svasdssvasds

ฟื้น“เพื่อธรรม”สำรอง”เพื่อไทย” แผน 2 เผื่อถูกยุบพรรครอบ 3

ฟื้น“เพื่อธรรม”สำรอง”เพื่อไทย” แผน 2 เผื่อถูกยุบพรรครอบ 3

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

แม้จะไม่ตรงกับกระแสข่าวก่อนหน้านี้ ที่มีการเตรียมแผน 2 รื้อฟื้นพรรคเพื่อธรรม สำรองไว้เผื่อพรรคเพื่อไทยถูกยุบ โดยที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ สามี”เจ๊แดง”เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ จะไปนั่งเป็นหัวหน้าพรรคเอง รอการผ่องถ่ายย้ายอดีต ส.ส.ในพรรค

แต่ถึงวันประชุมพรรคจริง ที่โรงแรมชียงใหม่ออร์คิด กลับกลายเป็นนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นคนไปนั่งตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน

[caption id="attachment_356588" align="aligncenter" width="1280"] ฟื้น“เพื่อธรรม”สำรอง”เพื่อไทย” แผน 2 เผื่อถูกยุบพรรครอบ 3 สมพงษ์ อมรวิวัฒน์[/caption]

เพราะโดยข้อเท็จจริง นายสมพงษ์ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน หลังจากพ้นโทษถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี กรณีพรรคพลังประชาชนที่เขาเป็นรองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคโดนคำสั่ง "ยุบพรรค" นายสมพงษ์ ก็กลับไปนั่งเก้าอี้ผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย สำหรับศึกเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557

เขาจึงเป็นหนึ่งในผู้อาวุโสในพรรค ที่แม้แต่ "เจ๊แดง" ยังต้องยำเกรงและขอคำปรึกษาเสมอมา

เมื่อครั้งตั้งพรรคไทยรักไทย นายทักษิณ ชินวัตร ก็ดึงนายสมพงษ์มาช่วยงานตั้งแต่ต้น ในฐานะผู้มีประสบการณ์การเมืองโชกโชน หลังเลือกตั้งปี 2544 นายทักษิณ ยังได้ตั้งนายสมพงษ์เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กระทั่งถึงปี 2548 ได้ตั้งเป็นผู้แทนการค้าไทย

หลังเลือกตั้งปี 2550 พรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นพรรครองรับ ส.ส.จากพรรคไทยรักไทย ยังคงมาแรง ชนะเลือกตั้ง นายสมัคร สุนทรเวช ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี นายสมพงษ์ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรม ปี 2551 และสมัยรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เขาได้เป็นรองนายกฯและรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งและถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี กรณีพรรคพลังประชาชนถูกยุบดังกล่าว

หากย้อนหลังกลับไป ก่อนหน้าพรรคไทยรักไทยจะจัดตั้งขึ้น นายสมพงษ์ ก็โลดแล่นอยู่บนเวทีการเมืองมานานกว่า 20 ปีแล้ว นับตั้งแต่สมัยพรรคชาติประชาธิปไตยของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ที่ตั้งขึ้นมาในปี 2525 เพื่อรองรับและเป็นแรงส่งให้เจ้าของตำรับ "แกงเขียวหวานใส่บรั่นดี" ขึ้นสู่เก้าอี้นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 โดยเขาเป็นหนี่งในกลุ่มผู้ก่อตั้ง เป็นกรรมการบริหารพรรค และรั้งตำแหน่งเลขาธิการพรรคถึง 3 สมัย ระหว่างนั้น ได้เป็นส.ส.ชลบุรี ครั้งแรกปี 2529 ก่อนย้ายไปลงสมัครที่ จ.เชียงใหม่ ได้เป็นส.ส.ปี 2531

ในปีเดียวกันนั้น หลังการยุบรวมพรรคเล็ก 3 พรรคเข้ากับพรรครวมไทย และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นพรรคเอกภาพ นายสมพงษ์เป็นรองหัวหน้าพรรค ก่อนได้เป็นรัฐมนตรีช่วยเกษตรฯ ครั้งแรกในอีก 2 ปีถัดมา หลังการรัฐประหารยึดอำนาจ "น้าชาติ" พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ปี 2534 โดยคณะ รสช. นายสมพงษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี 2535 ไปอยู่กับ พล.อ.ชาติชาย ซึ่งพยายามหนีกระแส "พรรคเทพ-พรรคมาร" หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ตั้งพรรคชาติพัฒนา ได้เป็นรองหัวหน้าพรรค และได้เป็นรัฐมนตรีอุตสาหกรรม จากนั้น ได้เป็นรัฐมนตรีอีกหลายกระทรวงเพราะเลือกถูกข้างมาตลอด รวมทั้งปี 2540 ที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ก็เป็นรัฐมนตรีช่วยฯคมนาคม

ช่วงปี 2535 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นช่วงที่เขามีบทบาทและถูกกล่าวขวัญถึงในแวดวงการเมืองอย่างมาก เมื่อได้ร่วมกับส.ส.กลุ่มหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพรรคชาติไทยกับพรรคชาติพัฒนา ตั้งกลุ่ม 16 ขึ้น เมื่อเดือนพฤศจิกายนปลายปี สาเหตุที่เรียกชื่อกลุ่ม 16 เพราะสมาชิกครั้งแรกมี 16 คน ในจำนวนนี้รวมทั้งนายเนวิน ชิดชอบ นายสุชาติ ตันเจริญ นายจำลอง ครุฑขุนทด นายธานี ยี่สาร โดยมีนายสมพงษ์ เป็นหัวหน้ากลุ่ม

