svasdssvasds

เปิดมาตรฐานสากล จัด “วิ่งมาราธอน” ดราม่า! ของ “แชริตี้ ชลบุรี มาราธอน” สอบตกทุกข้อ!!

เปิดมาตรฐานสากล จัด “วิ่งมาราธอน” ดราม่า! ของ “แชริตี้ ชลบุรี มาราธอน” สอบตกทุกข้อ!!

เสียงตำหนิมากมายดังลั่นในสื่อสังคมออนไลน์ หลังจบงานวิ่งรายการใหญ่ แชริตี้ ชลบุรี มาราธอน 2018 ที่จ.ชลบุรี พบว่าจัดไม่ได้มาตรฐาน ขาดการบริหารจัดการที่ดี โดยเฉพาะเรื่องน้ำดื่ม และเส้นทางการวิ่ง

ทั้งนี้การปล่อยตัวนักวิ่งที่เข้าร่วมการแข่งขัน มีการจัดครบทุกระยะ นั่นคือ ตั้งแต่ 5 กม., 10.5 กม. 21 กม. และ 42.195 กม. มีการปล่อยตัววิ่งที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ขณะดำเนินการแข่งขันนักวิ่งจำนวนมาก โพสต์ข้อความว่าพบการจัดงานไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ปล่อยให้น้ำดื่มหมด จนนักวิ่งไม่มีดื่ม บางช่วงไม่มีแก้วให้รินน้ำ เจ้าหน้าที่ใช้วิธีรินน้ำจากเหยือก หรือนักวิ่งเอามือมารองดื่ม บางจุดให้นักวิ่งใช้หลอดดูดน้ำ อีกทั้งเส้นทางวิ่งก็ไม่ปลอดภัย เพราะมีฝาท่อเปิดทิ้งไว้  เป็นเหตุให้นายภัครธรณ์เทียนไชยผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีต้องออกมาขอโทษ

ทั้งนี้ ข้อปฏิบัติที่ดีในการจัดกิจกรรมวิ่งประเภทถนน ที่กำหนดเป็นมาตรฐานสากล โดยสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ (International Asscociation of Athletics Federtiion : IAAF) ในฐานะองค์กรดูแลและพัฒนามาตรฐานการวิ่ง ซึ่งทางสมาพันธุ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีการจัดทำเป็นคู่มือปฏิบัติไว้

ระบุความสำคัญของการปฏิบัติที่ดีในการจัดกิจกรรรมวิ่งประเภทนี้ ไว้ 4 หมวดคือ 1. แนวคิดเบื้องต้น ซึ่งเป็นเป้าหมายขของการจัดกิจกรรม  2.การบริหารจัดการ 3.การวางแผนเส้นทางแข่งขันและองค์ประกอบในเส้นทาง 4.การแข่งขัน

สำหรับปัญหาการจัดวิ่งกิจกรรมแชริตี้ ชลบุรี มาราธอนนี้ พบความไม่พร้อมในการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐาน เฉพาะแค่ปัญหาจุดบริการน้ำมีรายละเอียดมากมายให้ต้องดำเนินการ 

ความสำคัญของน้ำดื่มกับการวิ่งแข่งขันมาราธอน

โดยจำเป็นต่อการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อ 

1. เป็นองค์ประกอบของเซลล์และช่วยหล่อเลี้ยงเซลล์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

2. ช่วยในปฏิกิริยาชีวเคมีและการสันดาปสารอาหารต่าง ๆ 

3. ช่วยลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ และระบายของเสียออกจากเซลล์ 

