svasdssvasds

โรคที่เกิดกับคนรักการดำน้ำ หากไม่ระวังอาจถึงตาย

โรคที่เกิดกับคนรักการดำน้ำ หากไม่ระวังอาจถึงตาย

การดำน้ำ อากาศที่เราหายใจ จะมีก๊าซไนโตรเจน เป็นองค์ประกอบดังนั้นเวลาขึ้นสู่ผิวน้ำ ต้องค่อยๆขึ้นอย่างช้าๆ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดโรคได้

จากเหตุการณ์ที่ จ.อ.สมาน กุนัน พนักงานการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย และเป็นอดีตนักทำลายใต้น้ำจู่โจมนอกราชการ เกิดอาการหมดระหว่างการลำเลียงถังอากาศเข้าไปวางในถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย ก่อนจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิต ยังไม่มีการเปิดเผยชัดเจน

โรคที่เกิดกับคนรักการดำน้ำ หากไม่ระวังอาจถึงตาย

และวันนี้ทีมข่าวสปริงนิวส์จะพามาทำความรู้จักโรคที่มาจากการดำน้ำที่สามารถเกิดขึ้นได้ กับผู้ที่รักการดำน้ำเป็นชีวิตจิตใจ ในการดำน้ำ อากาศที่เราหายใจเข้าไป จะมีก๊าซไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก และเมื่ออยู่ใต้น้ำ แรงดันของน้ำจะเป็นตัวบีบอัดให้ก๊าซตัวนี้เล็กลงและละลายเข้าสู่กระแสะเลือด กระจายไปตามที่ต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งเมื่อยิ่งดำน้ำลึกก๊าซไนโตเจนในร่างกายก็จะมากขึ้นตาม

ดั้งนั้นในการขึ้นสู่ผิวน้ำ นักดำน้ำทุกคนต้องค่อยๆ ขึ้นอย่างช้าๆ เพื่อทำให้ก๊าซไนโตรเจนถูกขับออกจากปอดทางลมหายใจ ในรูปแบบฟองอากาศ แต่ถ้าการขึ้นสู่ผิวน้ำไม่ช้าพอ ที่จะให้อากาศค่อยๆออกจากร่างกายทางลมหายใจ อากาศที่กระจายอยู่ตามร่างกาย หรืออยู่ในกระแสเลือดเหล่านั้น ก็จะกลายเป็นฟองอากาศ กดทับเนื้อเยื่อ กดทับเส้นประสาท หรืออุดตันในเส้นเลือด ทำให้เกิดโรคจากการดำน้ำขึ้นได้

โรคที่เกิดกับคนรักการดำน้ำ หากไม่ระวังอาจถึงตาย

ซึ่งโรคจากการดำน้ำนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อลอยตัวขึ้นมาสู่ผิวน้ำแล้ว มักจะเกิดภายใน 12 ชม.แรก ของการขึ้นสู่ผิวน้ำ และมักไม่เกิน 24 ชม. แต่ในรายที่เป็นรุนแรงอาจเกิดขึ้นทันทีที่ขึ้นมาสู่ผิวน้ำ ประกอบด้วย

1. ภาวะปอดฉีก เกิดจากการหายใจเอาอากาศที่มีความกดดันสูง แล้วขึ้นสู่ผิวน้ำโดยไม่มีการระบายอากาศออกอย่างเพียงพอ มักพบในนักดำน้ำแบบ Scuba ที่ประสบเหตุการณ์ฉุกเฉินใต้น้ำ แล้วตกใจขึ้นสู่ผิวน้ำโดยการกลั้นหายใจ จึงทำให้อากาศภายในปอดขยายตัวดันเนื้อปอดจนปอดฉีก เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อทรวงอก แล้วอากาศบางส่วนอาจหลุดเข้าไปในหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ทำให้เกิดโรคฟองก๊าซอุดตันในหลอดเลือดแดง[Aterial Gas Embolism] หรือเกิดกับนักดำน้ำ ซึ่งมีพยาธิสภาพของปอดไม่ดีอยู่แล้ว มีสิ่งอุดตันภายในปอด ทำให้ไม่สามารถระบายอากาศออกมาได้ ทำให้เกิดปอดฉีกขึ้น

