svasdssvasds

เปิดชีวิตแม่...หลังกำแพงคุก

เปิดชีวิตแม่...หลังกำแพงคุก

การอุ้มท้องเด็กหนึ่งคนไม่ใช่เรื่องง่าย และเมื่อต้องถูกจองจำในคุก พร้อมอุ้มท้องไปด้วยยิ่งมีความยากเป็นทวีคูณ แต่ทัณฑสถานหญิงก็ไม่เคยละเลย คอยดูแล จนกระทั่งคลอดและเปิดโอกาสให้ แม่ได้เลี้ยงลูกระหว่างถูกจองจำไปด้วย

12 สิงหาคม ของทุกปียังคงถูกกำหนดให้เป็นวันแม่แห่งชาติ ซึ่งกิจกรรมในวันแม่แห่งชาตินี้ หน่วยงานราชการ องค์กรต่างๆรวมไปถึงภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ต่างมีกิจกรรมเฉลิมฉลองและรำลึกถึงพระคุณของแม่ กันหลากหลายรูปแบบ แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งของสังคมที่หลายคนอาจจะลืมนึกถึง คือนักโทษหญิง ที่พวกเธอหลายคนคือแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกอยู่หลังกำแพงเรือนจำ ยิ่งไปกว่านั้น มีนักโทษหญิง ที่ต้องอุ้มท้อง คลอด และเลี้ยงลูกในคุก สภาวะที่นำมาซึ่งคำถามมากมาย ตั้งแต่มาตรฐานการดูแลสุขภาพแม่ในเรือนจำ การคลอดจะได้มาตรฐานหรือไม และที่สำคัญ เด็กควรอยู่กับแม่ในเรือนจำหรือไม่ และเด็กจะอยู่ถึงเมื่อไหร่

ทัณฑสถานหญิงธนบุรี เป็นหนึ่งในเรือนจำสังกัดกรมราชทัณฑ์ ที่ควบคุมนักโทษและผู้ต้องขังหญิง ที่โทษไม่เกิน 10 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดียาเสพติด ปัจจุบันนี้นักโทษหญิงทั้งหมด 1,282 ราย มีแม่และเด็ก 2 ราย เป็นเด็กผู้หญิงทั้ง 2 ราย ขณะเดียวกันยังมีนักโทษหญิงตั้งครรภ์อีก 10 ราย นั่นหมายความว่าจะมีเด็กอีก 10 ราย ที่ต้องคลอดในคุก จึงกลายเป็นคำถามที่ว่า คลอดในคุก มีมาตรฐานแค่ไหน?

เปิดชีวิตแม่...หลังกำแพงคุก

นางวรรณดี บัวภา ผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงธนบุรี กล่าวกับทีมข่าวสปริงนิวส์ ว่าเมื่อมีผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์ ถูกศาลสั่งให้ถูกควบคุมตัวในเรือนจำ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์หญิง จะทำการตรวจปัสสาวะเพื่อประเมินภาวะตั้งครรภ์ซ้ำทุกราย โดยตลอดระยะเวลาที่ผู้ต้องขังถูกควบคุมตัว จะได้รับการตรวจครรภ์เบื้องต้นโดยพยาบาลวิชาชีพตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ จากนั้นผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์จะได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางสูตินารีเวช โรงพยาบาลสมุทรสาคร ขณะอยู่ในเรือนจำผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์จะมีห้องเฉพาะและมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อเฝ้าระวังภาวะผิดปกติ และได้รับการอบรมหลักสูตรตั้งครรภ์คุณภาพและการเตรียมความพร้อมก่อนการเป็นมารดา ซึ่งในส่วนนี้ทางกรมราชทัณฑ์มีงบประมาณจัดสรรสวัสดิการให้แก่ผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์ สำหรับซื้อเครื่องใช้อุปโภคบริโภค มีสวัสดิการนมแอนลีนเพื่อบำรุงครรภ์จนกระทั่งคลอดบุตร

