svasdssvasds

ถ้าผมต้องหลงอยู่ในถ้ำ.... โดย นพ.สุระ เจตน์วาท

ถ้าผมต้องหลงอยู่ในถ้ำ....  โดย นพ.สุระ เจตน์วาท

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

333 Survival Rules

3 นาที เราขาด Oxygen ไม่ได้ โครงสร้างทางกายภาพของ ถ้ำหลวง เป็นภูเขาหินปูน มีลักษณะเป็นโพรง ทำให้มีโอกาสที่ อากาศจากภายนอกจะแทรกซึมเข้ามาได้ แม้อาจไม่ดีนัก แต่ก็เป็นหนทางรอดของน้องๆ ได้

การหนีขึ้นมาที่สูงของถ้ำก็จะช่วยลดโอกาสสัมผัสกับ ก๊าซ CO2 ปริมาณเข้มข้นที่พื้นถ้ำในระดับหนึ่ง

3 วัน เราขาดน้ำดื่มไม่ได้ การรู้จักหาน้ำดื่มภายในถ้ำจะทำให้น้องๆมีชีวิตรอดต่อไปได้ เช่นการหาน้ำจากน้ำที่หยดลงมาจากหินงอกหินย้อยซึ่งเป็นน้ำที่พอดื่มได้

วิธีอื่นเช่น ลองพยายามขุดบ่อใหม่ระยะประมาณ50 เซ็นติเมตรจากแหล่งน้ำ แล้วรอน้ำที่ใสกว่าซึมผ่านออกมา แต่ถ้าเป็นชึ้นหินที่หนาและแข็งมาก อาจไม่ได้ผล อาจลองใช้เสื้อยึดกรองน้ำดื่มให้ใสขึ้นได้ระดับหนึ่ง ในถ้ำเองมีความชื้นสัมพัส สูงมาก ตามผนังถ้ำน่าจะมีหยดน้ำปริมาณมากเกาะอยู่ซึ่งก็มีเป็นแหล่งน้ำชั้นดีอีกแหล่งที่พึงจะหาได้

3 สัปดาห์ เราขาดอาหารไม่ได้ การหาอาหารจากในถ้ำเป็นสิ่งที่ได้ยาก แต่เมื่อมีเสบียงควรวางแผนการใช้เสบียงดีๆ

#การรักษาร่างกายให้อบอุ่นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากอุณหภูมิแกนกลางร่างกายต่ำมากกว่า 35 องศาเซลเซียส อาจมีอาการ สั่น(เพื่อสร้างความร้อน) ขยับตัวได้ช้า เซื่องซึม พูดไม่ชัด ทรงตัวไม่ดี การตัดสินใจแย่ลง แต่เมื่อรุนแรงขึ้น ร่างกายจะหยุดสั่น สับสนมากขึ้น หายใจเบาลง ชีพจรเต้นช้าลง

หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำหรือว่ายน้ำ ควรถอดเสื้อผ้าออกให้หมด เป็นไปได้ควรใส่ในถุงพลาสติกเพื่อรักษาเสื้อผ้าไว้ให้แห้ง

หรือเมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ควรรักษาความอบอุ่นด้วยการทำท่า HELP position ศีรษะอยู่เหนือน้ำ งอตัวเหมือนกุ้งหรือ จับกลุ่มกันเป็นวงหันหน้าเข้าหากันเรียกว่า HUDDLE position น้ำระหว่างกลางจะมีความอบอุ่น

การระวัง มือ เท้า ติ่งหู อวัยวะเพศ ไม่ให้สัมผัสกับอากาศเย็น เพราะจะสูญเสียความร้อนไปได้ง่าย

#แสงสว่าง เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเดินทางในถ้ำ ทั้งไฟฉายหรือโทรศัพท์มือถือสมัยใหม่ ต่างเป็นไฟฉายดีๆได้ หากแต่ต้องรู้จักเก็บสำรองแบตเตอรี่ไว้ให้ดี อย่าให้เปียกน้ำ(เก็บไว้ในถุงพลาสติก) และใช้เมื่อจำเป็น แสงสว่างยังมีผลทางจิตใจต่อน้องๆให้มีกำลังใจสู้ต่อไป

#การใช้ระบบBuddy และเดินกันเป็นกลุ่ม และเมื่อตัดสินใจจะเดินทางต่อไปภายในถ้ำต้องมีแสงสว่างเท่านั้นจึงจะเดินต่อไป เพราะตรงหน้าเราไม่สามารถคาดเดาถึงหินแหลมคม ธารน้ำภายในถ้ำ ซึ่งอาจทำให้น้องๆบาดเจ็บได้

#การป้องกันการจมน้ำ แบ่งทีมกันดีๆ ใครว่ายน้ำเป็น ไม่เป็น ซักซ้อมกันดีๆเมื่อต้องการจะเดินทางผ่านน้ำ และการที่มีรองเท้าฟองน้ำเข้าไปด้วย นอกจากจะป้องกันหินแหลมคมบาดเท้าแล้ว เมื่อนำมากอดเวลาลอยตัวในน้ำจะทำให้ลอยตัวในน้ำได้นานไม่ต้องใช้แรงมากนัก

#การสื่อสาร ต้องรู้จัก บริหารแบตเตอรี่ดีๆ จะลองใช้ส่งสัญญาณออกมาได้เมื่อย้ายที่ใหม่แล้วอาจมีสัญญาณบ้าง

#การป้องกันการกระแทกของศีรษะ อาจเป็นความโชคดีถ้าน้องๆเอาหมวกจักรยานเข้าถ้ำไปด้วย นอกจากจะช่วยให้พยุงตัวในน้ำได้ ยังป้องกันการกระแทกต่อศีรษะได้อีกด้วย

#เมื่อต้องเดินต่อไปหรือสำรวจถ้ำ ควรทำร่องรอยให้สังเกตได้ง่าย เช่นการวางกลุ่มก้อนหิน หรือขีดเขียนผนังถ้ำ เมื่อหลงทางก็ยังหาทางกลับมาที่เดิมได้

#หมั่นสังเกตระดับน้ำ เสียงน้ำ สีของน้ำภายในถ้ำ และสังเกตทางหนีน้ำเมื่อจำเป็นต้องหลบขึ้นที่สูง ภายในถ้ำ

#ถ้าโชคดีมีเชือกอยู่ด้วยจะเป็นประโยชน์มากที่เดียว ใช้นำทาง ผูกเอวกันไว้ ใช้ดึงเพื่อน ใช้ทดลองหยั่งความลึก ได้อีกด้วย

และ”สติ” จะพาน้องๆกลับบ้านครับ..

 

นพ.สุระ เจตน์วาที แพทย์เชี่ยวชาญด้านอุบัติเหตุฉุกเฉิน และ ด้านการบิน

related