อาการ

-ทางระบบประสาท อาจเกิดอัมพาต ชัก หมดสติ หรือถึงกับเสียชีวิตได้ ซึ่งบางรายอาจพบว่าหมดสติก่อนถึงผิวน้ำ

-ทางปอด เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ไอมีเสมหะเป็นฟองปนเลือด

การรักษา ให้การช่วยชีวิตเบื้องต้น แล้วรีบนำส่งห้องปรับบรรยากาศสูง

2.โรคจากการลดความกดอากาศ หรือ โรคน้ำหนีบ [Decompression Sickness;DCS หรือ Bends หรือ Caisson Disease] เป็นโรคที่เกิดจาก เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย ได้รับก๊าซไนโตรเจนภายใต้ความกดดันจนเกิดภาวะอิ่มตัว เมื่อมีการลดความกดดัน เนื้อเยื่อจึงคายก๊าซไนโตรเจนที่เกินออก เกิดเป็นฟองอากาศเข้าสู่ระบบต่างๆของร่างกาย รวมทั้งระบบไหลเวียนของเส้นเลือด เกิดการอุดตันในตำแหน่งต่างๆ สาเหตุของการเกิดโรคนี้มาจากการดำน้ำที่ลึก หรือนานเกินกำหนดแล้วขึ้นสู่ผิวน้ำโดยไม่หยุดลดความกดใต้น้ำตามที่กำหนด

3. อาการบาดเจ็บที่หูส่วนกลาง ในขณะที่ดำน้ำลึกลงไปเรื่อยๆแรงกดในรูหูจะเพิ่มขึ้นจนไปดันที่แก้วหู ถ้าร่างกายปรับตัวเองไม่ทัน แก้วหูก็จะถูกดันจนแตกได้ หรืออาจมีเลือดออกในหูส่วนกลางด้วย สังเกตได้จากอาการปวดหู หูอื้อ คลื่นไส้ และรู้สึกวิงเวียน อย่างน้อยการได้รับรู้ในเรื่องอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการดำน้ำ ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ฝึกต้องระมัดระวัง และเตรียมพร้อมเสมอในการทำกิจกรรมที่ต้องเสี่ยงมากกว่าภาวะปกติ

โรคที่เกิดกับคนรักการดำน้ำ หากไม่ระวังอาจถึงตาย

การป้องกัน ผู้ที่จะดำน้ำต้องปฎิบัติดังนี้

1.ต้องมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์

2. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการดำน้ำ ยิ่งถ้าดำน้ำด้วยอุปกรณ์การดำ จะต้องมีผู้มีความรู้และมีประสบการณ์เป็นผู้ควบคุมอยู่ด้วย และต้องปฎิบัติตามตารางการดำน้ำอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการดำน้ำหลายครั้งในหนึ่งวัน

3 .การดำน้ำลึกๆจะต้องมีการวางแผนรองรับ ถ้าเกิดโรคจากการดำน้ำจะต้องมีการปฐมพยาบาลโดยถูกวิธี และเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมายังโรงพยาบาลที่มีห้องปรับบรรยากาศ โดยด่วนที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะยิ่งผู้ป่วยได้รับการรักษาได้รวดเร็วเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยหายเร็วเป็นปกติเท่านั้น ความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมายังห้องปรับบรรยากาศอาจทำให้ผู้ป่วยพิการหรือเสียชีวิตได้

4 .หลังการดำน้ำ ควรพักผ่อนเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนการเดินทางโดยสารเครื่องบิน เพื่อความปลอดภัยจากโรคที่อาจจะเกิดจากการดำน้ำ

โรคที่เกิดกับคนรักการดำน้ำ หากไม่ระวังอาจถึงตาย