svasdssvasds

จาก "ก้นบุหรี่" สู่ "ยางมะตอย" ปูพื้นถนน ไอเดียรักษ์โลกจากสโลวาเกีย!

จาก "ก้นบุหรี่" สู่ "ยางมะตอย" ปูพื้นถนน ไอเดียรักษ์โลกจากสโลวาเกีย!

"ยางมะตอย" ปูพื้นถนนทำจาก "ขยะบุหรี่" สุดยอดแนวคิดเปลี่ยนโลกจากประเทศสโลวาเกีย ที่เพิ่มมูลค่าให้กับขยะ ด้วยการนำไปทำเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่าง "ถนน" ช่วยลดขยะได้จริง แต่จะเวิร์กไหม?

รู้หรือไม่ว่า! ก้นบุหรี่ (Cigarette Butt) คือขยะที่ถูกทิ้งเกลื่อนมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศในยุโรป บุหรี่ที่เราเห็นนั้นประกอบไปด้วยสารเคมีที่เป็นพิษมากถึง 7,000 ชนิด (WHO) นอกจากนี้ ก้นบุหรี่ยังประกอบไปด้วยไมโครพลาสติก (Microplastic) ซึ่งยากต่อการย่อยสลาย แถมยังก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล

ภายหลังทำให้หลาย ๆ ประเทศทางฝั่งยุโรป เริ่มออกมาตรการเก็บค่าปรับสำหรับบุหรี่ออกมา เพื่อต่อกรกับสายพ่นควันอย่างจริงจัง ในปี 2006 สหราชอาณาจักรในสมัยของนายกรัฐมนตรี โทนี แบลร์ (Tony Blair) ออก พ.ร.บ.สุขภาพ ที่ว่าด้วยเรื่องการแจ้งอัตราค่าปรับสำหรับ ผู้ทีสูบบุหรี่ขณะขับยานพาหนะ หรือผู้ที่สูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ ถือเป็นความผิดทางอาญา มีโทษปรับสูงสุด 2,500 ปอนด์ (111,000 บาท)

สโลวาเกียเปลี่ยนก้นบุหรี่เป็นยางมะตอยปูถนน

แคนาดาก็เจอปัญหาขยะบุหรี่ ไม่ต่างกัน องค์กรอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ประเทศแคนาดาต้องเผชิญกับขยะบุหรี่กว่า 4.5 ล้านมวนต่อปี ซึ่งส่งผลกระทบในแง่ลบแก่ทรัพยากรดิน น้ำ และทางเท้าของเมือง

แต่ปัญหานี้อาจหมดไป! เมื่อประเทศสโลวาเกียผุดไอเดียรักษ์โลก สามารถแปรรูปขยะก้นบุหรี่ที่รวบรวมมาจากเมืองบราติสลาวา (เมืองหลวง) แล้วสามารถนำไปผลิตเป็นยางมะตอยสำหรับปูพื้นถนนได้ นี่อาจจะเป็นทางออกสำหรับเมืองที่กำลังประสบปัญหาขยะบุหรี่

รวมถึงอาจเป็นหนทางสร้างจิตสำนึกให้กับสายพ่นทั้งหลาย ได้ตระหนักว่าหากคุณทิ้งบุหรี่ในภาชนะที่จัดเตรียมไว้ให้ การกระทำเช่นนั้น นอกจากจะช่วยให้ง่ายต่ออการจัดการขยะแล้ว ยังถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยรังสรรสิ่งที่ดีให้กับเมืองด้วย

สโลวาเกียเพิ่มมูลค่าให้กับบุหรี่ทิ้งแล้ว

Odvoz a Likvidácia Odpadu (OLO) บริษัทจัดการขยะของบราติสลาวา เมืองหลวงของประเทศสโลวาเกีย (Slovakia) ร่วมมือกับสภาเมืองบราติสลาวา บริษัท SPAK-EKO และบริษัท ECOButt ได้ร่วมมือกันรวบรวมก้นบุหรี่ ที่ถูกทิ้งไว้ในตามที่เขี่ยบุหรี่ทั่วเมือง

