svasdssvasds

ตามไปดู!! เรื่องเล่า “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” กิโลเมตรที่ 5 ของกทม.

ตามไปดู!! เรื่องเล่า “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” กิโลเมตรที่ 5  ของกทม.

มองหน้ากันไปมา!! ในการประชุมคณะกรรมการปรับปรุงพัฒนาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อต้นเดือนกันยายน 2561 ก็มึนงงกันไป เพราะไม่รู้ และไม่มีข้อสรุปยังไม่พบหน่วยงานไหน เป็น”เจ้าภาพ”

ต้นทางที่มาของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กลายเป็นประเด็นขึ้นมา เนื่องจาก กรุงเทพมหานคร ในฐานะดูแลภูมิทัศน์รอบนอกอนุสาวรีย์ แต่ภายในไม่มีความชัดเจนว่าหน่วยงานไหนฯ เป็นเจ้าของพื้นที่ แม้เดิมเป็นการเวนคืนของกรมทางหลวง แต่ล่วงเลยมาเกือบ 80 ปีไม่มีการเก็บหลักฐานไว้ชัดเจน

อีกทั้งปัจจุบันที่ตั้งของอนุสาวรีย์ชัยฯไม่ใช่ที่ดินราชพัสดุงบประมาณการดูแลส่วนหนึ่งมาจากเงินมูลนิธิและเงินรับบริจาคประกอบกับงบประมาณอีกส่วนที่รัฐบาลสนับสนุนทำให้ขาดความชัดเจนว่าองค์กรหรือหน่วยงานไหนจะเป็นคนดูแลพื้นที่ดังกล่าว

ตามไปดู!! เรื่องเล่า “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” กิโลเมตรที่ 5  ของกทม.

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิสร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส ซึ่งในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 59 คน ทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน พลเอกพระยาพหลพลพยุหาเสนา เป็นผู้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 และจอมพล ป.พิบูลสงคราม  เป็นผู้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2485 สถาปนิกผู้ออกแบบอนุสาวรีย์คือหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล ก่อนมีการสร้างวงเวียนอนุสาวรีย์ บริเวณจุดตัดของถนนพญาไท ถนนราชวิถี และถนนพหลโยธินนี้มีชื่อเรียกว่า สี่แยกสนามเป้า 

     อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอนุสาวรีย์ในกรุงเทพมหานคร โดยรอบเป็นวงเวียน อยู่กึ่งกลางระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี ถนนพหลโยธิน  ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 5.0 ถนนพหลโยธิน โดยที่ กม. 0 ของถนนพหลโยธินอยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งอยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร

ตามไปดู!! เรื่องเล่า “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” กิโลเมตรที่ 5  ของกทม.

     สำหรับการออกแบบอนุสาวรีย์ของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล มีแรงบันดาลใจมาจาก การปฏิบัติการของกองทัพทั้ง 5 นั่นคือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ตำรวจ และพลเรือน เป็นประติมากรรมที่ออกแบบใช้ดาบปลายปืน ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับหินอ่อน มีความสูงประมาณ 50 เมตร ดาบปลายปืนส่วนด้ามตั้งเหนือเพดานห้องโถงใหญ่ ซึ่งใช้เก็บกระสุนปืนใหญ่บรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสด้านนอกตอนโคนดาบปลายปืน มีรูปปั้นหล่อทองแดง ขนาดสองเท่าคนธรรมดา ของนักรบ 5 เหล่าทัพ

     ขณะที่ศิลปินผู้ปั้นรูปเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เช่น สิทธิเดช แสงหิรัญ, อนุจิตร แสงเดือน, พิมาน มูลประสุขแข่ม ขาวมีชื่อ ภายใต้การควบคุมของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีด้านนอกของผนังห้องโถง เป็นแผ่นทองแดงจารึกนามผู้เสียชีวิต รายนามผู้ที่ได้รับการจารึกไว้มีทั้งสิ้น 160 นาย เป็นทหารบก 94 นาย ทหารเรือ 41 นาย ทหารอากาศ 13 นาย และตำรวจสนาม 12 นาย จนถึงปัจจุบันแผ่นทองแดงจารึกรายนามผู้เสียชีวิต และผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงครามต่าง ๆ ตั้งแต่ พ.. 2483-.. 2497 รวมทั้งสิ้น 801 นายความสำคัญอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิยามค่ำคืนาติจากสงครามต่าง ๆ ตั้งแต่ ..2483 - 2497 รวมทั้งสิ้น 801 นาย

ตามไปดู!! เรื่องเล่า “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” กิโลเมตรที่ 5  ของกทม.

ตามไปดู!! เรื่องเล่า “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” กิโลเมตรที่ 5  ของกทม.

ตามไปดู!! เรื่องเล่า “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” กิโลเมตรที่ 5  ของกทม.

     ความสำคัญของอนุสรณ์สถานแห่งนี้ นอกจากเป็นที่จารึกรายนามทหารที่เสียชีวิต ทั้งจากกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส สงครามโลก ครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลีแล้ว ยังเป็นต้นทางของถนนพหลโยธิน รวมไปถึงศูนย์กลางการคมนาคมที่มีรถโดยสารให้บริการในหลายเส้นทาง เป็นจำนวนมาก ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า BTS และรถตู้ ผ่านตลอด 24 ชั่วโมง จุดเชื่อมต่อรถโดยสารทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด จึงทำให้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นชุมทางการคมนาคมที่สำคัญของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

ตามไปดู!! เรื่องเล่า “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” กิโลเมตรที่ 5  ของกทม.

ตามไปดู!! เรื่องเล่า “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” กิโลเมตรที่ 5  ของกทม.

ตามไปดู!! เรื่องเล่า “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” กิโลเมตรที่ 5  ของกทม.

 

related