4. ช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกาย 

5. เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในระบบไหลเวียนเลือด 

ทั้งนี้ นพ.วิรุฬห์ เหล่าภัทรเกษตร แพทย์ด้านกีฬาเวชศาสตร์ ระบุว่า การสูญเสียเหงื่อและองค์ประกอบของเหงื่อในนักกีฬา ขณะออกกำลังกายจะมีความร้อนเกิดขึ้นภายในร่างกายอย่างมากจากกระบวนการเมตาบอลิซึ่มของเซลล์ ระหว่างที่ออกกำลังกายหนักปานกลาง (ร้อยละ 75 ของสมรรถภาพสูงสุด) จะมีความร้อนเกิดขึ้นประมาณ 1,000-1,500 กิโลแคลอรี่ ร้อยละ 80 ของความร้อนที่เกิดขึ้นนี้จะต้องระบายออกจากร่างกาย ในการระบายความร้อน 580 กิโลแคลอรี่ต้องอาศัยการระเหยของเหงื่อประมาณ 1 ลิตร ดังนั้น ในการออกกำลังกายดังกล่าว จะเสียเหงื่อถึง 1-2 ลิตรใน 1 ชั่วโมง 

เกลือแร่ที่สูญเสียออกไปพร้อมกับเหงื่อส่วนใหญ่จะเป็นโซเดียม อยู่ในรูปของสารละลายที่มีความเข้มข้นประมาณหนึ่งในสามของโซเดียมในพลาสมา จากการศึกษาพบว่านักกีฬาที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี การขับเหงื่อจะเกิดขึ้นเร็วและมีประสิทธิภาพดีขึ้น มีการสูญเสียโซเดียมไปกับเหงื่อน้อยกว่าคนปกติ การเสียเหงื่อในนักกีฬาส่วนใหญ่จึงเป็นการเสียน้ำมากกว่าโซเดียม นอกจากนี้ขณะออกกำลังกาย ไตยังเก็บกักโซเดียมไว้ได้มาก ร่างกายจึงไม่ขาดโซเดียม 

ความจำเป็นในการให้น้ำ โซเดียมและกลูโคส ระหว่างออกกำลังกาย 

น้ำเปล่าที่สะอาดและเย็น” เป็นสิ่งทดแทนที่ดีที่สุดสำหรับการเสียเหงื่อในการออกกำลังกาย ด้วยเหตุผลดังนี้ 

เปิดมาตรฐานสากล จัด “วิ่งมาราธอน” ดราม่า! ของ “แชริตี้ ชลบุรี มาราธอน” สอบตกทุกข้อ!!

1. การเสียเหงื่อส่วนใหญ่เป็นการเสียน้ำ ร่างกายมีการสูญเสียโซเดียมไปน้อยมากระหว่างการออกกำลังกาย และไม่มีการสูญเสียโพแทสเซียม จึงไม่จำเป็นต้องทดแทนด้วยสารละลายเกลือแร่แต่อย่างใด ยกเว้นในกรณีที่เสียเหงื่อมากจากการออกกำลังกายท่ามกลางอากาศที่ร้อนและอบอ้าว อาจให้โซเดียมทดแทนในความเข้มข้นที่ไม่เกินร้อยละ 0.2 

2. น้ำเย็นจะเคลื่อนผ่านกระเพาะอาหารลงสู่ลำไส้เล็กได้เร็ว จึงถูกดูดซึมได้เร็วกว่าน้ำอุ่น และยังช่วยลดอุณหภูมิร่างกายลงได้ 

3. การดื่มสารละลายกลูโคสที่มีความเข้มข้นมากกว่าร้อยละ 2.5 จะเคลื่อนตัวจากกระเพาะอาหารลงสู่ลำไส้เล็กได้ช้า ค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนาน ทำให้เกิดความรู้สึกอิ่มนานและดูดซึมช้า นอกจากนี้ สารละลายกลูโคสที่เข้มข้นมากจะมี osmolarity สูงจะดึงน้ำไว้ภายในลำไส้ ปิดกั้นการดูดซึมของน้ำให้ช้าลงอีก จึงดูเหมือนว่าจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี สารละลายเกลือแร่หรือน้ำอัดลมที่มีขายในท้องตลาด มักมีความเข้มข้นของกลูโคสมากกว่าร้อยละ 2.5 (น้ำอัดลมมีน้ำตาลประมาณร้อยละ 8-10) จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในการดื่มเพื่อทดแทนการเสียเหงื่อ

