svasdssvasds

สรุปให้ #ฉีดPfizerให้บุคลากรการแพทย์ ทุกมิติปัญหา

สรุปให้ #ฉีดPfizerให้บุคลากรการแพทย์  ทุกมิติปัญหา

ประเด็นร้อนแรง จาก #ฉีดPfizerให้บุคลากรการแพทย์ ที่ขึ้นเทรนด์ของโลกออนไลน์ทุกแพลตฟอร์ม เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงทุกมิติปัญหาการจัดการวัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งนี่เป็นเพียงปัญหาที่ร้อนแรงล่าสุด และเป็นตัวกระจกสะท้อน ปัญหาภาพใหญ่ในการจัดการของรัฐ ต่อเรื่องโควิด-19

ที่มาแฮชแท็กร้อน

แฮชแท็ก #ฉีดPfizerให้บุคลากรการแพทย์ ยังคงเป็นที่พูดในกว้างและยังคงทวีความร้อนแรงจากภาคสังคม เพราะเรื่้องโควิด-19 และเรื่องความเป็นความตายเป็นเรื่องใหญ่ของทุกคน 
    ณ เข็มนาฬิกาเดินอยู่ วินาที ปัจจุบัน 5 ก.ค 2021 ไทยมีผู้เสียชีวิตรายวัน 50 ราย และมีผู้ติดเชื้อแตะหลัก 6,166 คนต่อวัน ติดเชื้อสะสมทะลุ 260,000 ราย
    สำหรับแฮชแท็ก  #ฉีดPfizerให้บุคลากรการแพทย์ มีต้นมาขึ้นมาจาก มีการเอกสารจากการประชุม หลุดออกมาสู่สาธารณชน จากการประชุมเฉพาะกิจ 3 ฝ่าย เมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา
    โดยในการประชุม 3 ฝ่ายประกอบด้วย 
    1).  คณะกรรมการด้านวิชาการ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558  
    2). คณะทํางานวิชาการด้านบริหารจัดการ 
    3). คณะทํางานวิชาการด้านบริหารจัดการและศึกษาการให้บริการวัคซีน

    สาระสำคัญของเอกสารที่หลุดมา อยู่ในช่วงท้ายของเอกสาร ซึ่งเป็นในส่วนของ Comment หรือความคิดเห็น ที่ระบุว่า 
    "ในขณะที่นี้ ถ้าเอามาฉีดกลุ่ม 3 แสดงว่าเรายอมรับว่า Sinovac ไม่มีผลในการป้องกัน แล้วจะแก้ตัวยากมากขึ้น"
    "ควรให้เข็ม 3 บุคลากรทางการแพทย์เพราะเสี่ยงสูง" 

 

paper
    จากความข้อความนี้ ทำให้เกิดประเด็นวิพากษ์อย่างร้อนแรง เพราะ นั่นสามารถตีความได้ว่า วัคซีนซิโนแวคประสิทธิภาพไม่ดีพอที่จะคุ้มครองบุคคลากรทางการแพทย์ แถมยัง มีความเห็นในเชิงฯ ค้านการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเข็มที่ 3 อีก.... 
    ...และจนกระทั่ง มีข้อเสนอ รวมถึงเสียงร้อง ให้ ให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้กับแพทย์ ซึ่งเป็นด่านหน้าในการสู้กับโควิด
     สิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมๆ กับ #ฉีดPfizerให้บุคลากรการแพทย์  ความเห็นมากมายจากทางแพทย์ หรือทางภาคการเมือง รวมถึงภาคประชาชน ที่ติดตามเรื่องนี้
    อาทิ นพ.อำนาจ กุสลานันท์  อดีตนายกแพทยสภา ที่ออกมาเรียกร้องให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้พ้นวิกฤตสู้โควิด-19 
 