เปิดชีวิตแม่...หลังกำแพงคุก

ซึ่งทางทัณฑสถานหญิงธนบุรี จะมีพยาบาลวิชาชีพประจำทัณฑสถานฯ 24 ชั่วโมง ผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดจะได้รับการประเมินจากพยาบาลวิชาชีพก่อนนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการคลอดนอกเรือนจำทุกราย เพื่อความปลอดภัยของแม่และเด็ก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือข้อกฎหมายและความเชื่อตามกฎหมายการะบุสถานที่เกิดของเด็กในใบสูติบัตร จะถือสถานที่ตัดสายสะดือเป็นสถานที่เกิด

เมื่อคลอดลูกออกมาแล้วทัณฑสถานหญิงธนบุรีมีห้องเลี้ยงเด็กในโครงการกำลังใจ ในพระดำริ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา สามารถให้ผู้ต้องขังหญิงหลังที่เป็นมารดาเลี้ยงดูบุตรได้อย่างใกล้ชิด ผู้ต้องขังหญิงที่เป็นมารดาจะได้รับการอบรมหลังสูตรการเลี้ยงดูบุตรอย่างมีคุณภาพ โดยมีพี่เลี้ยงคอยดูแล ให้ความช่วยเหลือในการเลี้ยงดูบุตร และมีพยาบาลวิชาชีพคอยให้คำแนะนำและการส่งเสริมพัฒนาการเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรอย่างใกล้ชิด มีแพทย์เข้าตรวจประจำทุกวันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ นอกจากนี้กรมราชทัณฑ์ยังสนับสนุนงบประมาณสำหรับเด็กติดผู้ต้องขังเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค ซี่งทางทัณฑสถานหญิงธนบุรีจะแนะนำให้มารดาเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่จนกระทั้ง อายุ 6 เดือน หลังจากนั้นทางเรือนจำจะสนับสนุนอาหารเสริม ได้แก่นมผง อาหารเสริมต่างๆ ตามโภชนาการให้เด็กติดผู้ต้องขังทุกราย

เปิดชีวิตแม่...หลังกำแพงคุก

ตามกฎหมายของกรมราชทัณฑ์ ให้เด็กติดผู้ต้องขังอาศัยอยู่กับมารดาได้จนกระทั่งอายุ 3 ขวบ แต่ทางทัณฑสถานหญิงธนบุรีเห็นความสำคัญของพัฒนาการและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและป้องกันพฤติกรรมการลอกเลียนแบบ จึงประสานญาติให้มาอุปการะเด็กเพื่อออกไปเลี้ยงดูภายนอกทัณฑสถานฯตั้งแต่อายุ 1 ขวบ เพราะเด็กอายุหลัง 1 ขวบจะเริ่มจดจำสภาพแวดล้อม พฤติกรรมของผู้ดูแล ซึ่งหากปล่อยให้เด็กอยู่ในเรือนจำจนครบ 3 ขวบตามที่กฎหมายกำหนด อาจจะส่งผลเสียต่อตัวเด็กทั้งเรื่องการพัฒนาการของเด็ก และพฤติกรรม

เปิดชีวิตแม่...หลังกำแพงคุก

นางวรรณดี กล่าวอีกว่า กรมราชทัณฑ์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก “โครงการกำลังใจ” ในพระดำริของพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาฯ ในการดูแลผู้ต้องขังหญิงตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ (Bongkok Rules) โดยกำหนดให้ผู้ต้องขังจะต้องได้รับการติดต่อเยี่ยมเยียนจากญาติโดยได้รับการเยี่ยมญาติได้ทุกวัน ญาติที่จะเข้าเยี่ยมต้องแจ้งรายชื่อไว้ 10 คน แต่จะเข้าเยี่ยมได้จำนวน 5 คน ต่อครั้ง ตามที่แจ้งชื่อไว้ ต้องได้รับการเยี่ยมญาติ กรณีพิเศษแบบใกล้ชิด โดยปกติจะได้รับการเยี่ยมเยียนกรณีพิเศษได้ ปีละ 4 ครั้ง ในโอกาสสำคัญ เช่น เทศกาลวันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันแม่(ช่วงเดือนสิงหาคม) วันพ่อ(ช่วงเดือนธันวาคม) และอาจจะมีกรณีพิเศษ เช่น การเข้ารับการอบรมสัคคสาสมาธิ การอบรมเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย ฯลฯ ผู้ต้องขังเข้าร่วมโครงการดังกล่าวจะได้รับการเยี่ยมญาติใกล้ชิดกรณีพิเศษเพิ่มขึ้นอีก เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเข้ารับการอบรม และการตั้งใจในการศึกษาอบรม สำหรับผู้ต้องขังที่มีบุตรอยู่กับญาติภายนอกทัณฑสถานฯ ญาติสามารถยื่นคำร้องให้บุตรเข้าเยี่ยมมารดาภายในทัณฑสถานได้เดือนละ 1 ครั้ง

