svasdssvasds

ไขข้อสงสัย?? กับสารพัดประเด็นจาก เหตุการณ์ "13 ชีวิตติดถ้ำ"

ไขข้อสงสัย?? กับสารพัดประเด็นจาก เหตุการณ์ "13 ชีวิตติดถ้ำ"

มากมาย?? กับคำถาม ข้อสงสัยและปัญหาข้ดข้องใจบนโลกออนไลน์ ในเหตุการณ์เด็กติดถ้ำทั้ง 13 ชีวิตของทีมหมูป่า สปริงนิวส์ ออนไลน์ มาร่วมกันให้ข้อเท็จขริง เสาะหาคำตอบให้ตรงประเด็นที่มีข้อสงสัย รวบรวมไว้ ณ ที่นี้

SEAL คืออะไร

หน่วยรบพิเศษของสหรัฐฯที่เชี่ยวชาญทางบก น้ำและอากาศ เป็นคำย่อมาจาก Sea, Air, Land หน่วยซีล ของไทยหรือ หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ (นสร.) ที่คนไทยรู้จักกันในนามมนุษย์กบเป็นหน่วยปฏิบัติการได้ทั้งทะเลบนบกและทาองกาาศหัวใจหลักคือกำลังรบขนาดเล็กปฏิบัติภารกิจมีประสิทธิภาพและไม่ให้ศัตรูรู้ตัวในสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายตรงข้าม

สัญลักษณ์ของหน่วยซีล

ปลาฉลาม : สีขาวหรือสีน้ำเงิน หมายถึงเจ้าแห่งท้องทะเล ดุร้าย น่าเกรงขาม สง่างาม แข็งแกร่ง

คลื่น : ความน่ากลัวของทะเลที่มีเกลียวคลื่น หรืออุปสรรคของคลื่นหัวแตก

สมอเรือ : หมายถึงทหารเรือ

ในอดีตหลักสูตรรับเฉพาะทหารเรือ แต่ปัจจุบัน หน่วยซีลรับทหารบก ทหารอากาศ และตำรวจเพิ่มด้วย

ไขข้อสงสัย?? กับสารพัดประเด็นจาก เหตุการณ์ "13 ชีวิตติดถ้ำ"

 

 

พาวเวอร์ เจล (Power Gel ) อาหารอวกาศ คืออะไร

ดร.อมรินทร์ พิมพ์หนู หัวหน้าโครงการทดลองในอวกาศ GISTDA อธิบายถึง อาหารอวกาศ  เป็นขบวนการคิดในการทำสารอาหารเพื่อนักบินอวกาศ ซึ่งขึ้นกับสภาวะอากาศแต่ละรูปแบบที่แตกต่างกัน สำหรับ พาวเวอร์ เจล ไม่ใช่อาหารนักบินอวกาศ แต่เป็นสารอาหาร ที่ใช้เพิ่ม ฟื้นฟูกำลังให้ผู้อ่อนแรง สูญเสียคาร์โบไฮเดรต ซึ่งให้สารอาหารได้รวดเร็ว จึงเน้นสารคาร์โบไฮเดรต มีหลายชนิด ในส่วนของเยาวชนที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง ควรจะมีสารอาหารหลายอย่าง ทั้งวิตามินเอ วิตามินซีด้วย

ไขข้อสงสัย?? กับสารพัดประเด็นจาก เหตุการณ์ "13 ชีวิตติดถ้ำ"

 

ผ้าห่มฟรอยด์ (Space หรือ Foil Blanket)

คุณสมบัติผ้าห่มฟรอยด์ หรือผ้าห่มฉุกเฉิน ที่หน่วยซีล นำไปให้เด็กๆ ห่ม มีลักษณะเหนียว บางมาก แต่ห่มอุ่นเท่าผ้านวมให้ความอบอุ่นต่อร่างกายมากถึง 90%อย่างรวดเร็ว ป้องกันอุณหภูมิได้ทุกสภาวะอากาศ  กันน้ำ กันลม สะดวกต่อการพกพา ทำจากแผ่นพลาสติกขนาดบางเคลือบฟรอยด์ เพื่อเก็บอุณหภูมิและสะท้อนแสง เป็นเทคโนโลยีที่องค์การอวกาศนาซ่าคิดค้นขึ้น แต่ผ้าห่มนี้เป็นนวัตกรรมประยุกต์ขึ้นมาจำหน่าย

สาเหตุเพราะต้องรักษาอุณหภูมิในร่างกาย จากสภาพอากาศหนาวเย็นเป็นเวลานาน จะทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง เกิดปัญหาที่เรียกว่า ภาวะตัวเย็นเกินจะทำให้เส้นเลือดหดตัว หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย สมองหรืออวัยวะอื่นๆ อาจขาดเลือดไปเลี้ยงจนอันตรายถึงชีวิตได้

ไขข้อสงสัย?? กับสารพัดประเด็นจาก เหตุการณ์ "13 ชีวิตติดถ้ำ"

 

ถ้ำหลวง เป็นถ้ำปิด?

