svasdssvasds

สงสัยจัง! ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน แล้วทำไมรถเมล์ไทย ยังเป็นรถร้อน!

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

'สปริงนิวส์' พูดคุยกับ ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนายการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เพื่อตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหารถเมล์ไทย ทำไมไม่พัฒนา? รวมถึงเรื่องที่ว่า ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนแท้ๆ แล้วทำไมรถเมล์ไทย ยังเป็นรถร้อน!

โดย ดร.สุเมธ มองว่าส่วนหนึ่งที่รถเมล์ไทยยังเป็นรถร้อนอยู่ เพราะมีข้อจำกัดเรื่องเงินลงทุน และยังมีความเห็นแตกต่างกันเรื่องอัตราค่าโดยสารอยู่บ้าง

"ลักษณะของรถร้อน คือคนขึ้นอาจจะขึ้นไม่ได้ยาวมากนัก 2-3 ป้ายแล้วก็ลง อัตราค่าโดยสารจึงค่อนข้างถูก ขณะที่รถแอร์ส่วนใหญ่จะพัฒนาเพื่อเดินทางให้ค่อนข้างไกล สตาร์ทด้วยราคา 12-13 บาท และจะเพิ่มขึ้นตามระยะทาง เพราะฉะนั้นรูปแบบการกำหนดอัตราค่าโดยสาร มันก็ส่งสัญญาณให้กับผู้โดยสารระดับหนึ่ง"

สงสัยจัง! ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน แล้วทำไมรถเมล์ไทย ยังเป็นรถร้อน!

สปริงนิวส์ : ต้นทุนการให้บริการรถร้อน - รถแอร์ ต่างกันเยอะไหม?

ดร.สุเมธ : ในแง่ของต้นทุนเองเนี่ย รถร้อน รถแอร์ อาจจะไม่ได้ต่างกันมาก เมื่อเทียบต่อกิโลเมตรการเดินรถ อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยระบบเก่าที่เรามีอยู่ รวมถึงตัวรถเก่าที่เรามีอยู่ มันทำให้เราพัฒนามาในลักษณะนี้ ในอนาคตอาจจะมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นรถแอร์มากขึ้น

ในต่างประเทศเองก็เริ่มเห็นภาพว่า รถโดยสารส่วนใหญ่เขาจะเซตเป็นระบบเดียว แอร์ก็แอร์หมด ช่วงที่ไม่ร้อนก็อาจจะไม่ต้องเปิดแอร์ พอเซตเป็นระบบเดียวแล้ว ก็สร้างความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น

สงสัยจัง! ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน แล้วทำไมรถเมล์ไทย ยังเป็นรถร้อน!

สปริงนิวส์ : อะไรเป็นปัญหา ทำให้รถเมล์ไทยไม่พัฒนา?

ดร.สุเมธ : ถ้าในภาพใหญ่เชิงนโยบาย การให้ความสำคัญกับระบบขนส่ง รถโดยสารประจำทาง อาจจะน้อยไป

"โครงสร้างการประกอบการที่มี ขสมก. และมีรูปแบบของรถร่วมบริการ มันสร้างปัญหาระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้นตอนนี้ที่พยายามดำเนินการคือว่า แยกมาก่อนเอกชนก็เอกชน ขสมก. ก็ ขสมก.ไป เพราะฉะนั้นถ้าเอกชนมาเชตระบบใหม่ แล้วมีการประเมิน มีการลงทุนใหม่ เอกชนน่าจะทำได้ค่อนข้างดี และทำให้เกิดการพัฒนา"

แต่ปัญหาของรถโดยสารประจำทางเองมันอาจจะหมักหมมมานาน ช่วงเวลาสัก 20 ปีที่ผ่านมา ปริมาณการใช้งานรถโดยสารประจำทางมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ การให้บริการก็แย่ลงเรื่อยๆ การที่จะเปลี่ยนคงไม่สามารถทำได้ในเวลาอันสั้น ต้องทยอยดำเนินการ เรื่องของเส้นทาง เรื่องของการเปลี่ยนรถ การกำกับดูแลผู้ประกอบการให้เข้มข้นกับเรื่องของการพัฒนาคุณภาพของการให้บริการ ค่อยๆ ทยอยทำ ภายใต้เงื่อนไขเรื่องของอัตราค่าบริการที่เหมาะสมด้วย

ซึ่งตรงนี้อาจเป็นจุดเปลี่ยนที่ค่อนข้างสำคัญ เพราะว่าถ้าเราดูเรื่องของอัตราค่าโดยสารรถประจำทาง เราก็ไม่อยากให้มีราคาที่สูงมากเกินไป อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการที่เป็นเอกชน ถ้าเขาไม่สามารถเก็บค่าโดยสารที่เหมาะสม และได้รายได้ที่เหมาะสมได้ เขาก็อาจไม่มีแรงจูงใจในการพัฒนา

สงสัยจัง! ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน แล้วทำไมรถเมล์ไทย ยังเป็นรถร้อน!

related