svasdssvasds

ข้อแตกต่าง! ระหว่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับเก่า-ใหม่

ข้อแตกต่าง! ระหว่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับเก่า-ใหม่

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

พ.ร.บ.ยา

ข้อแตกต่าง! ระหว่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับเก่า-ใหม่

ประเด็นแรก เรื่อง การแบ่งประเภทยาตามร่าง มาตรา 4 ว่าด้วย นิยาม

ฉบับเดิม มีการกำหนดนิยามคำเดิม มี 4 ประเภท

-ยาอันตราย

-ยาควบคุมพิเศษ

-ยาสามัญ

-ยาแผนปัจจุบัน (ยาที่ไม่มีอันตราย)

ฉบับใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล โดยยึดหลักการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา จากการที่ยาทุกชนิดมีทั้งคุณและโทษ การใช้ยาตามหลักสากลส่วนใหญ่จึงแบ่งยา ประเภทยา จะมีเพียง 3 กลุ่ม คือ

-ยาควบคุมพิเศษ (ยาที่จ่ายตามใบสั่ง Prescription only)

-ยาอันตรายพิเศษ (ยาที่จ่ายโดยเภสัชกร Pharmacist only)

-ยาสามัญ ยาที่ประชาชนเลือกใช้ได้เอง (Self-medication) ซึ่งเป็นที่เข้าใจโดยง่ายของประชาชนในการได้มาซึ่งยารักษาโรค

ประเด็นที่ 2 ประเด็นนี้มีการถกเถียงกันในวงกว้างกัน และค่อนรุนแรง ถึงมีความไม่เหมาะสม !

บทบาทหน้าที่ของวิชาชีพเภสัชกรรมในการปรุงยาและจ่ายยาตามใบสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์

ร่างพ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ได้ให้อำนาจนี้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นไว้ในวงกว้าง ซึ่งเป็นที่มาของข้อขัดแย้งระหว่างวิชาชีพว่าด้วยการผลิตยาและการผลิตผสมยาให้ผู้ป่วยเป็นการเฉพาะราย

การที่ไม่ให้ผู้ประกอบวิชาชีพทุกวิชาชีพ นำยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับแล้วมาผสมใหม่ แม้จะผสมตามหลักวิชา แต่ยกเว้นให้ผสมได้เฉพาะกรณีการให้ยาในขณะดูแลรักษาผู้ป่วยเฉพาะรายของตน  เนื่องจากการนำยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับแล้วมาผสมใหม่ถือว่าเข้าข่ายการผลิต เกิดเป็น “ยาสูตรตำรับใหม่” ที่ตามหลักสากลต้องผ่านการตรวจสอบทั้งด้านประสิทธิผล ความปลอดภัยและคุณภาพอย่างเข้มงวดการผสมยา แบ่งบรรจุยา และผลิตยา ควรเป็นไปตามหลักวิชาเภสัชกรรม ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานและปลอดภัย การระบุให้วิชาชีพใดก็ได้สามารถทำหน้าที่ผสมยา แบ่งบรรจุยา และผลิตยาจึงส่งผลต่อความไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ยา

ผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ เกี่ยวกับยา

-แพทย์ จะเป็นผู้วิเคราะห์ วินิจฉัยอาการ และสั่งยา

-พยาบาล ดำเนินการสั่งยา

-เภสัชกร ดูแลเก็บยา จัดยาตามใบสั่งแพทย์ ร่วมวิเคราะห์การสั่งยา อธิบายยาให้ผู้ป่วยได้เข้าใจ

พ.ร.บ.ยาเดิม ผู้มีหน้าที่ในการจ่ายยา - เภสัชกร แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ (จ่ายยาสำหรับรักษาผู้ป่วยเฉพาะรายของตน)

พ.ร.บ.ยาใหม่ ผู้มีหน้าที่มีการจ่ายยา เพิ่มขึ้นมาจากเดิม -พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย

ก่อนหน้านี้ ภญ.ศิริรัตน์ ตันปิชาติ นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน กล่าวว่า การแก้ไข ร่าง พ.ร.บ. ยา ในครั้งนี้ ไม่คำนึงถึงหลักการ โดยเฉพาะเรื่องการให้บุคคลที่ไม่ใช่เภสัชกรเป็นผู้มีอำนาจในการจ่ายยา

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นอื่นๆ อีกที่ ทาง ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา หรือ กพย. มีข้อเสนอให้ ถอนร่างพระราชบัญญัติยา ฉบับใหม่ออก เช่น การกำหนดให้มีการจดแจ้งชีววัตถุหรือการจดแจ้งการโฆษณายา ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรจะมีการควบคุมที่เข้มงวด เพราะเป็นเรื่องที่มีความสุ่มเสี่ยงอย่างมาก ทั้งนี้กระบวนการจดแจ้งเป็นกระบวนการอนุญาตที่มุ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ แต่อาจก่อให้เกิดผลร้ายได้ อาทิ กรณีการจดแจ้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภคอย่างมากมายจนเป็นที่ทราบกันทั่วไป แต่เหตุใดจึงบัญญัติกฎหมายออกมาอย่างหละหลวมไม่มีความรัดกุม