svasdssvasds

ยอมจ่ายมั้ย? เปิดตัวเลขค่า “ลงทะเบียนสัตว์” ในต่างประเทศ

ยอมจ่ายมั้ย? เปิดตัวเลขค่า “ลงทะเบียนสัตว์” ในต่างประเทศ

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

จากกรณีที่ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยจะต้องนำไปขึ้นทะเบียน มีค่าใช้จ่ายตัวละ 450 บาท หากเจ้าของไม่ดำเนินการตามกฎหมาย เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ เจ้าพนักงานท้องเถิ่นของรัฐ มีอำนาจเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 25,000 บาท

ในต่างประเทศหลายชาติ ก็มีกฎหมายให้ลงทะเบียนสัตว์เลี้ยงเช่นเดียวกัน

ประเทศเนเธอร์แลนด์ กำหนดให้สุนัขทุกตัวในประเทศต้องถูกขึ้นทะเบียน และมีการเรียกเก็บภาษีการถือครองสุนัขเป็นรายปี ซึ่งเจ้าของสุนัขทุกคนต้องจ่ายภาษีให้กับเขตเทศบาลหรือหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนเองอาศัยอยู่ โดยแต่ละพื้นที่ของ เนเธอร์แลนด์ จะมีการเรียกเก็บภาษีสุนัขในอัตราที่แตกต่างกัน สุนัขตัวแรก จ่าย 112.80 ยูโรต่อปี (ราว 4,274 บาท) ตัวที่ 2 จ่ายตัวละ 176.76 ยูโรต่อปี (ราว 6,700 บาท) และตัวที่ 3 จ่าย 224.16 ยูโรต่อปี (ราว 8,500 บาท) ยิ่งมีสุนัขในความดูแลมากเท่าไรยิ่งต้องเสียภาษีในราคาที่สูงมากขึ้น

ยอมจ่ายมั้ย? เปิดตัวเลขค่า “ลงทะเบียนสัตว์” ในต่างประเทศ

ประเทศไอร์แลนด์เหนือ ได้มีการออกกฎหมายบังคับว่า สุนัขและแมวทุกตัวจะต้องถูกขึ้นทะเบียนกับรัฐบาล และเจ้าของจะต้องจ่าย ค่าใบอนุญาตในการครอบครองสุนัขและแมวในอัตราตายตัวปีละ 12.50 ปอนด์สเตอร์ลิง หรือประมาณ 540 บาท

ประเทศเยอรมนี มีกฏหมายบังคับให้ผู้เลี้ยงสุนัขและแมว ต้องจ่ายเงินภาษีบำรุงท้องที่ให้กับเขตปกครองท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ ซึ่งแต่ละท้องที่จะเรียกเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกันออกไป อย่าง กรุงเบอร์ลิน เรียกเก็บภาษีผู้ครอบครองสุนัขและแมวตัวละ 140 ยูโรต่อปี หรือปีละ 5,300 บาท และหากมีมากกว่า 1 ตัว สุนัขและแมวตัวต่อไป จะถูกเรียกเก็บภาษีตัวละ 180 ยูโรต่อปี หรือราว 6,820 บาท

ประเทศนิวซีแลนด์ มีกฎข้อบังคับให้เจ้าของหรือผู้ดูแลนำสุนัขและแมวทุกตัวที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปมาขึ้นทะเบียน พร้อมฝังไมโครชิพ และติดป้ายแท็ก โดยจะมีการเปลี่ยนสีทุกปี ซึ่งไม่มีการเก็บภาษีสุนัขและแมว มีเพียงการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเล็กน้อยในการฝังไมโครชิพและลงทะเบียนเท่านั้น

ยอมจ่ายมั้ย? เปิดตัวเลขค่า “ลงทะเบียนสัตว์” ในต่างประเทศ

ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดเก็บภาษีจากสัตว์เลี้ยงแตกต่างกัน เช่น เมืองเดอร์แรม รัฐยนอร์ทแคโรไลน่า จะต้องเสียภาษีสัตว์เลี้ยงที่มีอายุ 4 เดือนขึ้นไป แต่มีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่ออัตราการเสียภาษี คือการทำหมัน หากทำหมันแล้ว จะเสียภาษี 10 เหรียญสหรัฐ หรือ 310 บาท แต่ถ้ายังไม่ทำหมัน จะต้องเสีย 75 เหรียญสหรัฐ หรือ 2,340 บาท ส่วนในรัฐอินเดียน่า กำหนดให้สุนัขอายุ 6 เดือนขึ้นไป เสียภาษีสูงสุดไม่เกิดตัวละ 5 เหรียญสหรัฐต่อปี หรือประมาณ 160 บาท

ประเทศสิงคโปร์ กำหนดอายุของผู้เลี้ยงและสมาชิกในครอบครัวต้องอายุ 18 ปีขึ้นไป และต้องแสดงเอกสารโฉลดที่ดิน ที่อยู่อาศัย เอกสารเสียภาษี หรือภาษีสัตว์เลี้ยง ซึ่งค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับอายุของสัตว์ ขณะที่การปล่อยสุนัขถ่ายเรี่ยราด มีโทษปรับ 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือราว 23,600 บาท การทอดทิ้งสัตว์เลี้ยง-ทารุณกรรมสัตว์ ปรับมากกว่า 10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือราว 230,000 บาท และจำคุก 1 ปี

ยอมจ่ายมั้ย? เปิดตัวเลขค่า “ลงทะเบียนสัตว์” ในต่างประเทศ

related