ผลงานหนึ่งของกลุ่ม 16 คือการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2538 โดยเฉพาะเรื่องออกเอกสารสิทธิ์ สปก. 4-01 ให้กับระดับ "นายหัว" ในภูเก็ต กระทั่งต้องมีการตีความคำว่า "เกษตรกร" นายเนวินได้นำอภิปรายพร้อมข้อมูลประกอบที่ละเอียดละออ กระทั่งพรรคพลังธรรม ประกาศถอนตัวจากรัฐบาล และสุดท้าย รัฐบาลต้องประกาศยุบสภา หนีการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร ส่งผลให้คอการเมืองรู้จักกับชื่อ กลุ่ม 16 นับแต่นั้นมา

การฟื้นพรรคเพื่อธรรม แม้นายสมพงษ์จะยืนยันว่า ไม่ใช่พรรคนอมินีหรือพรรคสาขาของพรรคเพื่อไทย แต่คนวงในส่วนใหญ่ ไม่มีใครกล้าปฏิเสธอย่างเต็มปากเต็มคำในเรื่องนี้ เนื่องจากปัจจุบัน พรรคเพื่อไทยกำลังสุ่มเสี่ยงที่อาจจะถูกคำสั่ง "ยุบพรรค" ตามรอยไทยรักไทย และพลังประชาชน

ทั้งจากกรณี กกต.กำลังตรวจสอบการไลฟ์สดของนายทักษิณในวันงานเลี้ยงวันคล้ายวันเกิดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ผ่านมา ที่แสดงความมั่นใจพรรคเพื่อไทยจะชนะเลือกตั้ง และให้อดีต ส.ส.ที่อยากเป็น ส.ส.ต่อไป ให้ยังอยู่กับพรรค เข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 28-29 ที่ห้ามไม่ให้บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคควบคุมชี้นำพรรค ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม

ฟื้น“เพื่อธรรม”สำรอง”เพื่อไทย” แผน 2 เผื่อถูกยุบพรรครอบ 3

นอกจากนี้ ยังมีกรณี 8 แกนนำและผู้บริหารพรรค นำโดย พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รก.หัวหน้าพรรค และนายภูมิธรรม เวชยชัย รก.เลขาธิการพรรค ตั้งโต๊ะแถลงข่าวชำแหละครบรอบ 4 ปีการทำรัฐประหาร โดน คสช.แจ้งความดำเนินคดี 4 ข้อหาสำคัญ รวมทั้งฝ่าฝืนคำสั่งและประกาศ คสช. ห้ามรวมตัวทางการเมืองเกิน 5 คนและห้ามมิให้ดำเนินการใดๆทางการเมือง

ไม่เพียง 2 กรณีนี้เท่านั้น อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย 40 คน นำโดยนายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปรารการ ที่ลงชื่อยื่นเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในวาระแรก ก่อนนำไปสู่การแก้ไขปรับเปลี่ยนเป็นนิรโทษกรรมแบบสุดซอยในชั้นกรรมาธิการ ก็อยู่ระหว่างการพิจารณาชี้มูลความผิดของปปช.อีกหนึ่งกรณี

ความเสี่ยงของอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย คือหากกระบวนการพิจารณาชี้มูลความผิด เข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ และขัดต่อประกาศและคำสั่งของ คสช. ซึ่งจะนำไปสู่ขั้นตอนการยุบพรรค อาจทำให้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้สมัคร ส.ส. เนื่องจากต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ต่ำกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง

หากวันเลือกตั้ง ส.ส.ยังเป็นไปตามโรดแมปเดิม 24 กุมภาพันธ์ 2562 อดีต ส.ส.หรือผู้สนใจลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ต้องหาพรรคสังกัดให้ได้ ภายในช่วงต้นสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน 2561

พรรคเพื่อธรรม จึงอยู่ในสถานภาพ ที่อาจเป็นทางเลือกสำคัญ รองรับอดีต ส.ส.หรือว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ที่จะเข้ามาแทนที่อดีตส.ส.ส่วนหนึ่ง ที่โดนอิทธิฤทธิ์ "พลังดูด" ซึ่งก็มีเหตุมีผลเพียงพอ

เพราะหากไม่มีพรรคอะไหล่สำรองไว้ โดยธรรมชาตินักการเมือง อาจโผไปซบพรรคการเมืองอื่น เพื่อหาหลักประกันคุณสมบัติเบื้องต้นมีพรรคการเมืองสังกัดแน่ๆ แถมยังอาจได้ข้อเสนอที่มักมีเกิดขึ้นเป็นธรรมดาของการเมืองไทย แถมท้ายเป็นรางวัลติดไม้ติดมือ

ดีกว่าจะรอวัน "เฉาตาย" เพราะมองไปข้างหน้า หาความแน่นอนอะไรไม่มี

 

ประจักษ์ มะวงศ์สา

related