svasdssvasds

ยูโอบี จับมือศิลปินไทยแปลงชุดยูนิฟอร์มเก่าเป็นผลงานศิลปะ  จากวัสดุเหลือใช้

ยูโอบี จับมือศิลปินไทยแปลงชุดยูนิฟอร์มเก่าเป็นผลงานศิลปะ  จากวัสดุเหลือใช้

สิ่งทอเป็นอีกอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ แต่รู้ไหมว่าอุตสาหกรรมนี้สร้างผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อมมากมาย โดยพบว่าการผลิตสิ่งทอ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงประมาณ 1.2 พันล้านตันต่อปี จึงได้มีลดขยะสิ่งทอขึ้น โดยนำยูนิฟอร์มเก่ามาทำเป็นงานศิลปะและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

อุตสาหกรรมใหญ่ที่สร้างรายได้ และในขณะเดียวกันก็ก่อผลกระทบมายมายกับสิ่งแวดล้อม นั่นคืออุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งด้วยกระบวนการผลิตนี่เองที่ส่งผลรุนแรงให้กับสิ่งแวดล้อม ทั้งการปล่อยมลภาวะ การปล่อยสารพิษสู่น้ำและอากาศ อีกทั้งอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอยังการใช้น้ำมากกว่าภาคส่วนอื่น และยังใช้พลังงานจำนวนมาก และยังทำให้เกิดขยะอีกด้วย

ยูโอบี จับมือศิลปินไทยแปลงชุดยูนิฟอร์มเก่าเป็นผลงานศิลปะ  จากวัสดุเหลือใช้

เนื่องจากการเล็งเห็นความสำคัญของผลกระทบที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม อันมาจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จึงได้ร่วมกับ วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ ศิลปินหญิงแถวหน้าของไทยผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ กับแคมเปญ “Turning Trash to Treasured Art” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพื่อความยั่งยืน Waste to Wonder โดยนำชุดยูนิฟอร์มสาขาเก่าจำนวน 4,903 ชุดมาอัปไซเคิลเป็นผลงานศิลปะจัดวางที่มีชื่อว่า “Clothespocalypse” และนำมาอัปไซเคิลเป็นกระเป๋าใบใหม่หลากหลายแบบโดยตัดเย็บจากชุมชนผู้ตัดเย็บจากจังหวัดสมุทรสาครเช่น กระเป๋าเป้ กระเป๋าถือ ถุงผ้าพกพา เคสสาหรับโน๊ตบุ๊ก กระเป๋าใส่ขวดน้ำ และกระเป๋าอเนกประสงค์ เป็นต้น นอกจากนี้รายได้ทั้งหมดจากการจำหน่าย จะมอบให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก

เนื้อหาที่น่าสนใจ : 

ยูโอบี จับมือศิลปินไทยแปลงชุดยูนิฟอร์มเก่าเป็นผลงานศิลปะ  จากวัสดุเหลือใช้

นางสาวปิยพร รัตน์ประสาทพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือข่ายสาขาและบริการดิจิทัล ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นที่จะจัดการผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนชุมชนของเรา การทำงานร่วมกับ WISHULADA ในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการให้ชีวิตใหม่กับชุดยูนิฟอร์มแทนที่จะปล่อยทิ้งไปให้เป็นขยะในหลุมฝังกลบ ยังเป็นการสร้างโอกาสการจ้างงานให้กับชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย และยังนับเป็นการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกด้วย"

ยูโอบี จับมือศิลปินไทยแปลงชุดยูนิฟอร์มเก่าเป็นผลงานศิลปะ  จากวัสดุเหลือใช้

นางสาววิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ กล่าวว่า “เอ๋สร้างสรรค์ผลงานศิลปะทุกชิ้นจากวัสดุเหลือใช้ทุกประเภทเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพราะเอ๋เชื่อว่าพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ประกอบกับการวางแผนการดำเนินงานที่เหมาะสมตั้งแต่ต้นน้ำ เช่น กระบวนการผลิต จนถึงปลายน้ำ เช่น ผู้บริโภค เพื่อนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่จะช่วยลดปริมาณวัสดุเหลือใช้ที่ถูกทิ้งให้เหลือน้อยที่สุด”

ยูโอบี จับมือศิลปินไทยแปลงชุดยูนิฟอร์มเก่าเป็นผลงานศิลปะ  จากวัสดุเหลือใช้

ส่วนผลงานศิลปะจัดวาง ได้รับการสร้างสรรค์ภายใต้แนวคิด “Clothespocalypse” แสดงให้เห็นถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงประมาณ 1.2 พันล้านตันต่อปี โดยศิลปินต้องการสื่อความว่า เราทุกคนต้องคิดและมีสติในการใช้ทรัพยากรทุกประเภทอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

ความร่วมมือกับ WISHULADA ในโครงการนี้ คาดว่าจะมีค่าก๊าซเรือนกระจกที่สามารถหลีกเลี่ยงได้จากหลุมฝังกลบเป็นจำนวน 1,965.30 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 137.646 ต้น