svasdssvasds

ไทยเข้าสู่สภาวะ “เอลนีโญ” แล้ว กอนช. เตือน ภาคการเกษตร รับมือวางแผนการใช้น้ำ

ไทยเข้าสู่สภาวะ “เอลนีโญ” แล้ว กอนช. เตือน ภาคการเกษตร รับมือวางแผนการใช้น้ำ

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติชี้ประเทศไทยเข้าสู่สภาวะ “เอลนีโญ” แล้ว เตือนภาคการเกษตรควรวางแผนการใช้น้ำเพื่อสำรองถึงปีหน้า เตรียมซักซ้อมแผนเผชิญเหตุในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ติดตามสถานการณ์น้ำสัปดาห์นี้ พบประเทศไทยเข้าสู่สภาวะเอลนีโญกำลังอ่อน ย้ำต้องวางแผนบริหารจัดการน้ำให้เหลือสำรองถึงปีหน้า พร้อมเตรียมเริ่มซักซ้อมแผนเผชิญเหตุรับมือพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย หลังกรมอุตุฯ คาด ก.ค.-ส.ค.66 จะยังมีฝนมาก

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติเผยว่า ปัจจุบันปรากฎการณ์เอนโซได้เข้าสู่สภาวะเอลนีโญแล้ว แต่เนื่องจากยังเป็นเอลนีโญกำลังอ่อน จึงส่งผลให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกตั้งแต่ช่วงต้นปี 66 จนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ปริมาณฝนมีค่อนข้างน้อย โดยต่ำกว่าค่าปกติ 28% และอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าทุกปี ทำให้ในช่วงฤดูแล้งต่อเนื่องมาจนถึงฤดูฝน มีการจัดสรรน้ำเพื่อส่งเสริมด้านการเพาะปลูกพืชในจำนวนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง โดยภาคเหนือมีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าปกติ 38% ในขณะที่ภาคกลางมีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าปกติถึง 55%

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ทั้งนี้ จากแผนจัดสรรน้ำฤดูฝนในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จำนวน 5,500 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ขณะนี้จัดสรรน้ำไปแล้ว จำนวน 2,799 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 51% ของแผนทั้งหมด ซึ่งถือเป็นปริมาณน้ำจำนวนมาก เพื่อเป็นการส่งเสริมการเพาะปลูกของเกษตรกรในพื้นที่ เนื่องจากไม่สามารถปลูกข้าวนาปีโดยใช้น้ำฝนเป็นหลักได้จากผลกระทบของเอลนีโญ โดยขณะนี้ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการเพาะปลูกไปแล้ว 5.84 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 71% ของแผนการเพาะปลูกในช่วงฤดูฝนปีนี้

ประเทศไทยจะประสบกับสภาวะเอลนีโญอย่างต่อเนื่อง โดยจากเอลนีโญกำลังอ่อนในปัจจุบันจะกลายเป็นเอลนีโญกำลังปานกลางในช่วง ต.ค.-ธ.ค.66 หรือปลายปีนี้ จึงต้องมีการใช้ฝน ONE MAP เพื่อประเมินสถานการณ์น้ำต้นฤดูแล้ง ณ วันที่ 1 พ.ย.66 โดยคาดว่าจะมีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง ทั่วประเทศ จำนวน 46,177 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 65% ของความจุรวม ในจำนวนนี้เป็นน้ำใช้การ 22,635 ล้าน ลบ.ม. หริอคิดเป็น 48% ซึ่งปริมาณน้ำใช้การที่คาดการณ์นี้ มีจำนวนน้อยกว่าปริมาณน้ำใช้การ ณ วันที่ 1 พ.ย.65

อย่างไรก็ตาม หากมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพก็จะมีน้ำเพียงพอ แต่เนื่องจากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า สภาวะเอลนีโญจะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงกลางปี 67 และค่อนข้างมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องวางแผนบริหารจัดการน้ำในระยะยาว 2 ปี เพื่อสำรองน้ำล่วงหน้าไว้สำหรับการใช้น้ำในกิจกรรมต่าง ๆ ในฤดูแล้งหน้า ไปจนถึงส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวนาปีในช่วงฤดูฝน ปี 67 เพื่อยืนยันผลผลิตให้แก่เกษตรกรด้วย หากเกิดกรณีฝนน้อย” รองเลขาธิการ สทนช. กล่าว

related