svasdssvasds

วิกฤต! ลำน้ำชีส่อท่วมหลายจังหวัด

วิกฤต! ลำน้ำชีส่อท่วมหลายจังหวัด

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

สถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.กาฬสินธุ์ ที่ขณะนี้แม้ในพื้นที่ไม่มีฝนตกลงมามากเหมือนช่วงก่อนหน้านี้ แต่พบว่าทั้งใน จ.กาฬสินธุ์ และจังหวัดที่น้ำชีไหลผ่านเช่นร้อยเอ็ด และยโสธร ยังเกิดน้ำท่วมอยู่ ทีมข่าวได้ลงพื้นที่ได้ตรวจสอบว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ติดตามได้จากรายงานของคุณยุทธนา เกียรติดำเนินงาม ผู้สื่อข่าวสปริงนิวส์ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์

วิกฤต! ลำน้ำชีส่อท่วมหลายจังหวัด   

ภาพถ่ายล่าสุดซึ่งทีมข่าว ได้บันทึกสภาพความหนาแน่นของมวลน้ำในลำน้ำชี ซึ่งตรงกับเขื่อนวังยาง ด้าน อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ และอีกด้านจะเป็นฝั่งอำเภอจังหารของ จ.ร้อยเอ็ด สภาพพื้นที่ขณะนี้เราพบเห็นมวลน้ำจากลำน้ำชี ซึ่งได้เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่นาไร่ของประชาชนทั้งสองจังหวัด โดยเฉพาะที่ จ.ร้อยเอ็ด หมู่บ้านหลายแห่งยังประสบปัญหาน้ำท่วมที่เริ่มครอบคลุมเป็นบริเวณกว้าง ขณะที่ด้าน จ.กาฬสินธุ์ บ้านเรือนที่อาศัยติดกับลำน้ำชีก็ถูกน้ำท่วมแล้วเช่นกัน

สถานการณ์เช่นนี้ สาเหตุหลักนั้นเกิดจาก พายุ 2 ลูก ซึ่งเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม เป็นอิทธิพลของพายุตาลัส และต่อเนื่องมาเป็นพายุเซินกา ทำให้เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ต้องเร่งระบายน้ำลงในแม่น้ำชี จนทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม

วิกฤต! ลำน้ำชีส่อท่วมหลายจังหวัด

ขณะที่ปัญหาการระบายน้ำจากเขื่อนลำปาว ถึงแม้ในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ฝนเริ่มหยุดตก แต่กลับพบว่าพื้นที่ตอนบน ด้าน จ.อุดรธานี และ จ.สกลนคร ยังคงมีฝนตกหนัก ล่าสุดทำให้มีมวลน้ำมากถึง 84 ล้าน ลบ.ม. ไหลเข้าเขื่อนลำปาว ทำให้เขื่อนลำปาวมีปริมาณน้ำที่ 1,742 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 88 ที่ยังคงทำการระบายน้ำ และยังทำให้เกิดน้ำท่วมขังสูงในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่บ้านสว่าง อ.ฆ้องชัย ระดับน้ำบางแห่งสูงเกือบ 2 เมตร ที่ยังต้องการความช่วยเหลือ

วิกฤต! ลำน้ำชีส่อท่วมหลายจังหวัด

สำหรับปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ จึงแยกออกเป็น 2 สาเหตุ โดยสาเหตุแรกเกิดจากการระบายน้ำของเขื่อนลำปาว ลงพื้นที่ 5 อำเภอของ จ.กาฬสินธุ์ โดยตรง ขณะที่อีกหนึ่งสาเหตุ คือพื้นที่ อ.ฆ้องชัย อำเภอร่องคำ ฝั่ง จ.กาฬสินธุ์ และคาบเกี่ยวไปยังพื้นที่ จ.ร้อยเอ็ด และ จ.ยโสธร ซึ่งเกิดจากปัญหาการระบายน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนทั้งสองแห่งให้เหตุผลการระบายน้ำ ก็เพื่อรักษาสภาพของตัวเขื่อนนี้ไว้ และเพื่อรองรับปริมาณน้ำฝนระหว่างเดือนสิงหาคมและกันยายนที่คาดว่าจะมากกว่า 1,000 ล้าน ลบ.ม

[embed]https://youtu.be/7xspKR3DxlM[/embed]

related