svasdssvasds

รู้กันหรือยัง? ไทยเคยมีกมธ.ฝุ่น ตั้งแต่ ปี 63 หวังแก้ PM 2.5 ธรรมนัส นั่งประธาน

รู้กันหรือยัง? ไทยเคยมีกมธ.ฝุ่น ตั้งแต่ ปี 63 หวังแก้ PM 2.5 ธรรมนัส นั่งประธาน

รู้กันหรือยัง? ประเทศไทย เคยมี คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในประเทศไทยอย่างยั่งยืน เตั้งแต่ปี 63 หวังแก้ PM 2.5 ธรรมนัส พรหมเผ่า นั่งประธาน

ปัญหา ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 กลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ถูกสปอร์ตไลท์ แสงไฟจับจ้องในเวลานี้ เพราะบริเวณภาคเหนือของไทย อย่างจังหวัดเชียงใหม่ เพิ่งจะมีคุณภาพย่ำแย่ที่สุดในโลก ในช่วงเช้าของวันที่ 27 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา  

และสืบเนื่องเพราะจากปัญหานี้ มีผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทยทั้งหมด ทำให้ ชาวโซเชียลต่างสืบค้นข้อมูล และพบว่า ที่จริงแล้ว ประเทศไทย มี ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในประเทศไทยอย่างยั่งยืน มาตั้งแต่ปี 2563
.
โดย สภาฯ  มีการ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในประเทศไทยอย่างยั่งยืน ในสมัยรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อช่วงต้นปี 2563 โดยคณะกรรมการชุดนี้ ตามข้อมูล www.parliament.go.th ระบุว่า รายนาม คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5 ) อย่างเป็นระบบ  โดยมี นาย ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็น ประธานคณะกรรมาธิการ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม SPRiNG ได้โทรสัมภาษณ์สอบถามไปยัง นาย นิติพล  ผิวเหมาะ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สี่  ของ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในประเทศไทยอย่างยั่งยืน และได้คำอธิบาย "กรรมาธิการวิสามัญ" ชุดนี้  เป็นคณะศึกษา และทำรายงาน  ทำข้อเสนอแนะ  เข้าไปรายงานในสภา เพื่อให้ ส.ส. สอบถาม จากนั้น ส.ส.เข้าใจปัญหาทั้งหมดแล้ว ก็จะมีการโหวต  ถ้าเห็นด้วยแล้ว ก็จะส่งไปยังรัฐบาล   โดย "คณะกรรมาธิการวิสามัญ" ไม่ได้มีคณะทำงานใดๆ  ไม่เหมือนคณะกรรมการต่างๆของฝั่งรัฐบาล ฝ่ายบริหาร 


นั่นหมายความว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในประเทศไทยอย่างยั่งยืน หมดสิ้นหน้าที่ไปแล้ว ไปตั้งแต่ 2 กันยายน ปี 2563 นับตั้งแต่รายงานทำเสร็จสิ้น

รู้กันหรือยัง? ไทยเคยมีกมธ.ฝุ่น ตั้งแต่ปี 63 มุ่งหวังแก้ PM 2.5 ธรรมนัส  นั่งประธาน คณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนั้น ตามที่โลกโซเชียลแชร์ จาก เพจ วิวาทะ V2

รู้กันหรือยัง? ไทยเคยมีกมธ.ฝุ่น ตั้งแต่ปี 63 มุ่งหวังแก้ PM 2.5 ธรรมนัส  นั่งประธาน คณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนั้น

รู้กันหรือยัง? ไทยเคยมีกมธ.ฝุ่น ตั้งแต่ปี 63 มุ่งหวังแก้ PM 2.5 ธรรมนัส  นั่งประธาน คณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนั้น

