svasdssvasds

โลกร้อน จุดเปลี่ยนวงการแฟชั่น มุ่งผลิตเสื้อผ้าโดยไม่สร้างก๊าซเรือนกระจก

โลกร้อน จุดเปลี่ยนวงการแฟชั่น มุ่งผลิตเสื้อผ้าโดยไม่สร้างก๊าซเรือนกระจก

อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ทั้งในเรื่องการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และสร้างปริมาณขยะเป็นอย่างมาก ตอนนี้อุตสาหกรรมแฟชั่นได้เปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีความยั่งยืนมากขึ้น

ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าได้ปรับเปลี่ยนทิศทางการดำเนินธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และกำลังสร้างซัพพลายเชนที่มั่นคงและคล่องตัวเพื่อความยั่งยืน รวมถึงสร้างความร่วมมือในระยะยาวกับผู้ผลิตเสื้อผ้าและวัตถุดิบต่างๆ ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นของระบบซัพพลายเชน แนวคิดนี้ทำให้ ฟาสต์ รีเทลลิ่ง สามารถบริหารระบบซัพพลายเชนทั้งหมดได้ดีขึ้น สามารถควบคุมขั้นตอนการผลิตทั้งหมดได้โดยตรงตั้งแต่ คุณภาพ การจัดซื้อ การผลิต สิ่งแวดล้อม และสิทธิพื้นฐานของแรงงาน

โลกร้อน จุดเปลี่ยนวงการแฟชั่น มุ่งผลิตเสื้อผ้าโดยไม่สร้างก๊าซเรือนกระจก

ฟาสต์ รีเทลลิ่ง บริษัทแม่ของยูนิโคล่ (Uniqlo) ได้ใช้แนวคิด RE.UNIQLO ส่งเสริมการนำเสื้อผ้ามารีไซเคิลและนำกลับมาใช้อีกครั้ง จากการเปิดตัวเสื้อดาวน์ขนเป็ดรีไซเคิลในปี 2563 และก็ได้มีการพัฒนาสินค้ารีไซเคิลอื่นๆ มาเรื่อยๆ จากเสื้อผ้าที่ทำด้วยผ้าแคชเมียร์ ผ้าวูล และผ้าฝ้าย โดยในปีนี้วางแผนการใช้วัสดุที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ เช่น วัสดุรีไซเคิล เพิ่มขึ้น 8.5% และสำหรับสินค้าที่ใช้เส้นใยโพลีเอสเตอร์ มีการเส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลคิดเป็น 30 % ของสินค้าทั้งหมดในกลุ่มนี้ โดยเป้าหมายของปีงบประมาณ 2573 อยู่ที่ 50%

ในปี 2566 นี้ สินค้าฮีทเทค (HEATTECH) และแอริซึ่ม (AIRism) ผลิตจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลและไนลอนเป็นครั้งแรก งานวิจัยที่มีมาต่อเนื่องสร้างความมั่นใจในเรื่องของความนุ่มสบาย นอกจากนี้เสื้อตัวนอก PUFFTECH ทำด้วยเส้นใยโพลีเอสเตอร์ รีไซเคิล รวมทั้งเสื้อยืดกราฟิก UT บางรุ่นยังทำมาจากเส้นใยฝ้ายรีไซเคิล

โลกร้อน จุดเปลี่ยนวงการแฟชั่น มุ่งผลิตเสื้อผ้าโดยไม่สร้างก๊าซเรือนกระจก

แนวคิด RE.UNIQLO เป็นการส่งเสริมการนำเสื้อผ้ามารีไซเคิลและนำกลับมาใช้อีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีโปรเจกต์เสื้อผ้ายูนิโคล่มือสอง โปรเจกต์นำร่องที่เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดนี้ โดยในระยะแรกร้านป็อปอัพสโตร์ซึ่งวางจำหน่ายสินค้ามือสองได้เปิดให้บริการในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่ร้านยูนิโคล่ สาขาฮาราจูกุ ในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ 11- 22 ตุลาคม 2566 และยังมีการเริ่มต้น RE.UNIQLO STUDIO บริการด้านการซ่อมแซมและปรับโฉมเสื้อผ้าได้ขยายสาขาไปทั่วโลก ซึ่งที่แรกเริ่มขึ้นที่ลอนดอน ปัจจุบันมีการให้บริการซ่อมเสื้อผ้าแล้วสาขา 35 แห่งใน 16 ประเทศ

นอกจากนี้นังมีการตั้งเป้าหมายในการลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHC) จากการใช้พลังงานในร้านสาขาและสำนักงานให้ได้ 90% ภายในปีงบประมาณ 2573 เมื่อเทียบกับระดับตั้งไว้ในปีงบประมาณ 2562 จนถึงปี 2565 สามารถลดระดับลงได้ถึง 45.7% ด้านการใช้พลังงานหมุนเวียนตั้งเป้าไว้จะใช้พลังงานหมุนเวียน 100% สำหรับร้านและสำนักงานทั่วโลกภายในปีงบประมาณ 2573 สำหรับปีงบประมาณ 2565 ได้ดำเนินการแล้ว 42.4 %

โลกร้อน จุดเปลี่ยนวงการแฟชั่น มุ่งผลิตเสื้อผ้าโดยไม่สร้างก๊าซเรือนกระจก

นอกจากนี้แนวคิดใหม่ของอุตสาหกรรมเสื้อผ้าคือ นโยบายการอนุรักษ์ความหลากหลายทางธรรมชาติของกลุ่มฟาสต์ รีเทลลิ่ง (Fast Retailing Group Biodiversity Conservation Policy) มีการจัดทำแบบประเมินเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเกี่ยวกับผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และความเสี่ยงด้านการพึ่งพาในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ซึ่งระบุถึงผลกระทบสำคัญของการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตผ้าแคชเมียร์ ผ้าวูล และผ้าฝ้าย 

สำหรับผ้าแคชเมียร์ ได้มีการร่วมมือกับนักวิจัยจาก University of the Ryukyus ประเทศญี่ปุ่น ในการใช้ดาวเทียมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสถานะของผลผลิตจากไร่ปศุสัตว์ที่ผลิตขนแพะแคชเมียร์ให้กับยูนิโคล่ โดยบุคลากรแผนกความยั่งยืนได้เยี่ยมชมไร่ปศุสัตว์ และทำการสำรวจภาคสนาม นอกจากนี้กำลังมีศึกษาเกี่ยวกับการนำเกษตรแบบหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้กับผ้าฝ้ายอีกด้วย

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :