svasdssvasds

นักวิจัยพบโรคใหม่ "พลาสติกซีส" ในนก ผลจากขยะพลาสติกในทะเล มนุษย์ติดได้?

นักวิจัยพบโรคใหม่ "พลาสติกซีส" ในนก ผลจากขยะพลาสติกในทะเล มนุษย์ติดได้?

ธรรมชาติส่งกลับคืนมนุษย์ นักวิทย์พบโรคใหม่ในนก "พลาสติกซีส" คาดมาจากมลพิษขยะพลาสติกในทะเล ที่เมื่อกินเข้าไปก็ก่อให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบ ลามเป็นมะเร็งได้

ขยะพลาสติกกำลังสร้างฝันร้ายให้กับมนุษย์มากกว่าที่คิด และธรรมชาติกำลังส่งคืนสิ่งแปลกปลอมสู่มนุษย์อีกครั้ง งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้เผยผลสรุปของการศึกษาที่น่าสนใจ อันบ่งบอกถึงการเสพติดพลาสติกในสังคมมนุษย์สมัยใหม่กำลังส่งผลให้เกิดโรคอุบัติใหม่ที่น่ากลัวพอ ๆ กับมะเร็ง ซึ่งมันถูกเรียกว่า “พลาสติกซีส”

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ขยะพลาสติกในทะเลกำลังกระตุ้นให้เกิดโรคไฟโบรติกชนิดใหม่ และมันเชื่อต่อกับมะเร็งที่เรียกว่า “พลาสติกซีส” นักวิจัยได้ทำการวิเคราะห์นกทะเล NSW ซึ่งส่วนใหญ่ตายจากการกินพลาสติกมาโคร (เศษพลาสติกที่ใหญ่กว่าไมโครพลาสติก)

great shearwater Cr. Elliott Hazen นักวิจัยพบว่า นกเหล่านี้มีพังผืด ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อหนาเกิดขึ้น เป็นแผลที่แทรกซึมอยู่ในเยื่อบุด้านในของอวัยวะลทำหน้าที่ทำลายต่อมต่าง ๆ ภายในร่างกายของพวกมัน ซึ่งสามารถนำไปผนวกกับการศึกษาก่อนหน้าได้ที่มีการค้นพบพังผืดก่อตัวรอบไมโครพลาสติกในม้าม ไต และตับของสัตว์ทะเล

กระแสที่เพิ่มขึ้นของขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในหมาสมุทรนั้น ทำให้สารเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลกว่า 1,200 สายพันธุ์ ซึ่งรายงานของ Adrift Lab ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Hazardous Materials เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้เผยว่า จากการรวบรวมลูกนกที่เพิ่งตายและมีอายุระหว่าง 80-90 วัน จำนวน 21 ตัว บนเกาะ Lord Howe ในปี 2021

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การขยายตัวของพังผืดที่พบในนก พวกเขาพบว่านกเหล่านี้มีแผลเป็นร้ายแรงภายในท้องของพวกมัน ซึ่งมันไม่สอดคล้องกับอาหารของนกชนิดไหน ๆ เลย จากภาพด้านบนจะเห็นการลุกลามของเนื้อเยื่อแผลเป็นที่กระเพาะอาหารของนก ซึ่งส่งผลต่อต่อมที่ต่อสู้กับแบคทีเรียและกรดในกระเพาะอาหารให้ช่วยให้ร่างกายนกสามารถต่อสู้กับแบคทีเรียกและช่วยในการดูดซึมสารอาหารได้

การศึกษานำความกังวลมาให้แก่ชาววิจัยและมนุษย์ทั้งหลาย โรคนี้มีส่วนทำให้อวัยวะล้มเหลวได้ในกรณีรุนแรง และยังเป็นอาการของโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองเรื้อรังหลายชนิดอีกด้วย ซึ่งหากเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อก็สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ในท้ายที่สุดก็เป็นไปได้

ดังนั้น รู้หรือไม่ว่า ทุกวันนี้เรากำลังบริโภคพลาสติกกันอยู่ ซึ่งมันไม่ใช่การทานโดยตรงและก็ไม่สามารรู้ตัวได้ การศึกษาในปี 2022 ที่ตีพิมพ์ใน Science Of The Total Environment รายงานว่า พบไมโครพลาสติกอยู่ในอากาศ อาหารและน้ำดื่มของเราเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ยังได้ทดสอบปอดของมนุษย์ 13 แบบ และผลก็พบไมโครพลาสติก 39 ชิ้นในทุกพื้นที่ของ 13 แบบนั้น

ตัวอย่างนกผู้กล้าที่ทำให้เราพบคำตอบ

“นกขมิ้นในเหมืองถ่านหิน” ลูกนก Shearwater เป็นหนึ่งในสปีชีส์ที่สัมผัสกับพลาสติกมากที่สุดเนื่องจากพฤติกรรมการกินแบบผิวเผิน พวกมันถูกใช้เป็นนักทำนายอนาคตที่อาจเกิดขึ้นกับสัตว์ป่า หากโลกยังคงมีมลพิษดำเนินต่อไป

ประมาณร้อยละ 90 ของตัวอย่างลูกนกจะพบพลาสติกที่เนื้อเท้าอย่างน้อย 1 ชิ้น และบางตัวก็พบว่ามีพลาสติกอยู่ถึงร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัว ซึ่งในความเป็นจริง หากเทียบกับมนุษย์แล้ว ปริมาณนั้นมาขนาดเทียบเท่ากับการพบไมโครพลาสติกในมนุษย์

Great shearwater Cr. Peter Flood ดังนั้น นี่คือสิ่งที่นักวิจัยกังวลว่าสิ่งที่เกิดกับนกเหล่านั้น อาจเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ด้วยเช่นกัน หากมีพลาสติกในร่างกาย เกิดการแพ้ เสียดสี จนเกิดการติดเชื้อ อักเสบ สิ่งที่ตามมาก็คือมะเร็งดี ๆ สักก้อนนั่นเอง ซึ่งอาจจะเกิดตรงไหนก็ได้ที่มีพลาสติกเจือปนอยู่ตรงนั้น เช่น รังไข่ มดลูก หัวใจ และตับ เป็นต้น

ความสามารถของพลาสติกน่าทึ่งกว่านั้นอีกมาก เพราะโครงสร้างของพลาสติกบางประเภทผลิตจากน้ำมันดิบที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสารประกอบของน้ำมันที่เรียกว่าลิพิด ความคล้ายคลึงกันนี้ทำให้ไมโครพลาสติกมีความสามารถในการเดินทางผ่านเยื่อมหุ้มเซลล์ของมนุษย์และสัตว์ได้

ซึ่งหมายความว่า เมื่อถูกกลืนกินและย่อยสลายผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การย่อยอาหาร พลาสติกสามารถเคลื่อนย้ายไปทั่วร่างกายผ่านทางกระแสเลือดเพื่อแทรกซึมเข้าไปในอวัยวะที่สำคัญที่สุด

นักวิจัยพบโรคใหม่ "พลาสติกซีส" ในนก ผลจากขยะพลาสติกในทะเล มนุษย์ติดได้? การศึกษาในนกแสดงให้เห็นว่า เมื่อนกกินพลาสติกขนาดใหญ่เข้าไป มันอาจเข้าไปเจาะหรือทำให้อวัยวะบางอย่างรั่ว ร่างกายเลยพยายามรักษาด้วยการสร้างพังผืดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการรั่วไหล แต่จำนวนความเสียหายโดยรวมบ่งชี้ว่า มีบางอย่างทำให้เกิดการอักเสบภายในได้ด้วย

หากคิดในแง่ดี นี่ถือเป็นข่าวดีที่เราสามารถค้นพบปัญหาเพื่อหาทางแก้ไขได้ทัน แต่ถ้าหากได้รู้คำตอบแล้ว ปัญหาขยะพลาสติกไม่ถูกแก้ไข และยังคงดำเนินอย่างนี้ต่อเรื่อย ๆ อย่างไม่รู้ร้อนรู้หนาว ปัญหาก็จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และไม่มีจุดสิ้นสุด และอาจไม่ใช่แค่สัตว์เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ มนุษย์ก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย

ที่มาข้อมูล

7NEWS 7LIFE

Science Direct

related