• เปิดรายชื่อ กมธ. ฝุ่น หวังแก้ PM 2.5 อย่างเป็นระบบ เมื่อปี 2563 ในอดีต

นายธรรมนัส  พรหมเผ่า ประธานคณะกรรมาธิการ
นายวิชาญ  มีนชัยนันท์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง
นายศุภชัย  ใจสมุทร รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง
หม่อมหลวงดิศปนัดดา  ดิศกุล รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สาม
นายนิติพล  ผิวเหมาะ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สี่
นายคุณากร  ปรีชาชนะชัย รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ห้า
นายชนินทร์  รุ่งแสง รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หก
นายบุญสิงห์  วรินทร์รักษ์ เลขานุการคณะกรรมาธิการ
นางสาวภาดาท์  วรกานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการ
นายวิสิษฐ์  เตชะธีราวัฒน์  โฆษกคณะกรรมาธิการ
นายกัญจน์พงศ์  จงสุทธนามณี โฆษกคณะกรรมาธิการ
นายอัครเดช  วงษ์พิทักษ์โรจน์ โฆษกคณะกรรมาธิการ
นายยงยุทธ  ติยะไพรัช ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ
นายภาคภูมิ  บูลย์ประมุข ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ
นางกรณิศ  งามสุคนธ์รัตนา ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ
นายธนิตพล  ไชยนันทน์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ
นายพรพจน์  เพ็ญพาส ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ
นายจักรพล  ตั้งสุทธิธรรม ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ
นางนันทนา  สงฆ์ประชา ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ
นางแสงเดือน  ชัยเลิศ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ
นายไผ่  ลิกค์ ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการ
นายเจเศรษฐ์  ไทยเศรษฐ์ ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการ
นางสาววรรณวรี  ตะล่อมสิน ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการ
นายกรวีร์  ปริศนานันทกุล กรรมาธิการ
นางสาวจอมขวัญ  กลับบ้านเกาะ กรรมาธิการ
นายจารุพล  เรืองสุวรรณ กรรมาธิการ
นางสาวชนก  จันทาทอง กรรมาธิการ
นายเชษฐา  โมสิกรัตน์ กรรมาธิการ
นายดนัย  ธีวันดา กรรมาธิการ
นายเถลิงศักดิ์  เพ็ชรสุวรรณ กรรมาธิการ
นายธารา  กุศลชาติธรรม กรรมาธิการ
นายนพร  โพธิ์พัฒนชัย กรรมาธิการ
นางนฤมล  ธารดำรงค์ กรรมาธิการ
นายบัญญัติ  เจตนจันทร์ กรรมาธิการ
นายปรเมศวร์  กุมารบุญ กรรมาธิการ
นายปริญญา  ฤกษ์หร่าย กรรมาธิการ
นางพิชชารัตน์  เลาหพงศ์ชนะ กรรมาธิการ
นางสาวไพลิน  เทียนสุวรรณ กรรมาธิการ
นางวรลักษณ์  ศรีสอาด กรรมาธิการ
นายศาสตรา  ศรีปาน กรรมาธิการ
นางสาวศุภมาส  อิศรภักดี กรรมาธิการ
นางสาวสกุณา  สาระนันท์ กรรมาธิการ
นางสาวสรัสนันท์  อรรณนพพร กรรมาธิการ
นางสุภาภรณ์  คงวุฒิปัญญา กรรมาธิการ
นางสุวรรณา  เตียรถ์สุวรรณ กรรมาธิการ
นายองอาจ  คล้ามไพบูลย์ กรรมาธิการ
นายองอาจ  วนามากสมบัติ กรรมาธิการ
นาย อนันต์  ฤกษ์ดี กรรมาธิการ
นายอำนาจ  วิลาวัลย์ กรรมาธิการ

ที่มา www.parliament.go.th

• แล้ว ร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด ถึงไหนแล้ว 

ทราบหรือไม่ว่า ที่ผ่านมา มีความพยายามผลักดันร่างกฎหมายเกี่ยวกับอากาศสะอาดอย่างน้อย 4 ร่าง แต่ถูกปัดตกไปแล้ว 3 ร่าง โดย ร่างล่าสุดที่ถูกปัดตกเมื่อกลางปี 2564 คือ ร่าง พ.ร.บ.การรายงานการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม (PRTR) 

ผ่านมาแล้วปีกว่าหลังจากการยื่นรายชื่อผู้สนับสนุน ร่าง พ.ร.บ. กำกับดูแลการจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ พ.ศ. … หรือ ร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด แต่กฎหมายนี้ยังโดนดองอยู่ และถึงแม้ว่า ร่างกฎหมายจะผ่านการรวบรวมรายชื่อครบถ้วนและส่งให้สภาไปเรียบร้อยแล้ว แต่เนื่องจากยังค้างอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ตอนนี้เครือข่ายจึงรณรงค์ใน change.org ควบคู่ไปด้วย แต่ยังต้องการเสียงสนับสนุนอีกมากให้ดังไปถึงนายกรัฐมนตรี

โดย ข้อมูลจาก iLAW ระบุว่า พรรคที่ผลักดัน ร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด ได้แก่ พรรคเพื่อไทย,พรรคภูมิใจไทย , และ พรรคพลังประชารัฐ 

• แล้ว ทำไมไทยต้องมี พ.ร.บ. อากาศสะอาด ? 

ทั้งนี้ เครือข่ายอากาศสะอาด หรือ Thailand CAN (Thailand Clean Air Network) เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มจิตอาสา นักวิชาการหลากหลายสาขา นักเคลื่อนไหวทางสังคม เอ็นจีโอด้านกฎหมายและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ปี 2562 และเริ่มเผยแพร่องค์ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 แก่คนไทย ซึ่งเป็นฐานให้กับการร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว โดยความสำคัญของการระบุสิทธิที่จะหายใจอากาศสะอาด นำไปสู่การที่ประชาชนสามารถเรียกร้องสิทธินี้ได้โดยตรง ซึ่งพอมีสิทธิแล้ว ก็นำไปสู่หน้าที่ของรัฐเสมอ

เมื่อประชาชนมีสิทธิ รัฐก็มีหน้าที่ต้องคุ้มครองปกป้อง และทำให้สิทธินั้นบังเกิดผลขึ้นได้จริง นี่คือหลักสากลซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้ทำให้เห็นเป็นระบบว่า สิทธิของประชาชนมาก่อน แล้วหน้าที่ของรัฐจึงตามมา

นั่นหมายความว่า ถ้ารัฐทำผิด ประชาชนก็ฟ้องร้องได้  แต่ตอนนี้ ประเทศไทยก็ยังไม่มี พ.ร.บ. อากาศสะอาด และ ช่วงเวลานี้ รัฐบาลประยุทธ์ ก็ยุบสภา ไปแล้ว ทำให้เรื่องนี้ยังค้างคาอยู่ 
 

related