ในกรณีที่ต้องการให้กลูโคสระหว่างออกกำลังกาย เช่น ระหว่างการวิ่งมาราธอน เตรียมได้โดยผสมผงกลูโคสประมาณ 5 ช้อนชา (25 กรัม) ลงในน้ำเย็ย 1 ลิตร ก็จะได้สารละลายกลูโคสที่มีความเข้มข้นร้อยละ 2.5 ร่างกายจะดูดซึมกลูโคสไปใช้ได้ เป็นการประหยัดไกลโคเจนไว้ใช้ได้นานขึ้นอีก ถ้าใช้น้ำอัดลมจะต้องเจือจางลงเป็น 1:4 และไม่ควรใช้น้ำอัดลมที่มีแก๊สซึ่งจะทำให้เกิดอาการจุกเสียด หรือถ้าจะใช้น้ำผลไม้สดควรเจือจางลงเหลือ 1:5 หรือ 1:6 

สำหรับวิธีการให้น้ำในการออกกำลังกาย 

ควรดื่มน้ำให้พอทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการขาดน้ำซึ่งจะทำให้สมรรถภาพในการแข่งขันลดลง โดยมีวิธีการดังนี้ 

1. ก่อนออกกำลังกายประมาณ 20-30 นาที ควรดื่มน้ำเย็นที่สะอาดประมาณ 400-500 มิลลิลิตร ซึ่งกว่าน้ำจะผ่านจากกระเพาะลงสู่ลำไส้เล็กเพื่อถูกดูดซึมจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที และไม่ต้องเกรงว่าจะปวดปัสสาวะเพราะเมื่อเริ่มออกกำลังกายเลือดไหลเวียนไปยังไตจะลดลง ทำให้มีปัสสาวะออกน้อย ไม่ควรดื่มน้ำมาก ๆ ทันทีก่อนออกกำลังกาย เพราะจะทำให้จุกเสียดท้องและยังไม่ถูกดูดซึมจากลำไส้ด้วย 

2. ระหว่างออกกำลังกาย ถ้าเป็นการแข่งขันที่ใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำในระหว่างนี้ ให้ดื่มเมื่อการออกกำลังกายสิ้นสุดทันที แต่ถ้าเป็นการแข่งขันที่ใช้เวลานานกว่า 30 นาที เช่น การวิ่งระยะไกล การแข่งจักรยานระยะไกล หรือฟุตบอล นักกีฬาควรดื่มน้ำทดแทนเป็นระยะ ๆ ให้ดื่มครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการจุกแน่น เช่นให้ดื่มน้ำเย็นครั้งละ 200 มิลลิลิตรทุก 15 นาที และเมื่อแข่งขันเสร็จให้ดื่มอีก 500 มิลลิลิตร 

3. เมื่อการออกกำลังกายสิ้นสุด ปริมาณน้ำที่ควรดื่มทดแทน ให้คำนวณดูจากน้ำหนักตัวที่หายไปในระหว่างการแข่งขัน น้ำหนักหายไปเท่าใดให้ดื่มเท่านั้น น้ำหนักที่ลดลงภายหลังออกกำลังกายส่วนใหญ่เป็นน้ำหนักของน้ำที่สูญเสียไปกับเหงื่อ เป็นน้ำหนักของไขมันน้อยมาก 

นักกีฬาควรชั่งน้ำหนักตัวทุกครั้ง ทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกาย เพื่อคำนวณหาปริมาณน้ำที่ต้องดื่มทดแทน การชั่งน้ำหนักตัวเป็นระยะ ๆ จะเป็นการประเมินภาวะ การขาดน้ำได้ดีที่สุด อาการกระหายน้ำเป็นตัวบ่งชี้ภาวะ การขาดน้ำที่ไม่ดี เพราะจะมีอาการต่อเมื่อร่างกายขาดน้ำไปมากพอสมควร พบว่านักกีฬาหลายรายมีน้ำหนักตัวลดลงอย่างมาก เนื่องจากภาวะการขาดน้ำโดยไม่มีการกระหายน้ำให้เห็นเลย 

เปิดมาตรฐานสากล จัด “วิ่งมาราธอน” ดราม่า! ของ “แชริตี้ ชลบุรี มาราธอน” สอบตกทุกข้อ!!

