svasdssvasds

สทนช. เร่งพร่องน้ำ 4 เขื่อนใหญ่ ไหลเข้าอ่างสูงต่อเนื่อง

สทนช. เร่งพร่องน้ำ 4 เขื่อนใหญ่ ไหลเข้าอ่างสูงต่อเนื่อง

ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) เตือนสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ มี 4 แห่ง ประกอบด้วย

4 เขื่อนใหญ่น้ำล้น จับตา 2 แห่งน้ำขึ้นเร็ว เฝ้าระวัง 58 อ่าง

ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เตือนสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ มี 4 แห่ง ประกอบด้วย

1.เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี มีน้ำ 751 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 106 % น้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway) สูง 91 ซม. คาดว่าในสัปดาห์นี้ปริมาณฝนจะตกมากขึ้น จึงต้องเร่งพร่องน้ำและจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

2. เขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร มีน้ำ 531 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 102 % ให้เร่งพร่องน้ำ ให้เต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อน

3. เขื่อนวชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี มีน้ำ 7,878 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 89 % น้ำไหลเข้าวันละ 103.70 ล้าน ลบ.ม. ไหลออกวันละ 41.19 ล้าน ลบ.ม. โดยเพิ่มระบายน้ำ วันที่ 23-27 ส.ค. 61 จะปรับการระบายน้ำเป็นวันละ 53 ล้านลบ.ม. จากเดิม 43ล้านลบ.ม. ดังนั้นจึงขอแจ้งเตือนพื้นที่ท้ายเขื่อนตามลำน้ำแควน้อยให้ทราบถึงแผนการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำ

4. เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีน้ำ 194 ล้านลบ.ม. เป็น 86 % น้ำไหลผ่านทางระบายน้ำล้นสูง 49 ซม. เพิ่มจากเมื่อวาน 30 ซม. ต้องเร่งพร่องน้ำ ให้เต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำจากอิทธิพลของฝนที่ตกเหนือเขื่อน

ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และกลาง ที่มีปริมาณน้ำในอ่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจำนวน 2 แห่ง คือ

1. เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฏร์ธานี มีน้ำ 4,884 ล้านลบ.ม. 87% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 23.60 น้ำไหลออกวันละ 19.81 ล้าน ลบ.ม.เร่งพร่องน้ำให้เต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำ โดยปรับแผนการระบายน้ำเป็นวันละ25 ล้าน ลบ.ม. ตั้งแต่วันนี้เพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนโดยประสานจังหวัด และพื้นที่

2. อ่างเก็บน้ำคิรีธาร จ.จันทบุรี มีน้ำ 75 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 99% ปริมาณน้ำที่ระบาย 0.66 ล้าน ลบ.ม.ระดับน้ำอยู่ที่ 204.9 ม.รทก.การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ ติดตามสถานการณ์ด้านท้ายน้ำอย่างใกล้ชิดเพื่อการปรับเพิ่ม ลดการระบาย

นอกจากนั้นยังมี อ่างเฝ้าระวัง ขนาดกลาง 58 แห่ง แยกเป็น ภาคเหนือ 4 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 42 แห่ง ภาคตะวันออก 8 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่งและภาคใต้ 3 แห่ง

ขณะเดียวกัน ยังมีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมจากการระบายน้ำเขื่อนและฝนตกมาก เช่น แม่น้ำเพชรบุรี บริเวณ อ.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง ,อ.บ้านลาด, อ.เมือง และ อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ลำน้ำก่ำ ,ลำน้ำสงคราม และลำน้ำอูน แม่น้ำนครนายก ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีน้ำมาก และเกิดฝนตกในพื้นที่ โดยให้หน่วยงานเกี่ยวข้องจัดทำแผนการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำ ที่มีระดับน้ำสูงกว่าเกณฑ์ ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์จัดทำมาตรการ เตรียมความพร้อมลดความเสี่ยงอุทกภัย

related