svasdssvasds

Whoscall ชี้คนไทยเป็นเหยื่อวันละ 2 แสนราย! แชร์การรับมือมิจฉาชีพยุค 5.0

Whoscall ชี้คนไทยเป็นเหยื่อวันละ 2 แสนราย! แชร์การรับมือมิจฉาชีพยุค 5.0

Whoscall แจกโค้ดพรีเมียม 3 ล้านโค้ด มูลค่ากว่า 1 พันล้านบาท ตั้งเป้าปี 2567 ช่วยชาติเซฟเงิน 2.8 หมื่นล้านบาท ลดมูลค่าความเสียหายช่วยคนไทยจากมิจฉาชีพ

SHORT CUT

  • Whoscall ยังมีรายงานเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถิติในปี 2566 คนไทยที่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ มีถึงวันละ 217,047 ราย
  • มีคนไทยได้รับสายจากมิจฉาชีพถึง 20.8 ล้านครั้ง และถูกมิจฉาชีพ หลอกลวงจาก SMS มากกว่า 58.3 ล้านข้อความ
  • การหลอกให้ดาวน์โหลดโปรแกรมหรือ แอปพลิเคชันที่อันตราย 20% และการหลอกให้เข้าไปที่หน้าช้อปปิ้งออนไลน์ปลอม 8% 

Whoscall แจกโค้ดพรีเมียม 3 ล้านโค้ด มูลค่ากว่า 1 พันล้านบาท ตั้งเป้าปี 2567 ช่วยชาติเซฟเงิน 2.8 หมื่นล้านบาท ลดมูลค่าความเสียหายช่วยคนไทยจากมิจฉาชีพ

บริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall แอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จัก และป้องกันสแปม สำหรับสมาร์ทโฟน โดยเดินหน้าส่ง แคมเปญ “จับมือเพื่อนรัก ตัดสายมิจร้าย (SAVE FRIENDS FROM FRAUD)” ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ อาทิ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

และภาคเอกชน อาทิ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน), ทรูมันนี่ วอลเล็ท บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด, บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน), บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จํากัด บาร์บีคิวพลาซ่า , บัตร Max Card บริษัท แมกซ์ โซลูชั่น เซอร์วิส จำกัด ในเครือ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน), บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (มหาชน), บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จํากัด (มหาชน), บริษัท วีโว่ ประเทศไทย และ สโมสรบลูเวฟ ชลบุรี ฟุตซอล คลับ รวมถึง อินฟลูเอนเซอร์ในแขนงต่างๆ เพื่อขับเคลื่อน ให้เป็นวาระแห่งชาติ ปลุกคนไทย 70 ล้านคน ให้ดูแลคนที่รักพ้นภัย จากมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ 

Whoscall ชี้คนไทยเป็นเหยื่อวันละ 2 แสนราย! แชร์การรับมือมิจฉาชีพยุค 5.0

โดย Whoscall ผนึกกำลังทุกภาคส่วนเพื่อให้ความรู้ผ่านทางสื่อช่องทางต่าง ๆ สร้างการรับรู้ และภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวง รวมถึงมอบเครื่องมือด้านเทคโนโลยี เพื่อเป็นเกราะป้องกันภัยแก่ประชาชน แจกโค้ด Whoscall พรีเมียม ฟรี จำนวน 3 ล้านโค้ด ผ่านกิจกรรมต่างๆ ของพาร์ทเนอร์ที่เข้าร่วมแคมเปญนี้ รวมมูลค่ากว่า 1 พันล้านบาท โดยเริ่มกิจกรรมตั้งแต่เดือน พฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป

ป้องกันคนไทยให้พ้นจากการถูกหลอกลวงทางดิจิทัล

คุณแมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท Gogolook จำกัด กล่าวว่า ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มด้านการป้องกันและต่อต้านการหลอกลวงในรูปแบบดิจิทัล รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เปิดตัวแคมเปญ “จับมือเพื่อนรัก ตัดสายมิจร้าย (SAVE FRIENDS FROM FRAUD)” ในประเทศไทย  เนื่องด้วยการหลอกลวงทางโทรศัพท์มีการแพร่หลายเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทาง Whoscall จึงมีความตั้งใจและมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ในการต่อสู้กับกลโกงและการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ โดยได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรเชิงกลยุทธ์และพันธมิตรที่มีศักยภาพด้านต่างๆ เพื่อรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน

Whoscall เปิดตัวฟีเจอร์ ID Security

เพราะเป้าหมายที่สำคัญนี้ ในช่วงต้นปีทาง Whoscall ได้เปิดตัวฟีเจอร์ ID Security ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบได้ว่าหมายเลขโทรศัพท์ของตนเอง ตกเป็นเหยื่อของเว็บมิจฉาชีพหรือไม่ ด้วยความเชี่ยวชาญ รวมไปถึงทรัพยากรข้อมูลจำนวนมหาศาล และเทคโนโลยี AI อันล้ำสมัย ทาง Whoscall จึงมุ่งมั่นที่จะสร้างเสริมความแข็งแกร่งในการป้องกันคนไทยให้พ้นจากการถูกหลอกลวงทางดิจิทัล”

สำหรับปี 2566 คนไทยได้รับข้อความ SMS ที่เป็นข้อความสแปมและข้อความหลอกลวงเฉลี่ย 6 ใน 10 ครั้ง ของข้อความ SMS ทั้งหมดที่ได้รับ หรือคิดเป็นร้อยละ 63 ซึ่งประเทศไทยยังเป็นประเทศที่ติดอันดับการ ได้รับข้อความ SMS หลอกลวงสูงที่สุดในเอเชียอีกด้วย โดยการหลอกลวงนั้นจะมีหลายรูปแบบ อาทิ การหลอกให้ล็อกอินเข้าเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันปลอม เช่น ส่วนที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งถือว่าสูงที่สุดคือ 27% การหลอกให้ดาวน์โหลดโปรแกรมหรือ แอปพลิเคชันที่อันตราย 20% และการหลอกให้เข้าไปที่หน้าช้อปปิ้งออนไลน์ปลอม 8% เป็นต้น”

Whoscall ชี้คนไทยเป็นเหยื่อวันละ 2 แสนราย! แชร์การรับมือมิจฉาชีพยุค 5.0

คนไทยตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพวันละ 217,047 ราย

ทาง  Whoscall ยังมีรายงานเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถิติในปี 2566 คนไทยที่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ มีถึงวันละ 217,047 ราย โดยมีคนไทยได้รับสายจากมิจฉาชีพถึง 20.8 ล้านครั้ง และถูกมิจฉาชีพ หลอกลวงจาก SMS มากกว่า 58.3 ล้านข้อความ ซึ่งเป็นจำนวนยอดที่เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2565 ที่มียอดรวมของ สายโทรศัพท์หลอกลวงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22 และ ข้อความ SMS เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17 รวมมูลค่าความเสียหายสะสมกว่า 53,875 ล้านบาท 

มิจฉาชีพใช้เทคโนโลยีขั้นสูง AI Deep Fake

คุณฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ บริษัท Gogolook กล่าวว่า  “ Whoscall มีความตั้งใจในการนำเสนอแคมเปญ “จับมือเพื่อนรัก ตัดสายมิจร้าย (SAVE FRIENDS FROM FRAUD)”  เนื่องจากการหลอกลวงทางโทรศัพท์ได้ถูกยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ โครงการนี้ทำให้ทาง Whoscall ร่วมมือกับพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ในการต่อสู้กับปัญหาที่แพร่กระจายไปทั่วนี้ และด้วยวิวัฒนาการของกลโกงการหลอกลวงที่มาถึงยุค 5.0 เป็นยุคที่มิจฉาชีพหลอกด้วย AI  อาทิ การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง AI Deep Fake ในการปลอมตัวตน หรือเก็บและนำข้อมูลส่วนตัวมาหลอกให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น

โดยเริ่มพบเห็นการหลอกในรูปแบบ โทรมาด้วยเสียงของคนที่คุ้นเคยและข้อมูลที่ระบุตัวตนถูกต้อง ซึ่งสามารถทำให้ตกเป็นเหยื่อได้ง่ายยิ่งขึ้น คนไทยทุกคนจึงมีความจำเป็นต้องยืนหยัดร่วมกันเพื่อต่อต้านภัยคุกคามที่แพร่กระจายนี้ ในขณะที่ความเสี่ยงต่อการสูญเสียทรัพย์สินยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยการร่วมมือเคียงข้างไปกับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ทาง Whoscall เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของพนักงาน ลูกค้า ตลอดจนประชาชนในชุมชนที่เป็นวงกว้าง Whoscall จึงได้ร่วมมือกันเพื่อให้ความรู้ ปกป้อง และรักษาความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนชาวไทยทุกคนในโลกดิจิทัลที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related