ทั้งนี้ข้อปฏิบัติที่กำหนดเป็นมาตรฐานสากลซึ่งการจัดแข่งขันแชริตี้ชลบุรีมาราธอนขอหยิบยกแค่เรื่องน้ำมาเจียรไนก็ทำสอบตกทุกข้อแล้วมีดังนี้

  1. มีจุดบริการน้ําตลอดเส้นทํางวิ่ง ทุกระยะ 2-5 กิโลเมตร โดยต้องตรงกับที่ระบุไว้ในข้อมูล สรุปสุดท้ายเกี่ยวกับการแข่งขัน” (Final Details) ระยะท่ีนิยมในการแข่งขันของไทยคือทุก 2 กิโลเมตร
  2. ระบบการจัดเตรียมและการขนส่งน้ําดื่ม/น้ําแข็งรวมถึงอุปกรณ์การบริการ สอดคล้องตามหลัก สุขอนามัย
  3. มีน้ําดื่มบริการอย่างเพียงพอต่อเนื่องและไม่ติดขัดจนนักวิ่งคนสุดท้ายผ่านไปซึ่งต้องคํานึงถึงจํานวนของผู้เข้าร่วมกํารแข่งขันและสภาพอากาศรวมถึงคํานึงด้วยว่าจุดบริการนั้นเป็นจุดบริการท่ีเท่าใดในระยะทางความเพียงพอและต่อเนื่องต้องพิจารณาถึง

3.1.  ปริมาณน้ํา ปริมาณแก้วหรือภาชนะใส่น้ํา ที่เตรียมไว้

3.2.  โต๊ะต้ังวางน้ํา มีขนาด จํานวน ความยาวรวมตลอดจุด (ในหนึ่งจุดให้น้ําอาจตั้ง โต๊ะวางน้ําแบ่งเป็นช่วงๆ เพื่อลดความแออัด)

3.3.  ปริมาณแก้วที่รินน้ําต้ังวางบนโต๊ะเตรียมรอนักวิ่ง (หรือขวดที่เปิดฝาไว้แล้ว)

3.4.  ระบบการตักรินน้ําช่วงที่มีนักวิ่งเข้ามาสู่จุดบริการน้ําพร้อมกันจํานวนมาก ต้องทําได้อย่างรวดเร็ว มีภาชนะ/อุปกรณ์ตักริน และเจ้าหน้าที่มากเพียงพอ

3.5.  ท่ีจุดบริการน้ําแห่งแรกจะมีความแออัดมากที่สุด

3.6. โต๊ะน้ําโต๊ะแรกของแต่ละจุดบริการน้ํา จะมีความแออัดมากที่สุด หากผู้จัด เตรียมโต๊ะตั้งวางน้ำไว้หลายตัวในแต่ละจุดบริการน้ำ  ควรประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าและควรมีผู้ประกาศที่จุดบริการน้ำด้วย

เปิดมาตรฐานสากล จัด “วิ่งมาราธอน” ดราม่า! ของ “แชริตี้ ชลบุรี มาราธอน” สอบตกทุกข้อ!!

4. จุดบริการน้ําอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ใหญ่ ที่ได้รับการอธิบาย/สอนงานให้ผู้ประจําจุดบริการ เข้าใจ หากจุดใดมีการเพิ่มผู้ช่วยท่ียังเด็ก ก็ยังเป็นความรับผิดชอบดูแลของผู้ใหญ่

