svasdssvasds

ส่องโอกาสความเป็นไปได้ การใช้ “พลังงานไฮโดรเจน” ในไทยเป็นไปได้แค่ไหน?

ส่องโอกาสความเป็นไปได้ การใช้ “พลังงานไฮโดรเจน” ในไทยเป็นไปได้แค่ไหน?

พามาคุยกับผู้บริหารในแวดวงพลังงานไทย ถึงความเป็นไปได้การใช้ “พลังงานไฮโดรเจน” ในไทยเป็นไปได้แค่ไหน? ที่ยังอยู่ระวังการศึกษาอย่างเข้มข้น ในขณะที่..เยอรมันอาจจะยกเลิก เพราะต้นทุนสูง ขนส่งยาก ส่วนที่ญี่ปุ่นกำลังบูม

SHORT CUT

  • ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าวันนี้โลกกำลังเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดแล้ว เพราะทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเรื่องรักษ์โลก
  • ไฮโดรเจน คืออะไรทำไมทั่วโลก และไทยถึงให้ความสำคัญ โดยไฮโดรเจนธาตุที่ สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงาน
  • พามาคุยกับผู้บริหารในแวดวงพลังงานไทย ถึงความเป็นไปได้การใช้ “พลังงานไฮโดรเจน” ในไทยเป็นไปได้แค่ไหน?

พามาคุยกับผู้บริหารในแวดวงพลังงานไทย ถึงความเป็นไปได้การใช้ “พลังงานไฮโดรเจน” ในไทยเป็นไปได้แค่ไหน? ที่ยังอยู่ระวังการศึกษาอย่างเข้มข้น ในขณะที่..เยอรมันอาจจะยกเลิก เพราะต้นทุนสูง ขนส่งยาก ส่วนที่ญี่ปุ่นกำลังบูม

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าวันนี้โลกกำลังเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดแล้ว เพราะทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเรื่องรักษ์โลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการหันมาใช้พลังงานสะอาด รวมถึงพลังงานทดแทนอื่นๆ พลังงานไฮโดรเจน คือหนึ่งในพลังงานสะอาดที่กำลังมาแรง หลายประเทศเริ่มหันมาใช้พลังงานชนิดนี้มากขึ้น เพราะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยคาร์บอนได้เป็นอย่างดี

ไฮโดรเจน คืออะไรทำไมทั่วโลก และไทยถึงให้ความสำคัญ โดยไฮโดรเจน ธาตุที่สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม แต่ปัญหาสำคัญก็คือ การนำไฮโดรเจนออกมาใช้ต้องมีการแยกไฮโดรเจนจากสิ่งอื่น ๆ เช่น เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งกระบวนการผลิตจะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในชั้นบรรยากาศ ดังนั้น ในกระบวนการดังกล่าวจัดได้ว่ายังไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร

 

และ Green Hydrogen หรือ ไฮโดรเจนสีเขียว มีการพูดถึงในแวดวงการพลังงานสะอาดจำนวนมาก จึงกลายเป็นหนึ่งในแนวทางที่ช่วยแก้ปัญหานี้ เนื่องจากวิธีการผลิต Green Hydrogen นั้น แทบจะไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ การผลิตใช้เชื้อเพลิงทางเลือกที่มาจากแหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำ อาทิ พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้ Green Hydrogen เปรียบเสมือนพลังงานแห่งอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ทำลายระบบนิเวศวิทยา

สำหรับนวัตกรรมการผลิต Green Hydrogenหรือไฮโดรเจนสีเขียวเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น จนมีหลากหลายประเทศลงทุนในโครงการ Green Hydrogen เช่น สหรัฐอเมริกา, จีน, ออสเตรเลีย, สเปน, ฝรั่งเศส และประเทศอื่น ๆ เนื่องจากประโยชน์ที่จะได้จากการผลิต Green Hydrogen มีมากมาย เช่น ช่วยเปลี่ยนผ่านสู่สังคมไร้คาร์บอน (Net Zero) 

นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัตินำมาใช้งานได้ง่าย สามารถใช้กับระบบขนส่งก๊าซในปัจจุบันได้เลย ทั้งนี้ไฮโดรเจน คือพลังงานสะอาด ไม่ปล่อยมลพิษขณะใช้งาน มีประสิทธิภาพเทียบเท่าน้ำมันเชื้อเพลิง ประหยัดกว่าน้ำมัน 40 – 60% พร้อมทั้งมีระบบระบายความร้อนที่ควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตจากน้ำเปล่าเป็นธาตุที่ค้นพบได้ปริมาณมาก

