svasdssvasds

เร่ง! แผนฟื้นฟู "แม่น้ำพิจิตร"

เร่ง! แผนฟื้นฟู "แม่น้ำพิจิตร"

ประชุมหน่วยเกี่ยวข้อง เร่งโรดแมปฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตร ก่อนเสนอนายกฯ พิจารณา เตรียมเดินหน้าแผนระยะเร่งด่วนขุดลอกจุดวิกฤตก่อนน้ำหลาก หวังเป็นแก้มลิงรับน้ำจากน้ำยม – น้ำน่าน ชะลอผลกระทบพื้นที่ตอนล่าง

( 22 มิ.ย. 2561) นายสมเกียรติ  ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เปิดเผยภายหลังการประชุมจัดทำแผนบูรณาการฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตร ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กรมเจ้าท่า กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมโยธาธิการและผังเมือง และองค์การบริหารจังหวัดพิจิตร เพื่อหารือแผนการฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตร จ.พิจิตร หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 โดยได้มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหน่วยงานกลางบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนพัฒนาแม่น้ำพิจิตร เพื่อให้แม่น้ำพิจิตรเป็นแหล่งเก็บกักน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและชัดเจนเป็นรูปธรรมโดยเร็วนั้น

เร่ง! แผนฟื้นฟู "แม่น้ำพิจิตร"

เบื้องต้นที่ประชุมได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสรุปความก้าวหน้าการดำเนินการที่ผ่านมา และงานที่จะดำเนินการในระยะต่อไปตามภารกิจความรับผิดชอบ โดยเฉพาะแผนงานในระยะสั้นที่ต้องดำเนินการให้เห็นเป็นรูปธรรมภายใน 3 เดือน อาทิ  

1. การรับน้ำเข้าแม่น้ำพิจิตรให้กรมชลประทานพิจารณาเพิ่มเติมถึงปริมาณน้ำสูงสุดที่จะนำเข้าสู่แม่น้ำพิจิตร รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ของระบบชลประทานพื้นที่สองฝั่งที่ทำการเกษตร ขณะเดียวกัน เพื่อให้เกิดฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและรวดเร็วมากขึ้น ที่ประชุมได้มอบหมายให้กรมชลประทานสำรวจในเชิงวิศวกรรม เพื่อให้เห็นว่าน้ำจะไหลจากไหนไปไหน และสิ่งกีดขวางทางน้ำโดยเร็ว เพื่อเป็นฐานข้อมูลกลางในการศึกษาพัฒนาระยะต่อไป

2. การออกแบบปรับปรุงอาคารบังคับน้ำ ขอให้กรมทัพยากรน้ำเร่งปรับแผนงานจุดไหนที่สามารถเร่งรัดดำเนิเนการให้แล้วเสร็จก่อนช่วงกลางเดือนกรกฏาคมก่อนที่ระดับน้ำแม่น้ำพิจิตรจะสูงขึ้นได้จะต้องเร่งทำทันที  

3. แผนการดำเนินการขุดลอกทั้งที่กำลังดำเนินอยู่โดย กอ.รมน.ทำร่วมกับอุทกพัฒน์ รวมถึงการขุดลอกจุดวิกฤตที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนที่กรมทรัพยากรน้ำมีแผนจะดำเนินการด้วยว่าใช้งบประมาณเท่าไหร่ และดินที่ขุดได้จะนำไปไว้ที่ใด  

4. แผนที่ และข้อมูลสิ่งก่อสร้างรุกล้ำทางน้ำ แก้ปัญหาการบุกรุก 2 ฝั่งแม่น้ำ ปัญหาวัชพืช แม่น้ำตื้นเขิน น้ำเน่าเสีย และสิ่งกีดขวางทางน้ำ 83 แห่งโดยกรมเจ้าท่า

5. แผนการดำเนินการกำจัดวัชพืช ในแม่น้ำพิจิตร 127 กิโลเมตร และขุดลอกทางน้ำของคลองข้าวตอก 58 กิโลเมตร รวมระยะทาง 185 กิโลเมตร ซึ่งดำเนินการโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง

 “ทั้งนี้ สทนช.จะลงพื้นที่แม่น้ำพิจิตร เพื่อหารือร่วมกับทางจังหวัดภายใน 2 สัปดาห์ โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และรวบรวมเสนอความคืบหน้าการดำเนินงาน และจัดทำเป็นร่างแผนปฏิบัติการ (Master Plan) ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว นำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป” นายสมเกียรติ กล่าว

เร่ง! แผนฟื้นฟู "แม่น้ำพิจิตร"

related