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ชี้แจงว่า ถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ไม่ใช่ถ้ำปิด สามารถเข้าไปท่องเที่ยวได้ตามเวลาที่ราชการกำหนด ที่ผ่านมาการเข้าถ้ำไม่มีมาตรการต้องติดต่อผ่านเจ้าหน้าที่ แต่ในอนาคตต่อไปจะนำมาตรการเข้มงวดในการเข้าออกมาใช้ อย่างไรก็ตาม ถ้ำหลวง ส่วนใหญ่เป็นคนในท้องถิ่นนิยมท่องเที่ยวกัน มีป้ายติดแสดงว่า นักท่องเที่ยวจะเข้าชมในระยะทาง 700 -1,400 เมตร

ไขข้อสงสัย?? กับสารพัดประเด็นจาก เหตุการณ์ "13 ชีวิตติดถ้ำ"

 

ไซฟ่อนน้ำ คืออะไร

การไซฟ่อนน้ำ ในกรณีของถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน  เป็นการเร่งระบายน้ำโดยป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าถ้ำเพิ่มเติม และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สร้างสะพาน หรือ ไซฟ่อน (Siphon) เพื่อเบี่ยงทางน้ำไม่ให้ซึมผ่านรอยเลื่อนลงไปสมทบกับมวลน้ำในถ้ำ

ไขข้อสงสัย?? กับสารพัดประเด็นจาก เหตุการณ์ "13 ชีวิตติดถ้ำ"

 

 

ธนาคารน้ำใต้ดินคืออะไร?

ธนาคารน้ำใต้ดิน ซึ่งเป็นแนวทางตามพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นอีกแนวทางที่กำลังนำมาใช้ในการแก้ปัญหาน้ำบริเวณเขานางนอน ซึ่งแนวทางนี้เป็นการเปิดช่องอากาศ เพื่อให้น้ำในพื้นที่รอบๆ สามารถซึมผ่านพื้นดิน เพื่อนำมากักเก็บไว้ใต้ดิน ซึ่งจะช่วยลดทั้งปริมาณน้ำภายในถ้ำ และลดปริมาณน้ำที่สูบออกจากภูเขาไปสร้างผลกระทบกับชาวบ้านท้ายน้ำ

ไขข้อสงสัย?? กับสารพัดประเด็นจาก เหตุการณ์ "13 ชีวิตติดถ้ำ"

 

ทำไมต้องเร่งขนขวดอากาศเข้าไปในเนินนมสาว?

สภาพอากาศในถ้ำหลวง แม้จะเต็มไปด้วยระดับน้ำที่ขึ้นสูง แต่ปริมาณออกซิเจนลดน้อยลง เนื่องจากจุดที่ 13 ชีวิตทีมหมูป่าอยู่ มีหน่วยซีล ซึ่งเข้าไปดูแลเพิ่มจำนวนอีกหลายสิบนาย ทำให้อากาศที่มีอยู่เหลือเพียง 15% (รายงานผลวันที่ 5 ..) และปริมาณก๊าซมีเทนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ก๊าซมีเทนสามารถแทนที่ก๊าซออกซิเจน

สำหรับก๊าซมีเทน ถูกนำมาใช้อย่างมากสำหรับเป็นก๊าซหุงต้มเพื่อให้ความร้อนในการประกอบอาหาร และใช้เป็นก๊าซเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ต่างๆ เป็นก๊าซไวไฟที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่มีอันตรายต่อมนุษย์มากทั้งจากการระเบิดและผลกระทบต่อสุขภาพ หากไม่ได้รับการแก้ไขอาจจะเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่านี้และมีผู้เสียชีวิตได้

ไขข้อสงสัย?? กับสารพัดประเด็นจาก เหตุการณ์ "13 ชีวิตติดถ้ำ"

 

ระดับออกซิเจนในอากาศมีผลต่อร่างกายอย่างไร? ระดับไหนเป็นอันตรายต่อร่างกาย?

ระดับออกซิเจนในอากาศ O2 โดยปกติอยุ่ที่ 20.9%O2 ระดับออกซิเจนจะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูง-ต่ำจากพื้นดิน หากขึ้นไปบนยอดเขาปริมาณออกซิเจนจะลดต่ำลง หรือหากลงในอุโมงค์ เหมืองแร่หรือใต้ดิน ระดับออกซินเขนก็จะน้อยลง

ทั้งนี้ ร่างกายคนเราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในระดับออกซิเจน 20.9%O2 แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงระดับออกซิเจนในอากาศ ร่างกายคนเราจะมีปฏิกริยาดังนี้

18%O2 Limit of Saftey เกินขีดจำกัด

16%O2 หัวใจเต้นเร็ว/ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศรีษะ อยากอาเจียน

12%O2 หน้ามืด ไม่มีเรียวแรง

10%O2 หน้าซีด อาเจียน

8%O2 หมดสติ ทนอยู่ได้อีก 8 นาที

6%O2 หัวใจหยุดเต้นเสียชีวิต

ไขข้อสงสัย?? กับสารพัดประเด็นจาก เหตุการณ์ "13 ชีวิตติดถ้ำ"

 

 

น็อคน้ำ เป็นสาเหตุของการดำน้ำ ที่ทำให้ถึงตายได้??