อย่างไรก็ตามพลังงานไฮโดรเจน ที่เยอรมันได้มีการนำร่องในการใช้ในสถานีบริการน้ำมัน สุดท้ายพบว่าไม่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีรถเพียงไม่กี่ยี่ห้อที่ใช้ได้ อีกทั้งยังพบว่ามีต้นทุนสูง การจัดเก็บ การขนส่งทำได้ยาก มีคุณสมบัติติดไฟง่าย จึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับเครื่องยนต์สูง ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะทำให้เยอรมันจะลองหันไปทดลองพลังงานสะอาดอื่นๆ แทนพลังงานไฮโดรเจน ที่ค่อยข้างมีปัญหาพอสมควร

ในส่วนของ Green Hydrogen ในไทยถือเป็นวาระหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสนใจ โดยภาครัฐได้จัดทำแผนกลยุทธ์การนำไฮโดรเจนไปใช้ในภาคพลังงาน 4 ระยะ ดังนี้

  • ระยะสั้น (2021-2030) ยังใช้ Grey Hydrogen โดยเน้นไปที่การวิจัยนำร่อง
  • ระยะกลาง (2031-2040) เริ่มใช้ Blue Hydrogen ในภาคการผลิตไฟฟ้าและความร้อน
  • ระยะยาว (2041-2050) ใช้ Blue Hydrogen พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการผลิต
  • ระยะปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (2051 เป็นต้นไป) เริ่มใช้ Green Hydrogen

และในปัจจุบันประเทศไทยเริ่มใช้ Grey Hydrogen เป็นเชื้อเพลิงให้กับกังหันก๊าซที่โรงไฟฟ้าบางปะกงและลำตะคอง โดยผสมกับก๊าซธรรมชาติในอัตราส่วน 50% โดยโครงการนี้เป็นการวิจัยของ กฟผ. เพื่อศึกษาข้อดี ข้อเสีย และประสิทธิภาพของการทำงานของระบบกักเก็บพลังงาน และยังมีของปตท.ร่วมกับ OR ,บีไอจี , โตโยต้า ได้มีการทำการทดลองเปิดสถานีทดลองใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง แห่งแรกที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

พามาฟังมุมมองจากภาคเอกชนไทยในแวดวงพลังงานอย่าง นางกลอยตา ณ ถลาง รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธาน Carbon Markets Club ให้สัมภาษณ์ในงาน A Call to Action Go Green 2024 : The Ambition of Thailand จัดโดย กรุงเทพธุรกิจ ว่า ปี2567 คนตื่นตัวเรื่องภาวะโลกเดือดกันมากขึ้น

โดยคนเริ่มมาให้ความสำคัญว่าจะช่วยโลกยังไง และหน่วยงานต่างๆก็ให้ความสำคัญเรื่องการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดเช่นกัน ในส่วนของรัฐก็เริ่มเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น โดยส่วนตัวมองว่าพลังงานสะอาดไม่จำเป็นต้องเป็นพลังงานหมุนเวียนอย่างเดียว อื่นๆก็สามารถช่วยโลกได้ เช่นน้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐาน EURO 5 ก็สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เช่นกัน

ส่วนเรื่องพลังงานไฮโดรเจน ที่ไทยยังอยู่ในช่วงทดลองใช้ ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าจะเหมาะสมกับไทยหรือไม่ คุ้มต่อการลงทุน คุ้มต่อค่าใช้จ่ายหรือไม่ ส่วนตัวมองว่าประเด็นที่เยอรมันอาจยกเลิกใช้พลังงานไฮโดรเจน เป็นเพราะว่าความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป เช่นบางประเทศอาจเหมาะสมกับพลังงานอีกแบบหนึ่ง รวมถึงการนำมาใช้ที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่น รถเมล์ที่ญี่ปุ่นก็มีการนำพลังงานไฮโดรเจน มาใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ที่เยอรมันกับไม่ได้รับความนิยม แสดงให้เห็นว่าแต่ละพื้นที่มีความเหมาะสมของการใช้พลังงานที่แตกต่างกันออกไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

related