svasdssvasds

"อุ่ย มือกู้ระเบิด" ชำแหละแผน โดรนติดระเบิดลอบสังหาร ทำได้จริงหรือ?

"อุ่ย มือกู้ระเบิด" ชำแหละแผน โดรนติดระเบิดลอบสังหาร ทำได้จริงหรือ?

รองผู้การฯ 191 วิเคราะห์แผนโดรนติดระเบิด หวังลอบสังหารประธานาธิบดีเวเนซุเอลา เชื่อมีความเป็นไปได้ เหตุเทคโนโลยีพัฒนาศักยภาพโดรนไปไกล แต่ยืนยัน ไทยมีแผนเผชิญเหตุ ป้องกันแน่นหนา ระเบียบเข้ม ขอประชาชนมั่นใจ ไม่ต้องกังวล

เหตุระทึกขวัญขึ้นในพิธีสวนสนามฉลองครบรอบ 81 ปี กองกำลังป้องกันมาตุภูมิ ในกรุงการากัส เมืองหลวงของประเทศเวเนซุเอลา เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2561 ถูกเปิดเผยโดยนายฮอร์เก โรดริเกซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสาร ประเทศเวเนซูเอลา ว่าขณะที่ นายนิโคลัส มาดูโร ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา กำลังยืนกล่าวปราศรัย ได้มีโดรนติดระเบิด 2 ตัว บินเข้ามาเหนือเวที และเกิดระเบิดขึ้น ไม่ไกลจากจุดที่เขาและคณะรัฐมนตรียืนอยู่ ภาพและคลิปวิดีโอได้เผยให้เห็นความวุ่นวายหลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและทหาร รีบนำแผ่นผ้าใบป้องกันกระสุนมาบังผู้นำเอาไว้

"อุ่ย มือกู้ระเบิด" ชำแหละแผน โดรนติดระเบิดลอบสังหาร ทำได้จริงหรือ?

เหตุการณ์นี้ประธานาธิบดีมาดูโรและคณะรัฐมนตรี ไม่ได้รับอันตรายจากเหตุดังกล่าว แต่มีทหารได้รับบาดเจ็บ 7 นาย และมีหลายคนถูกจับกุมแล้ว หลังเกิดเหตุ นายมาดูโรได้ออกมาประณามการกระทำครั้งนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์เดอะการ์เดี้ยน ระบุว่า นายมาดูโรกล่าวหาว่า นายฮวน มานูเอล ซานโตส ประธานาธิบดีโคลอมเบีย ต้องการลอบสังหารเขา และประกาศอย่างมั่นใจมากว่า โคลอมเบีย สหรัฐอเมริกา รวมทั้งกลุ่มหัวรุนแรงของเวเนซุเอลา เป็นตัวการชักใยอยู่เบื้องหลังการเล่นสกปรกดังกล่าว ก่อนหน้านี้เขาก็เคยออกมากล่าวโจมตีสหรัฐฯ ว่าพยายามลอบสังหารเขา แต่ก็ไม่มีหลักฐานใด ๆ มายืนยันข้อกล่าวหานั้น ขณะที่รัฐบาลโคลอมเบียก็ได้ออกมาปฏิเสธ

"อุ่ย มือกู้ระเบิด" ชำแหละแผน โดรนติดระเบิดลอบสังหาร ทำได้จริงหรือ?

พ.ต.อ.กำธร อุ่ยเจริญ รอง ผบก.สปพ.หรือ 191 ซึ่งเป็นนักเก็บกู้วัตถุระเบิดฝีมือดีจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่าเหตุการณ์นี้มีความเป็นไปได้สูง เพราะปัจจุบันการพัฒนาโดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับ สามารถบินได้ระยะทางที่ไกลขึ้น อีกทั้งยังมีขีดความสามารถในการยกสิ่งของที่มีน้ำหนักได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นการที่ผู้ไม่หวังดี จะนำเทคโนโลยี ที่ทันสมัย มาเป็นเครื่องมือสังหาร ด้วยการติดระเบิดเข้ากับโดรน ก็สามารถทำได้ไม่ยาก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเป้าหมายที่จะลงมือก่อเหตุต้องชัดเจน และยิ่งเป็นเป้าหมายที่ไม่มีการเคลื่อนไหว จะง่ายต่อการลอบโจมตี

"อุ่ย มือกู้ระเบิด" ชำแหละแผน โดรนติดระเบิดลอบสังหาร ทำได้จริงหรือ?

การลอบสังหารจะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญคือ ตำแหน่งของเป้าหมายที่จะโจมตี หากเป็นเป้าหมายที่อยู่ในระยะสายตา หรือ 2 กิโลเมตร จากคนบังคับ จะทำให้มองเห็นการเคลื่อนไหว แต่วิธีนี้ก็มีความเสี่ยงต่อการถูกจับได้ เมื่อภารกิจผิดพลาดหรือเป้าหมายไหวตัวทัน พ.ต.อ.กำธร จึงสันนิษฐานว่าเหตุโจมตี ที่ประเทศเวเนซุเอลา มีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ก่อเหตุ จะเลือกใช้วิธีล็อคเป้าหมาย ด้วยระบบนำทางด้วย GPS เพราะพิธีสวนสนามประธานในพิธี ซึ่งเป็นเป้าสังหาร จะถูกกำหนดให้อยู่ในจุดที่จัดเตรียมไว้แล้วสำหรับพิธีการ สวนสนามทางทหาร ส่วนสาเหตุที่ระเบิดพลาดเป้าอาจจะเป็นเพราะตึกสูงที่อยู่โดยรอบ ทำให้โดรนที่ติดตั้งระเบิดบินไปกระแทกกับตัวอาคารจนเกิดเหตุ ซึ่งนี่เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน ซึ่งข้อเท็จจริงทางการเวเนซูเอลา ยังอยู่ระหว่างการสอบสวน

"อุ่ย มือกู้ระเบิด" ชำแหละแผน โดรนติดระเบิดลอบสังหาร ทำได้จริงหรือ?

การเลือกใช้ระเบิดในการทำภารกิจลอบโจมตี หรือ ลอบสังหาร สามารถเลือกใช้ได้ทั้งระเบิดแบบมาตรฐานที่ใช้ในราชการสงคราม และ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นระเบิด C4 และ TNT หรือจะเป็นระเบิดแสวงเครื่อง ที่ผู้ก่อเหตุประกอบขึ้นเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นระเบิดที่มีส่วนผสมของแอนโฟ ( ANFO)ซึ่งย่อจาก ammonium nitrate/fuel oil อันเป็นส่วนผสมระหว่างสารแอมโนเนียมไนเตรตและน้ำมันเชื้อเพลิง มักจะเป็นน้ำมันดีเซล เป็นระเบิดที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการทำเหมือง และการก่อสร้างต่างๆ โดยทั่วไปจะถือว่าแอนโฟเป็นระเบิดแรงสูง ต้องมีตัวส่งกำลัง เพราะมันมีความไวค่อนข้างต่ำไม่เหมือนกับระเบิดแบบมาตรฐาน

"อุ่ย มือกู้ระเบิด" ชำแหละแผน โดรนติดระเบิดลอบสังหาร ทำได้จริงหรือ?

การจะเลือกใช้ระเบิดชนิดใดนั้น ขึ้นอยู่กับสมรรถนะของโดรนว่าจะสามารถยกสิ่งของได้มากน้อยเพียงใด หากเป็นโดรนที่มีแรงยกสูง และสามารถทำการบินได้ไกล เมื่อถูกนำมาประกอบกับระเบิดจะเป็นเครื่องมือสังหารที่น่ากลัว เพราะการกำหนดให้ระเบิดทำงานทำได้หลายวิธี ทั้งการตั้งกลไกปล่อยระเบิดหล่นลงมากระแทกพื้นเพื่อทำลายเป้าหมาย หรือ จะเป็นการใช้โดรนที่ประกอบระเบิดพุ่งเข้าชนเป้าหมาย หรือแม้กระทั้งการสั่งการระเบิดด้วยรีโมทควบคุมระยะไกล แต่วิธีนี้ไม่น่าจะได้รับความนิยมเพราะเมื่อโดรนหรืออากาศยาน ถูกตรวจพบ แล้วถูกเครื่องแอนตี้โดรน ยิงทำลาย ระเบิดอาจจะไม่ทำงาน ซึ่งผิดกับการตั้งระเบิดด้วยการกระแทก ที่ไม่ซับซ้อน และอาศัยกลไกไม่มาก อีกทั้งหากถูกฝ่ายตรงข้ามตรวจพบ แล้วพยายามสกัดกั้น ก็ไม่สามารถหยุดการระเบิดได้

"อุ่ย มือกู้ระเบิด" ชำแหละแผน โดรนติดระเบิดลอบสังหาร ทำได้จริงหรือ?

พ.ต.อ.กำธร กล่าวอีกว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเวเนซูเอล่า ยังอยู่ระหว่างการสอบสวน จึงไม่อยากให้คนไทยตื่นกลัว เพราะประเทศไทยไม่ใช่พื้นที่เคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความรุนแรง อีกทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีมาตรฐานป้องกันเหตุการณ์ในลักษณะนี้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการจัดระเบียบอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน รวมถึงการกำหนดพื้นที่ปลอดภัย โดยแยกเป็น 3 ระยะ คือ วงนอก ที่รัศมี 5 กิโลเมตร วงกลางที่รัศมี 3 กิโลเมตร และวงในซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมขั้นสูงสุดคือ รัศมี 1 กิโเลเมตร อีกทั้งยังมีอุปกรณ์พิเศษ และแผนเผชิญเหตุฉุกเฉินอีกหลายมาตรการที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ จึงขอให้ประชาชนคนไทย และนักท่องเที่ยวมั่นใจในแผนการรักษาความปลอดภัยของทางการไทย ว่าจะสามารถดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้เป็นอย่างดี

related