svasdssvasds

ไทยมีทั้งโจรและเหยื่อมากที่สุดในภูมิภาค และวิธีแจ้งปัญหาผ่าน Whoscall

ไทยมีทั้งโจรและเหยื่อมากที่สุดในภูมิภาค และวิธีแจ้งปัญหาผ่าน Whoscall

ด้วยภัยมิจฉาชีพที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การมีแอปสแกนเบอร์โทรศัพท์ก่อนรับสายได้รับความนิยมมากขึ้น ผอ.ฝ่ายการตลาดของ Whoscall บอกว่า ไทยเป็นประเทศที่เจอการหลอกลวงผ่านสายโทรศัพท์มากที่สุดในภูมิภาคนี้

SHORT CUT

  • Whoscall เผยไทยเป็นประเทศที่มีการแจ้งปัญหาและมีมิจฉาชีพมากที่สุด
  • พร้อมร่วมมือกับพาร์ตเนอร์เพื่อช่วยเหลือให้มากที่สุด
  • ทรู ย้ำ ขอข้อมูลเบอร์มิจฉาชีพได้แต่ต้องให้ตำรวจดำเนินการ

ด้วยภัยมิจฉาชีพที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การมีแอปสแกนเบอร์โทรศัพท์ก่อนรับสายได้รับความนิยมมากขึ้น ผอ.ฝ่ายการตลาดของ Whoscall บอกว่า ไทยเป็นประเทศที่เจอการหลอกลวงผ่านสายโทรศัพท์มากที่สุดในภูมิภาคนี้

คุณฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ บริษัท Gogolook เล่าว่า ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีอัตราการแจ้งเบอร์มิจฉาชีพมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และก็มีมิจฉาชีพโทรไปหลอกลวงมากที่สุดเช่นกัน

ฐานข้อมูลเกี่ยวกับเบอร์โทรต่างๆ บน Whoscall มาจาก Public อย่างสมุดหน้าเหลืองก่อน และมารวมกับผู้ใช้งานแอปของเราเป็นคนรายงานปัญหาเข้ามาว่าเบอร์นั้นเป็นมิจฉาชีพ

เมื่อเราได้รับแจ้งมาก็จะเก็บข้อมูลร่วมกับการใช้ AI ในการเก็บข้อมูลแบบ Trusted ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าคนนั้นเป็นมิจฉาชีพได้ แต่จะแจ้งว่าเป็นเบอร์ต้องสงสัย และไม่อาจระบุได้ว่าเบอร์นั้นๆ เป็นของใคร แต่ถ้ามีการบันทึกเบอร์มิจฉาชีพผิดเป็นเบอร์คนทั่วไป ก็สามารถแจ้งเข้าไปได้เพื่อขอแก้ไขข้อมูลได้เช่นกัน

คุณฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ บริษัท Gogolook

ทั้งนี้ เราใช้ทั้งอัลกอริธึ่มและแมชชีนเลิร์นนิงในการเก็บข้อมูล ระบบจะแจ้งเตือนขึ้นมาว่าขอเช็กดาต้าหลังวางสายว่าเป็นเบอร์ใคร มิจฉาชีพหรือไม่ ผู้ใช้งานก็สามารถกดรายงานปัญหาได้ทันที ทำให้ฐานข้อมูลของ Whoscall มีจำนวนเบอร์ที่ได้รับการแจ้งจากประชาชนมากที่สุด

เกิดจาก LINE ก่อนจะต่อยอดมาทำเรื่องเบอร์โทรศัพท์

ที่มาที่ไปของ Whoscall มาจากการเป็นส่วนหนึ่งของ LINE ในชื่อ LINE Whoscall จากนั้นได้แยกตัวออกมาเป็น Whoscall ภายใต้การบริหารของ Gogolook จากไต้หวัน ซึ่งก็เดินหน้าทำเรื่องของการรักษาความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นจากเบอร์โทรศัพท์

"เรามีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานทั่วโลก แต่ไม่สามารถเปิดเผยให้ใครทราบได้ ซึ่งเราทราบว่าเบอร์ไหนอาจจะเป็นมิจฉาชีพ โดยดูจากพฤติกรรมการใช้เบอร์นั้นโทรออกไปจำนวนมากๆ ก็มีความเสี่ยงว่าจะเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ ซึ่งหากใครเจอปัญหาก็ให้แจ้งดำเนินเรื่องไปทางโอเปอร์เรเตอร์ก่อน"

มิจฉาชีพที่ฉลาดขึ้นเรื่อยๆ

เวลาโดนขโมยข้อมูล แจ้งได้ไหม

คุณฐิตินันท์ ระบุว่า แจ้งตรงมาทางบริษัทไม่ได้ ทาง whoscall มีจำนวนหมายเลขโทรศัพท์มากกว่า 2,600 ล้านหมายเลขทั่วโลก รวมทั้งมีการเก็บข้อมูลและทำ PDPA ถ้าพาร์ตเนอร์หรือลูกค้ามาขอก็ให้ข้อมูลโดยตรงไม่ได้

แต่เราจะช่วยตรวจเช็กได้ว่าเป็นเบอร์ต้องสงสัยหรือมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน ส่วนการร่วมมือกับพาร์ตเนอร์จะไปช่วยในแง่ไหนต้องดูการปกป้องในระยะยาวด้วย 

ทางบริษัทจึงร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เยอะมาก เช่น โอเปอร์เรเตอร์ทั้ง 3 รายของไทยและองค์กรหน่วยงานของรัฐ เพราะเชื่อว่าการที่เรายิ่งร่วมมือกับพาร์ตเนอร์จำนวนมากก็ยิ่งช่วยป้องกันข้อมูลได้ดีขึ้น

ทรู ยืนยัน ขอข้อมูลได้แต่ต้องให้ตำรวจแจ้งขอมาเอง

ทางด้านของนายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกิจการองค์กรผู้บริหาร จาก ทรู คอร์ปอเรชัน เผยว่า ทรู ดูแลลูกค้าทุกคน หากพูดตรงๆ โจรก็อาจจะเป็นหนึ่งในลูกค้าของเรา ซึ่งเราไม่สามารถทราบได้ว่าคนที่เข้ามาซื้อเบอร์คนไหนเบอร์มิจฉาชีพ ดังนั้น เวลาที่เราเห็นว่าเบอร์ไหนมีการโทรออกจำนวนมากๆ และเป็นที่น่าสงสัยก็จะแจ้งเรื่องไปทางกสทช.และ Whoscall ให้ช่วยตรวจสอบ 

จากนั้นถ้าพบว่าเบอร์ดังกล่าวเป็นมิจฉาชีพก็ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือตำรวจเป็นผู้ประสานงานมาโดยตรง ไม่อนุญาตให้ลูกค้าเป็นผู้ร้องขอเอง เพราะเราก็ต้องปกป้องลูกค้ารายอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำความผิดเช่นกัน เราไม่อาจเปิดเผยข้อมูลลูกค้าได้ทุกคน 

ตัวแทนจากทรูขึ้นกล่าว

ดังนั้น แนะนำให้ทำตามขั้นตอนทางกฏหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดีกว่า แต่โดยปกติเราก็มีหน่วยงานดูแลอย่างเคร่งครัดอยู่แล้ว หากมีลูกค้าแจ้งเบอร์เข้ามาว่าต้องสงสัย ผนวกกับการเก็บข้อมูลหลังบ้านของเรา เราก็จะจัดการตามขั้นตอน

 

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

related