อดีตนายกแพทยสภา ชี้ไฟเซอร์ต้องหามาด่วน

    ทั้งนี้ ศ.คลินิกเกียรติคุณนพ.อำนาจ กุสลานันท์ กรรมการแพทยสภา อดีตนายกแพทยสภา ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก ระบุว่า
    “เรียน นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการ ศบค.
    ตามที่ประเทศไทยจะได้รับวัคซีนไฟเซอร์จำนวน 1.5 ล้านโดสในเดือน ก.ค.-ส.ค. 64 มานั้น ผมทราบมาว่ามติที่ประชุมของคณะกรรมการที่พิจารณาเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.64 ได้มีผู้เสนอให้บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ได้วัคซีนซิโนแวคสองเข็มไปแล้วระยะหนึ่งได้รับวัคซีนนี้ แต่ต่อมาที่ประชุมมีมติไม่ให้วัคซีนดังกล่าวแก่บุคลากรทางการแพทย์  
    ผมมีความเห็นว่าแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะได้รับเชื้อรวมทั้งเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญสูงมากในขณะนี้ที่มีภาระหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยทั้งหมด
ถ้าหากกำลังคนที่สำคัญในภาวะวิกฤตนี้ติดเชื้อจะซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก
    เพราะการที่คนใดคนหนึ่งในกลุ่มบุคลากรที่กำลังทำหน้าที่เพื่อชดเชยอัตรากำลังคนที่ขาดแคลน อย่างที่สุดในตอนนี้ติดเชื้อ จะทำให้มีบุคลากรที่เกี่ยวข้องต้องถูกกักตัวเนื่องจากเป็นผู้ความเสี่ยงสูงอีกจำนวนมาก ดังที่ได้มีการประกาศปิดห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้องคลอด หรือทั้งโรงพยาบาลมาเป็นระยะๆ ทำให้ผู้ป่วยและประชาชน มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกทั้งจากโควิดและภาวะฉุกเฉินอื่นๆ
    ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อในบุคลกรกลุ่มนี้ จึงมีความสำคัญสูงสุด และจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประคองให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปให้ได้
    จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ฉีดวัคซีนดังกล่าว แก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ดูแลผู้ป่วยด้วยครับ
    ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.อำนาจ กุสลานันท์
    กรรมการแพทยสภา
    อดีตนายกแพทยสภา”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปกป้องด่านหน้า 

    ขณะที่ พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ  เลขาธิการแพทยสภา ติด #SAVEด่านหน้า ออกโรงเรียกร้องรัฐ ฉีดเข็ม 3 ไฟเซอร์ ให้บุคลากร โดยในความส่วนหนึ่งระบุว่า 
    "วัคซีนคุณภาพสูง ที่จะปกป้องพวกเขาทุกคน จากเชื้อที่กลายพันธุ์ ที่จะระบาดในระยะต่อไป โดยเฉพาะกลุ่ม mRNA ให้กับบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มเติมอย่างด่วนด้วยครับ
    เพราะบุคลากรทุกคนคือกำลังสำคัญในการ ต่อสู้กับ covid-19 ครั้งนี้ หากไม่มีกำลังพวกเขา ชีวิตของประชาชนจะเข้าสู่ความเสี่ยงอันตรายอย่างหนัก ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตจากสงครามโควิด ที่มีการสูญเสียชีวิตทุกวัน

 

 #ขอไฟเซอร์ให้หมอ 

ส่วนภาคการเมือง นาย วิโรจน์ ลักขณาอดิศร หนึ่งในสมาชิกพรรคก้าวไกล แสดงความเห็นต่อ #ฉีดPfizerให้บุคลากรการแพทย์ ไว้ว่า "เมื่อประชาชนปกป้องพวกเขา พวกเขาก็จะเป็นขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขที่ทรงคุณค่า ที่คอยดูแลห่วงใยประชาชนคนไทยทุกคน

    ด้วยความเคารพนะครับ ผมไม่อยากรณรงค์วลี #ขอไฟเซอร์ให้หมอ เลยครับ หมอ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ที่ทุ่มเททำงาน รัฐบาลมีหน้าที่ในการจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพมาฉีดเพื่อปกป้องให้พวกเขาได้ทำหน้าที่ได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องขอ! #หาไฟเซอร์มาฉีดให้หมอเดี๋ยวนี้ 

การตั้งคำถามประชาชน

อย่างไรก็ตาม จากแฮชแท็ก  #ฉีดPfizerให้บุคลากรการแพทย์ มีกลุ่มคนส่วนหนึ่งในโลกออนไลน์ ตั้งข้อสังเกต ว่า "ในขณะที่นี้ ถ้าเอามาฉีดกลุ่ม 3 แสดงว่าเรายอมรับว่า Sinovac ไม่มีผลในการป้องกัน แล้วจะแก้ตัวยากมากขึ้น"  และ "ควรให้เข็ม 3 บุคลากรทางการแพทย์เพราะเสี่ยงสูง" จากเอกสารที่หลุดมานั้น เป็นเพียงส่วนของ การแสดงความคิดเห็น  ไม่ใช่ข้อสรุป และเป็น มติของที่ประชุม แต่อย่างใด 
    นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องราว ดราม่า #ฉีดPfizerให้บุคลากรการแพทย์ เพราะเรื่องนี้ที่จริงแล้ว ยังมีอีกหลากหลายมิติ อาทิ การตั้งคำถามจากภาคประชาชนถึงความล่าช้าในการหาวัคซีนทางเลือกมาให้ประชาชนไทย 
    เพราะที่จริงแล้ว กระบวนการจัดหา วัคซีนไฟเซอร์ ล่าช้ามานานอย่างปฏิเสธไม่ได้  
    16 เม.ย. :  มีมติให้มีการจัดหา จากครม.  
    25 พ.ค. : กรมควบคุมโรค ส่งร่าง Binding term sheet ที่เจรจาเพิ่มเติมให้กับ ไฟเซอร์ ให้อัยการสูงสุดพิจารณา 
    24 มิ.ย. : อย. ไทยขึ้นทะเบียนวัคซีนไฟเซอร์ 
    6 ก.ค. : เข้า ครม. เห็นชอบก่อนลงนาม

pfizer

 

