svasdssvasds

ลูกเห็บคืออะไร พายุลูกเห็บเกิดขึ้นได้อย่างไร? รู้ได้ไงว่าลูกเห็บจะตก

ลูกเห็บคืออะไร พายุลูกเห็บเกิดขึ้นได้อย่างไร? รู้ได้ไงว่าลูกเห็บจะตก

ลูกเห็บตกจากฟากฟ้า คงเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นวันไหน เวลาไหน เช่นเดียวกับเชียงใหม่เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2566 ที่ผ่านมา ดังนั้น ลูกเห็บเกิดขึ้นได้ยังไง?

ลูกเห็บที่เพิ่งตกหนักในจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2566 จู่ ๆ ก็ตกลงมากระทันหัน ไม่ทันตั้งตัว ทำให้บ้านเรือน ร้านค้า ได้รับความเสียหาย โดยไม่มีการแจ้งเตือนลูกเห็บเลย ดังนั้น บทความนี้ขอเพิ่มเป็นความรู้สักเล็กน้อย เกี่ยวกับ ลูกเห็บ เพราะนาน ๆ ทีจะตกในประเทศไทย และส่วนใหญ่ตกที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ลูกเห็บ คืออะไร?

ลูกเห็บ มีชื่อเรียกว่าภาษาอังกฤษว่า (Hail) คือ น้ำฟ้าที่ตกลงมาในลักษณะที่เป็นก้อนหรือชิ้นน้ำแข็ง เส่นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-50 มิลลิเมตร (0.2-2 นิ้ว) บ้างก็ตกเป็นก้อนเล็ก ๆ บ้างก็ตกเป็นก้อนขรุขระขนาดใหญ่ หรือมีขนาดตั้งแต่เม็ดถั่ว ไปยังขนาดเท่าลูกกอล์ฟ

ลูกเห็บคืออะไร Cr. Pixarbay พายุลูกเห็บเกิดจากอะไร

 

พายุลูกเห็บส่วนใหญ่เกิดขึ้นในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนองในฤดูร้อนหรือพายุฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม มักเกิดในประเทศไทยทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสามารถคาดหมายการเกิดได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลแผนที่อากาศผิวพื้น แผนที่ลมชั้นบน ผลการหยั่งอากาศชั้นบน ภาพถ่ายดาวเทียม อุตุนิยมวิทยาและผลการตรวจอากาศด้วยเรดาห์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หรือหากอธิบายให้เห็นภาพ ลูกเห็บคือเม็ดฝน ที่กำลังตกลงมา แต่เจอเข้ากับลมพายุของพายุฤดูร้อนพัดนำเอาความเย็นเข้าไปจับจนเม็ดฝนกลายเป็นน้ำแข็ง จากของเหลวถูกลมพัดทำให้เป็นของแข็งและตกลงมาสู่พื้นดิน ที่เราเรียกกันว่าลูกเห็บนั่นเอง

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลมว่าจะรับน้ำหนักลูกเห็บได้มากแค่ไหน หากลูกเห็บลูกใดมีน้ำหนักมากกว่าเกินกว่าที่ลมจะรับน้ำหนักและพัดให้ลอยได้ มันก็จะตกลงมายังเบื้องล่างตามแรงโน้มถ่วง

อย่างไรก็ดี สาเหตุของการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและเกิดลูกเห็บตก อาจเกิดขึ้นกับปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ การทรงตัวของอากาศต้องเป็นแบบไม่เสถียรภาพ อากาศยกตัวขึ้นในแนวดิ่ม และอากาศมีความชื้นสูง เป็นต้น

พายุลูกเห็บเกิดจากอะไร? Cr. Pixarbay

ดังนั้น พายุลูกเห็บ มักมาพร้อมกับ พายุฝนที่รุนแรง และมักสัมผัสได้จากอากาศที่เย็นลงในฤดูร้อน ดังนั้นหากมีการเตือนพายุฝนฟ้าคะนองและอากาศในฤดูร้อนเริ่มเย็นลง ให้คาดการณ์ไว้ก่อนได้ว่าลูกเห็บอาจตกตามมาได้

สถิติลูกเห็บตกหนักที่สุดในโลก

ตามข้อมูลจาก Wikipedia เผยว่า สถิติของลูกเห็บที่หนักที่สุดในโลกนั้น ตกที่ เมืองคอฟฟีย์วิลล์ (Coffeyville) รัฐแคนซัส ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2513 โดยหนักถึง 770 กรัม (หรือ 1.7 ปอนด์) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 14.5 เซนติเมตร (5.7 นิ้ว) ส่วนลูกเห็บที่ขนาดใหญ่ที่สุดนั้นตกที่ ออโรรา (Aurora) รัฐเนแบรสกา ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 17.8 เซนติเมตร (7 นิ้ว) แต่มีน้ำหนักน้อยกว่า อาจเนื่องมาจากมีบางส่วนแตกหลุดไปในระหว่างตกกระทบบ้าน

ถ้าขนาด 7 นิ้วนี้ตกใส่หัวคน ก็น่าจะหัวแตกหนักสุดก็คงอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น หากลูกเห็บตกอย่าฝืนออกไปด้านนอก ให้หาที่หลบกำบังไว้ โดยเฉพาะศีรษะ หากเกิดฝนฟ้าคะนองควรเข้าที่ร่ม หากไม่เกิดลูกเห็บ อย่างน้อยก็ลดความเสี่ยงอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ได้

ที่มาข้อมูล

กรมอุตุนิยมวิทยา

Wikipedia

related