5. ผู้ประจําจุดบริการทุกคนต้องแต่งกายด้วยชุดเฉพาะ หรือมีสัญลักษณ์บ่งชัด

  1. มีป้ายแจ้งเตือนอย่างชัดเจนอย่างน้อย 100 เมตรก่อนถึงทุกจุดบริกํารน้ํา
  2. จุดบริการน้ําต้องไม่กีดขวางเส้นทางวิ่ง
  3. ไม่ต้ังจุดบริการน้ํา ตรงกับจุดตรวจสอบระหว่างทาง (Check point)
  4. ใช้โต๊ะที่แข็งแรงสําหรับตั้งวางอุปกรณ์ภาชนะและเครื่องดื่ม
  5. มีภาชนะและปริมาณน้ําเพียงพอสําหรับนักวิ่งทุกคน พึงพิจารณาว่าโดยเฉลี่ยนักวิ่ง 1 คน จะใช้ น้ํามากกว่า 1 แก้ว (นักวิ่งจะผ่านจุดบริการน้ันในเวลาใด ย่ิงอากาศร้อนจะยิ่งมีปริมาณการใช้ น้ําดื่มมาก นักวิ่งบางคนอาจใช้ราดตัวหรือล้างหน้าด้วย ต้องคาดเผื่อไว้)

  6. นอกจากน้ําเปล่าแล้วอาจมีเครื่องดื่มอื่นๆเช่นเครื่องดื่มเกลือแร่หรือน้ําหวานหรืออาจมีผลไม้ทานง่ายเช่นแตงโมกล้วยหรือกล้วยตากเป็นต้น
  7. กรณีมีเครื่องดื่มหลายประเภท และ/หรือผลไม้ให้บริการเครื่องดื่มแต่ละประเภทควรวางไว้แยกโต๊ะกันอาจใช้ภาชนะต่างสีและมีป้ายบอกชัดเจนให้วํางน้ําเปล่าไว้บนโต๊ะสุดท้ายของจุดบริการน้ํา
  8. การจัดเรียงลําดับโต๊ะเครื่องดื่มต่างๆในแต่ละจุดบริการต้องมีลําดับเหมือนกัน
  9. การบริกํรเครื่องดื่มเย็นท่ีดีไม่ควรมีก้อนน้ําแข็งอยู่ในแก้วหรือมีแต่เพียงน้อย
  10. ภาชนะใส่เครื่องดื่ม ถังน้ํา อุปกรณ์ตักแบ่งน้ําแข็งและเครื่องดื่มต่างๆ ต้องมีขนาดใหญ่และมี จํานวนมากพอ ท่ีจะจัดแช่ ผสม และแบ่งรินใส่แก้ว โดยพิจารณาจากจํานวนนักวิ่ง

  11. ภาชนะใส่เครื่องดื่ม ถังน้ํา อุปกรณ์ตักแบ่ง น้ําแข็ง เครื่องดื่มต่างๆ ต้องสะอาดถูกสุขอนามัย ผู้เติมน้ําควรใช้ถุงมือ

  12. การจัดเตรียมผลไม้ควรคํานึงถึงความสะอาด เช่น ต้องมีการล้างก่อนหรือไม่ เมื่อมีการปอก เปลือก จะทิ้งส่วนที่ไม่ต้องการที่ใด จัดวางบนถาดอย่างไรไม่ให้เปรอะเปื้อน นักวิ่งจะหยิบผลไม้ อย่างไร

  13. ควรใช้ผ้าปูโต๊ะ มีผ้าทําความสะอาด

  14. ขนาดแก้วพลาสติกที่แนะนํา คือ 6 ออนซ์ (180 มิลลิลิตร) รินน้ําไว้ประมาณ 2 ใน 3 ของ แก้ว (120 มิลลิลิตร)

  15. กรณีบริการด้วยแก้ว ควรรินเครื่องดื่มไว้มากท่ีสุดเท่าท่ีจะเป็นไปได้ ก่อนนักวิ่งจะวิ่งมาถึงจุด บริการน้ํา ทั้งนี้ ต้องคํานึงถึงการละลายของน้ําแข็ง/อุณหภูมิน้ําที่สูงขึ้น และฝุ่นละอองที่อาจตกลงในน้ำ