เปิดชีวิตแม่...หลังกำแพงคุก

สำหรับ ผู้ต้องขังต่างชาติที่กระทำผิด และศาลตัดสินให้ถูกคุมตัวในทัณฑสถานหญิงธนบุรี จะได้รับการดุแล เช่น เดียวกับผู้ต้องขังทั่วไป โดยจะมีคู่มือการปฎิบัติตนในเรือนจำเป็นภาษาต่างๆ 5 ภาษา ได้แก่ พม่า เขมร ลาว เวียดนาม และภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้ต้องขังต่างชาติได้ศึกษาในเรื่องการปฎิบัติตนในเรือนจำให้ถูกต้องตามกฎ ระเบียบ ของเรือนจำ นอกจากนี้ทางทัณฑสถานหญิงธนบุรี ยังนำผู้ต้องขังทำงานจิตอาสา ภายนอกทัณฑสถาน เมื่อผุ้ต้องขังพ้นการอบรมต่างๆ เช่น ลูกเสือ ยุวกาชาด การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย ทัณฑสถานมีนโยบายนำผู้ต้องขังออกทำงานจิตอาสา เพื่อสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม หรือทำงานเพื่อสังคม เช่น การนำผุ้ต้องขังออกทำงานลอกคลลอง เก็บผักตบชวาในชุมชนคลองลัดมะยม และหรือออกไปทำความสะอาดห้องสมุดชุมชนเป็นประจำทุกเดือน

นำผู้ต้องขังออกทำความสะอาดวัดใกล้ทัณฑสถานฯ นำผู้ต้องขังที่มีฝีมือการนวดดัดจัดสะรีระไปให้บริการแก่ชุมชน หรือหน่วยงานภายนอก เช่น โรงเรียน ศาล และสถานที่จัดการแข่งขัน เดิน-วิ่งการกุศลต่างๆ เป็นการเผยแร่การฝึกอาชีพของทัณฑสถานฯ และเป้นการสร้างความมั่นใจในอาชีพให้กับผู้ต้องขังที่สังคมให้การยอมรับ แต่สิ่งที่ได้ผลตอบรับมากที่สุดคือ การนำผุ้ต้องขังไปสร้างนันทนาการให้กับ สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค และการดูแลผู้ป่วยนอนติดเตียง เพื่อสร้างจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคม และประการสำคัญที่จะสร้างให้ผู้ต้องขังเกิดจิตสำนึกที่จะกลับไปดูแลรับผิดชอบครอบครัวด้วย

เปิดชีวิตแม่...หลังกำแพงคุก

ผู้ต้องขังหญิง เมื่อเหลือโทษ 1-2 ปี จะได้รับการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย โดยจะดูจากความต้องการ ความถนัดทางอาชีพ เพื่อนำไปประกอบอาชีพได้ภายหลังการพ้นโทษ โดยจะได้รับความร่วมมือจากหน่ยวงานภายนอก เช่น สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ได้จัดหลักสูตรการวางแผนเบื้องต้น ให้ผู้ต้องขังมีความรู้ในการวางแผนธุรกิจทางอาชีพ รวมทั้งกรมราชทัณฑ์ได้มอบทุนประกอบอาชีพจากนายแพทย์ประเสริฐ ประสาททองโอสถ เพื่อมอบทุนประกอบอาชีพให้กับผู้ต้องขังที่มีความสนใจและตั้งใจในการประกอบอาชีพ ซึ่งในปี 2561 ทางทัณฑสถานหญิงธนบุรี ได้รับทุนประกอบอาชีพให้กับผู้ต้องขังหญิง รวม 9 คน เป็นจำนวนเงิน 250,000 บาทถ้วน

related