็นต้องเลือกใช้โทษอื่นที่ไม่ใช่การจำคุก เช่น การคุมประพฤติอย่างเข้มข้น การจำกัดบริเวณ หรือควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำงานบริการสังคม และการลงโทษปรับที่เหมาะสมกับความผิด

นายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวถึงสถานการณ์ผู้ต้องขังล้นเรือนจำว่า เมื่อปีพ.ศ. 2500 กรมราชทัณฑ์ดูแลผู้ต้องขังเพียง 10,900 คน จากนั้นผู้ต้องขังเพิ่มจำนวนขึ้นมาโดยตลอด ปัจจุบันสถิติผู้ต้องขังกำลังปรับเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง คาดว่าภายใน 2 ปีข้างหน้า ผู้ต้องขังทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้นเกินกว่า 200,000 คน เนื่องจากในแต่ละเดือนจะมีนักโทษถูกส่งตัวเข้าเรือนจำประมาณ 2,000 คน ซึ่งวิกฤตนักโทษล้นคุกรอบ 2 นี้ เป็นผลให้ต้องปรับปรุงสถานที่ควบคุมผู้ต้องขังรายสำคัญ 20,000 คน โดยยกระดับเรือนจำธรรมดาให้เป็นเรือนจำความมั่นคงสูง

นายทวี ชูทรัพย์ อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า สภาพนักโทษล้นคุกไม่ต่างจากขยะล้นถัง ซึ่งไม่สามารถแก้ไขที่ปลายเหตุ วิธีการแก้ไขปัญหานักโทษล้นคุกที่ได้ผลที่สุด คือ การตราพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษผู้ต้องกักขังแทนค่าปรับ ซึ่งจะลดจำนวนผู้ต้องขังได้จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องปล่อยผู้ต้องขังทุกคน เพราะในกฤษฎีกาอภัยโทษ มีอีกมาตราที่กำหนดให้ช่วยลดโทษให้ผู้ต้องขัง โดยผู้ต้องขังที่ถูกปล่อย คือผู้ต้องขัง ที่พิการ ชราภาพ

related