 ปัญหาเรื่องการจัดหา
    นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุม เผยว่า ตอนนี้การจัดหาวัคซีนโควิดที่กรมควบคุมโรคได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข นอกจากวัคซีนซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า ยังมีการเจรจาสั่งซื้อวัคซีนตัวอื่นๆ อย่างวัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 20 ล้านโดส
    กระบวนการก่อนหน้านี้ได้ลงนามเอกสารไปแล้ว 2 ฉบับ คือ เอกสารที่สัญญาว่าเมื่อรับทราบข้อกำหนดเบื้องต้นจะไม่เปิดเผยข้อมูล และเอกสารการจองวัคซีนตั้งแต่ก่อน เม.ย.
    ตอนนี้เหลือสัญญาฉบับที่ 3 คือ เอกสารสัญญาซื้อวัคซีน ซึ่งต้องรอบคอบเพราะมีเงื่อนไขรายละเอียดที่บริษัทผู้ผลิตตั้งขึ้นหลายประการ จึงต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ
    หากผ่านขั้นตอนเหล่านี้ ก็จะสั่งซื้อต่อไป เพื่อให้ส่งมอบเร็วขึ้น เพราะบริษัทบอกว่า จะส่งให้ได้ประมาณไตรมาส 4 ของปีนี้ 
    นั่นหมายความว่า ประเทศไทย จะได้วัคซีนไฟเซอร์ อย่างเร็วที่สุด คือ ตุลาคม ซึ่งก็ถือว่ายังไม่ใช่เรื่องที่ฟันธงได้อีกด้วย และ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ก็ต้องเฝ้ารอ เกราะป้องกัน ในการสู้โควิด-19 ต่อไป

    
    ทุกวินาทีที่เดินไป...และตราบใดที่ประเทศไทย ยังไม่มีวัคซีนโควิด ในปริมาณเพิ่มขึ้น ...ยังไม่มีวัคซีนที่ดี มีทางเลือกให้ประชาชนมากกว่านี้ 
    เรื่องวัคซีนไฟเซอร์ จบที่หลักฐาน ค่อนข้างเคลียร์ แล้วว่าเกิดจากความล่าช้าของตัดสินใจของรัฐบาล การเปิดไทม์ไลน์ต่างๆ เห็นกันอย่างชัดเจนว่า ช่วงเวลา 1-2 เดือนที่ผ่านมา ทุกอย่างหายไปอย่างเปล่าประโยชน์ และรัฐบาลอธิบายเรื่องการจัดหา วัคซีนไฟเซอร์ที่ไม่ชัดเจนใดๆ เลย  
    ทุกๆวันก็ยังมี ตัวเลขคนตาย จากโควิด-19 เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ...ทั้งที่ในความเป็นจริง รัฐบาลไทย ควรจะลดจำนวนผู้เสียชีวิตลงได้ ถ้ามีวัคซีนที่ดี วัคซีนที่พร้อม และการเข้าถึงการฉีดวัคซีนทำได้ง่าย  ถ้าหากรัฐบาลและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเตรียมการให้พร้อม จัดการให้ดี อย่างที่ควรจะเป็น...และคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมากกว่านี้ 
    ถ้าทุกอย่างวางแผนและแก้ไขปัญหาได้ดี เกิดขึ้นจริงๆ ....แฮชแท็ก   #ฉีดPfizerให้บุคลากรการแพทย์  ก็คงไม่เกิดขึ้น ด้วยซ้ำ
    และแม้  #ฉีดPfizerให้บุคลากรการแพทย์  จะถูกจุดให้พูดถึงมากในวงกว้างสักเพียงใด แต่ถ้า รัฐบาล ยังไม่ตระหนักถึงตัวเลขคนตายที่ แตะหลัก ครึ่งร้อย ทุกๆวัน...
    คำถาม ....การตั้งข้อเรียกร้องต่างๆ  #ฉีดPfizerให้บุคลากรการแพทย์  มันตะโกนดังพอให้รัฐบาลเห็นคุณค่าของชีวิตประชาชนหรือยัง ?  
    เพราะที่ผ่านมา มันไม่ต่างอะไรกับการเอา ชีวิตประชาชน มาเป็นตัวประกัน

related