svasdssvasds

“ดวงจันทร์สีแดงอิฐ” จันทรุปราคาเต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี ห้ามพลาด 28 ก.ค.

“ดวงจันทร์สีแดงอิฐ”  จันทรุปราคาเต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี ห้ามพลาด 28 ก.ค.

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยเทคนิคถ่ายภาพจันทรุปราคาเต็มดวง ยาวนานที่สุดในรอบศตวรรษ หลังเที่ยงคืน 27 กรกฎาคม 2561 แนะคุมความเร็วชัตเตอร์เหมาะสม ปรับรูรับแสงกว้าง ใช้ขาตั้งกล้อง เหตุความสว่างของดวงจันทร์ลดลงมาก พร้อมเชิญชวนส่งภาพถ่ายร่วมประกวด หัวข้อ มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ ก่อนหมดเขตส่งผลงาน สิงหาคม 2561 ชิงรางวัลรวม 160,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

“ดวงจันทร์สีแดงอิฐ”  จันทรุปราคาเต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี ห้ามพลาด 28 ก.ค.

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดรกล่าวว่า หลังเที่ยงคืนวันที่ 27 กรกฎาคม 2561 จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ครั้งที่ ของปี 2561 ความน่าสนใจของปรากฏการณ์ครั้งนี้คือ เป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่มีคราสเต็มดวงยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 เริ่มตั้งแต่เวลา 02.30 - 04.13 น. (ตามเวลาประเทศไทย) รวมเวลาถึง ชั่วโมง 43 นาที และยังตรงกับช่วงดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่าง 406,086 กิโลเมตร นอกจากนี้ คืนดังกล่าวดาวอังคารยังอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ จึงเป็นโอกาสพิเศษที่ผู้ชื่นชอบถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าจะสามารถบันทึกภาพ ดาวอังคารสีแดง เคียงดวงจันทร์สีแดง รวมทั้งถ่ายภาพจันทรุปราคาเต็มดวง ที่ตำแหน่งดวงจันทร์ไกลโลกที่สุดในรอบปี เปรียบเทียบกับจันทรุปราคาเต็มดวง ที่ตำแหน่งดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 ก็จะได้ภาพเปรียบเทียบ Super Full Moon  กับ Micro Moon เป็นภาพดวงจันทร์เต็มดวงสีแดงอิฐที่สวยงาม แตกต่างจากทุกปีที่ผ่านมา

 เทคนิคการถ่ายภาพจันทรุปราคาเต็มดวง คล้ายกับการถ่ายภาพดวงจันทร์เต็มดวงทั่วไป แต่ต่างกันที่ช่วงที่เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ความสว่างของดวงจันทร์จะลดลงมาก จึงต้องควบคุมความเร็วชัตเตอร์ และเร่งความไวแสงของกล้องถ่ายภาพให้เหมาะสมที่สุด ปรับรูรับแสงให้กว้าง ไม่ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำเกินไปเพื่อกันภาพสั่นไหวหรือไม่ทำให้ภาพดวงจันทร์เบลอ ใช้ขาตั้งกล้องที่มั่นคง และเลือกโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง นอกจากนี้ หากใช้เลนส์เทเลโฟโตจะสามารถเก็บรายละเอียดพื้นผิวดวงจันทร์อย่างชัดเจน

[gallery columns="1" link="file" size="full" ids="312045,312046"]

ในคืนดังกล่าว สามารถถ่ายภาพปรากฏการณ์ได้ตั้งแต่เริ่มเกิดจันทรุปราคาเงามัว ในเวลา 00.14 ก่อนจะเกิดจันทรุปราคาบางส่วนและจันทรุปราคาเต็มดวง ในเวลา 02.30 – 04.13 น. จนกระทั่งสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 05.19 . หลังจากนั้นดวงจันทร์ตกลับขอบฟ้า จะไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เนื่องจากดวงจันทร์อยู่ตำแหน่งต่ำกว่าขอบฟ้า

การถ่ายภาพปรากฏการณ์จันทรุปราคาสามารถสร้างสรรค์ได้หลากหลายแนวคิด ไม่จำกัดเฉพาะถ่ายปรากฏการณ์จันทรุปราคาแบบเต็มดวงเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถถ่ายภาพแบบเปรียบเทียบดวงจันทร์ขณะเกิดปรากฏการณ์กับขนาดวัตถุบนโลก ส่วนผู้ที่ใช้เลนส์กำลังขยายต่ำก็อาจถ่ายเป็นชุดปรากฏการณ์ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ถ่ายภาพในพื้นที่ไร้แสงไฟรบกวนอาจถ่ายปรากฏการณ์จันทรุปราคากับใจกลางทางช้างเผือกได้อีกด้วย

พร้อมกันนี้ขอเชิญชวนส่งผลงานภาพร่วมประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ประจำปี 2561 หัวข้อ มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ถึงวันที่ สิงหาคม 2561 ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 160,000 บาท และโล่เกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ www.narit.or.th สอบถามเพิ่มเติมโทร. 053-121268-9 ต่อ 305.