อาการน็อคน้ำ" หรือรู้จักกันดีในชื่อ "โรคน้ำหนีบ" (Caisson Disease) "โรคลดความกด" (Decompression Sickness หรือ Bends) เป็นโรคที่เกิดจากการเกิดฟองก๊าซในเลือดหรือในเนื้อเยื่อ เมื่อมีการลดความกดดันไม่เพียงพอ หรือไม่ลดความกดดันเลยหลังการดำน้ำลึกมากกว่า 30 ฟุตน้ำทะเล และดำเป็นเวลานานหลายชั่วโมง จนเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายได้รับก๊าซไนโตรเจนภายใต้ความกดดันจนเกิดภาวะอิ่มตัว ทำให้เกิดการรวมตัวกันเป็นฟองอากาศกระจายไปทั่วร่างกาย เมื่อก๊าซไนโตรเจนมีปริมาณมากกว่าก๊าซชนิดอื่นในอากาศผสม จึงละลายในเลือดและเนื้อเยื่อร่างกายในปริมาณมากเกิน

หากการลดความกดดัน (การดำขึ้นสู่ผิวน้ำ) เนื้อเยื่อจะคายก๊าซไนโตรเจนที่เกินออกมา ให้ได้สมดุลกับความกดดันที่ลดลงภายนอกโดยวิธีหายใจออกมา และถ้ามีปริมาณเล็กน้อยร่างกายสามารถกำจัดได้หมด แต่ถ้ามีการลอยตัวขึ้นเร็ว โดยไม่ได้หยุดลดความกดในน้ำเป็นระยะตามตารางลดความกด เพื่อให้ร่างกายมีเวลาขับไนโตรเจนออกมา หรือมีการขจัดก๊าซช้าผิดปกติระหว่างการลดความกด จะทำให้ไม่สามารถขับไนโตรเจนที่ละลายอยู่ออกทางปอดได้ทัน จึงเหลือปริมาณของก๊าซไนโตรเจนอยู่ในภาวะเกินความอิ่มตัว ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกายทั้งส่วนที่เป็นของแข็งหรือของเหลว เช่น เกิดฟองอากาศที่กล้ามเนื้อข้อต่อจะมีอาการปวด ถ้าเข้าสู่กระแสเลือดไปอุดเส้นเลือดที่ไขสันหลังหรือสมอง จะทำให้สลบหรือเป็นอัมพาต

 

ไขข้อสงสัย?? กับสารพัดประเด็นจาก เหตุการณ์ "13 ชีวิตติดถ้ำ"

Hooyah สื่อหมายถึง??

ในเฟซบุ๊กของ Super Weapon อธิบายคำว่า Hooyah "ฮูย่า" เป็นคำที่หน่วยซีล Navy Seal ได้โพสต์หลังจากที่พบ 13 ชีวิตติดถ้ำ และกลายเป็นประเด็นสงสัยว่า คำว่า ฮูย่า คืออะไร วันนี้เรามาดูคำตอบครับ (เครดิตจาก Super Weapon)

Hooyah "ฮูย่า" เป็นคำที่ถูกให้ใช้แทนคำหลายๆคำ ซึ่งคำว่า "ฮูย่า" นี้กล่าวกันว่าเป็นคำตะโกนร้องของพวกอินเดียนแดงในการประสบชัยชนะจาการสู้รบ โดยใช้กันในหมู่ของทหารเรือ (เช่น Navy SEALs)

นอกจากนี้ยังมีคำกล่าวที่คล้ายกับคำว่า Hooyah อีกหลายคำ โดยแตกต่างกันไปในแต่ละเหล่าทัพ เช่น

Hoorah = ทหารอากาศ

Oorah = นาวิกโยธิน

และ Hooah = ทหารบก

แต่ในเวลานี้ หลังได้พบ 13 ชีวิตหมูป่า คำว่า Hooyah กลายเป็นคำฮิตติดลมในโลกออนไลน์กับเหตุการณ์กู้ชีวิตทีมหมูป่าอะคาเดมี แม่สายไปแล้ว

ไขข้อสงสัย?? กับสารพัดประเด็นจาก เหตุการณ์ "13 ชีวิตติดถ้ำ"

related