  16. กรณีเครื่องดื่มบรรจุขวดควรเปิดฝาขวดไว้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อนนักวิ่งจะวิ่งมาถึงจุดบริการน้ําปริมาณบรรจุขวดไม่ควรมากเกินไป
  17. การจัดเรียงแก้ว/ขวด ต้องไม่ชิดกันมากเกินไป เพราะจะทําให้แก้ว/ขวด ล้มกระจายคร้ังละ หลายใบได้

  18. จุดบริการท่ีอยู่ช่วงต้นของระยะทางวิ่ง จะมีปริมาณนักวิ่งโถมเข้ามาถึงในเวลาไล่เลี่ยกันมากกว่า จุดบริการที่อยู่ช่วงท้ายๆ ของระยะทางวิ่ง ดังนั้น พื้นท่ีโต๊ะบริการท่ีมีอยู่อาจไม่เพียงพอต่อการวางแก้วเครื่องดื่มให้เพียงพอ แนะนําให้พิจารณาทางเลือกต่อไปนี้

    23.1. เพิ่มพื้นท่ีวํางโดยการใช้แผ่นพลาสติกวางซ้อนบนแก้ว โดยที่ต้องคํานึงถึงความ สะอาดของแผ่นพลาสติกด้วย หากเป็นได้และไม่กีดขวางการจราจร

    23.2. เพิ่มโต๊ะบริการน้ําทั้ง 2 ฝั่งของเส้นทางวิ่ง

    23.3. เสริมป้ายแจ้งจํานวนโต๊ะบริการที่มีเพื่อให้นักวิงไม่ออกันที่โต๊ะแรกควรมีเครื่องมือ เช่น กระบอกน้ํา และบุคลากรเพียงพอที่จะจัดเติมเครื่องดื่มอย่างรวดเร็ว

  19. เปิดมาตรฐานสากล จัด “วิ่งมาราธอน” ดราม่า! ของ “แชริตี้ ชลบุรี มาราธอน” สอบตกทุกข้อ!! หากจัดบริการยื่นส่งเครื่องดื่มให้นักวิ่ง ไม่ควรให้เด็กเล็กทําหน้าท่ีนี้
  20. การยื่นส่งเครื่องดื่ม ควรยื่นส่งในระดับหน้าอก อาจคีบปากแก้วด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ (ไม่จุ่มลงใน เครื่องดื่ม) หรือวางอยู่บนฝ่ามือที่หงายและไม่ยืนขวางทางนักวิ่ง
  21. อย่าใช้ขวดหรือแก้วท่ีตกพื้นแล้ว

  22. หากมีบริการฟองนํ้าเพื่อเพิ่มความสดชื่นแก่นักวิ่ง ต้องประมาณการให้เพียงพอกับนักวิ่งทุกคนในทุกจุด ไม่นำฟองน้ำที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำ
  23. มีถังขยะ/ภาชนะรองรับขยะหลังจุดบริการน้ํา

29.1.  ออกแบบให้มีปากกว้าง มีการจัดการให้มั่นคง ไม่ล้มพับ ปากภาชนะรองรับขยะ ไม่พับหุบง่าย

29.2.  มีจํานวนมากเพียงพอเทียบกับปริมาณแก้วน้ํา/ขวด

29.3.  ตั้งถังขยะห่างเป็นช่วงๆ

29.4.  ถังขยะใบสุดท้ายควรอยู่ห่างจากจุดบริการน้ําอย่างน้อย 100 เมตร

29.5.  อาจวางถังขยะทั้งด้านซ้ายและขวาของเส้นทางวิ่ง แต่ต้องไม่กีดขวางทางวิ่ง และไม่กีดขวางการจรํจร

29.6.  เป็นปกติท่ีนักวิ่งจะไม่สามํารถทิ้งขยะลงให้ตรงถังขยะได้ ต้องมอบหมายให้มี ผู้รับผิดชอบจัดเก็บขยะให้สะอําดเรียบร้อยโดยเร็ว

เปิดมาตรฐานสากล จัด “วิ่งมาราธอน” ดราม่า! ของ “แชริตี้ ชลบุรี มาราธอน” สอบตกทุกข้อ!!

related