svasdssvasds

เปิดเส้นทางถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

เปิดเส้นทางถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

เปิดเส้นทาง "ถ้ำหลวง" ในจังหวัดเชียงราย ที่เยาวชนนักฟุตบอลและโค้ชรวม 13 คน หลงทางอยู่ภายใน พบเป็นถ้ำที่ค่อนข้างลึกและซับซ้อนหลายกิโลเมตร

"ถ้ำหลวง" วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

"ถ้ำหลวง" ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางนอน หมู่ 9 ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ในทางธรณีวิทยา เป็นประเภทถ้ำกึ่งแห้ง บางส่วนมีการเกิดของหินงอกและหินย้อยอยู่

จากบริเวณปากถ้ำ เป็นห้องโถงกว้าง สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 433 เมตร และเป็นทางลึกเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่า เป็นโถงหลักเพียงโถงเดียวในการใช้เข้าออกถ้ำ เนื่องจากการสำรวจ ยังไปไม่ถึงสุดปลายถ้ำ เพราะอุปสรรคคือเส้นทางที่ซับซ้อนและมีน้ำซึมขังอย่างต่อเนื่อง แต่ภายในยังมีถ้ำเล็กๆ อีก 3-4 ถ้ำ

เปิดเส้นทางถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

เมื่อเดินเข้าไปสุดทางโถงใหญ่จากปากถ้ำ จะพบทางแยกซ้ายขวา คล้ายตัวที ความยาวรวมกันประมาณ 7-8 กิโลเมตร มีธารน้ำไหลผ่านกลางถ้ำ โดยในช่วงฤดูฝน จะมีน้ำไหลซึมลงมา ความลึกประมาณ 5 เมตร จนเกือบติดเพดานถ้ำ

หากไปทางขวามือ จะเป็นทางตัน ส่วนทางซ้ายมือ ช่วงน้ำขึ้นสูง ต้องดำน้ำประมาณ 2-3 กิโลเมตร จะพบเนินดินแห้ง ซึ่งจุดนี้เจ้าหน้าที่คาดว่า อาจเป็นจุดที่โค้ชและนักฟุตบอลเยาวชน 13 ชีวิต รอการช่วยเหลืออยู่ที่นี่ โดยถัดจากเนินดินไปอีกจะเป็นธารน้ำท่วมลึก มีเส้นทางคดเคี้ยว

เปิดเส้นทางถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

ตำแหน่งที่คาดว่าเด็กๆ น่าจะอยู่...

นายอนุกูล สอนเอก นักภูมิศาสตร์ที่เคยสำรวจถ้ำดังกล่าว โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ถ้ำนางนอนหลวง เป็นถ้ำที่มีทางเข้าออกทางเดียว ระบบระบายอากาศไม่ดี ถ้าจะใช้วิธีการสูบน้ำออก ควรตั้งเครื่องสูบน้ำไว้ด้านนอกไม่เช่นนั้นปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ภายในถ้ำจะสูงขึ้น

ส่วนตำแหน่งที่คาดว่าเด็กๆ น่าจะอยู่ คือตำแหน่งลึกที่สุดบริเวณปลายสุดของ Show cave (จุดที่เปิดให้ท่องเที่ยว) น่าจะไม่เกิน 1 กิโลเมตรจากปากถ้ำ ถ้าเลยจุดนี้ไปด้านในจะเป็นเส้นทางเข้า Monk's series เส้นทางแคบและซับซ้อน คนทั่วไปไม่น่าหาเส้นทางเข้าไปด้านในได้  ขณะที่การถอดรองเท้าและวางเป้ทิ้งไว้นั้น แสดงว่าพื้นถ้ำมีน้ำท่วมออกมาถึงด้านนอกแล้ว แต่ยังไม่ลึกมาก

 

อันตรายที่อาจพบได้ในถ้ำ...

ทีมข่าวสปริงนิวส์ ตรวจสอบอันตรายที่อาจพบได้ในถ้ำ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สูงกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลให้ออกซิเจนภายในถ้ำลดลงตามไปด้วย โดย 5 ปัจจัยหลักที่อาจทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คือ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง และวัสดุติดไฟ การย่อยสลายของซากพืช-ซากสัตว์ ที่ทับถมในถ้ำ โดยแบคทีเรีย การหายใจของสิ่งมีชีวิต ทั้งคนและสัตว์ที่อยู่ในถ้ำ การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ จากดินและหินและการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากน้ำในถ้ำ ซึ่งเป็นกระบวนการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนต

หากในถ้ำมีสัตว์ประเภทค้างคาวอยู่จำนวนมาก อาจมีปัญหาเรื่องมูลค้างคาวใหม่ ที่มีกลิ่นฉุนจากก๊าซแอมโมเนียของปัสสาวะค้างคาว ที่ส่งผลกระทบต่อการหายใจในถ้ำได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

่เกาะติดปฎิบัติการ เร่งค้นหา 13 ชีวิต ทีมฟุตบอลหมูป่าติดในถ้ำหลวง [คลิป]

เปิด Time line การค้นหาโค้ช-นักฟุตบอลเยาวชน ติดถ้ำหลวง

ประมวลภาพ หน่วยซีลถึงแล้ว ช่วย 13 ชีวิต ติดถ้ำหลวง เชียงราย

 

related