จากนั้น จะนำขยะบุหรี่ที่รวบรวมได้ มาแปรรูปเป็นเส้นใยพิเศษ และจะถูกนำไปต่อยอดเป็นยางมะตอยปูพื้นถนนในเมืองบราติสลาวา โดยปักหมุดไว้ว่า จะเริ่มโครงการนี้อย่างเป็นจริงเป็นจังในปีนี้ โดยหวังว่าจะลดขยะของสายควันลง และนำไปต่อยอดเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเมืองอย่าง “ถนน”

ยางมะตอยปูพื้นถนนทำจากก้นบุหรี่ ครั้งแรกของโลก! Cr. EcoButt

Martina Čechová กล่าวว่า สำหรับใครก็ตามที่เดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในเมือง แล้วหากพวกเขาป็นคนชอบสูบบุหรี่ เมื่อพวกเขาทิ้งบุหรี่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้ให้ มิเพียงแค่ช่วยให้ง่ายต่อการขยะ แต่ยังสามารถช่วยให้ขยะบุหรี่ ถูกหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบยางมะตอยปูพื้นถนนอีกด้วย

จุดรับทิ้งบุหรี่ในเมืองบราติสลาวา Cr. EcoButt

จุดรับทิ้งขยะบุหรี่ในเมืองบราติสละวา Cr. EcoButt

จะเวิร์กไหม?

ก่อนอื่นต้องบอกว่า เป็นไอเดียที่ยอดเยี่ยมมาก ในแง่ของการเล็งเห็นความสำคัญของขยะไร้ค่าอย่าง “ก้นบุหรี่” ที่ใครจะคิดว่าวันหนึ่งจะมีคนนำบุหรี่ที่สูบ ๆ กันไปทำไปยางมะตอยปูพื้นถนน

แต่จิตใจมนุษย์นั้นยากแท้หยั่งถึง แม้ทางเมืองจะนำร่องวิธีการลดขยะก้นบุหรี่มาอย่างดีแล้ว ต้องมาดูว่า ชาวเมืองบราติสลาวาจะเอาด้วยไหม ในความหมายว่า จะมีสามัญสำนึกในการทิ้งขยะบุหรี่ตามภาชนะที่เมืองเตรียมเอาไว้ให้ หรือไม่?

ขยะก้นบุหรี่ สู่ยางมะตอยปูพื้นถนน จะเวิร์กไหม? Cr. EcoButt

สำหรับตัวถนน ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะก่อนหน้านี้ บริษัท EcoButt เคยทดลองสร้างถนนจากยางมะตอยที่ทำจากก้นบุหรี่มาแล้ว ที่ Žiar nad Hronomเมืองทางภาคกลางของประเทศ ที่หลายคนเชื่อว่า นี่น่าจะเป็นถนนสายแรกของโลกที่ทำจากขยะก้นบุหรี่

หมายความว่า การที่เมืองบราติสลาวาไฟเขียวให้กับโครงการนี้ ก็ถือเป็นการย้ำกลาย ๆ แล้วว่า เรื่องนี้ “เวิร์ก” ทั้งช่วยลดขยะ สร้างจิตสำนึกให้ชาวเมือง แถมได้ถนนเพิ่ม นับว่าน่าเอาอย่างมาก ๆ

ประเทศในยุโรปใช้ไม้แข็ง เก็บ “ค่าปรับบุหรี่”

ย้อนกลับไปในปี 2006 สหราชอาณาจักรในสมัยของนายกรัฐมนตรี โทนี แบลร์ (Tony Blair) ได้ออก พ.ร.บ.สุขภาพออกมา 1 ฉบับ ว่าด้วยเรื่องการแจ้งอัตราค่าปรับสำหรับ ผู้ทีสูบบุหรี่ขณะขับยานพาหนะ หรือผู้ที่สูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ หากกระทำการดังกล่าว ถือเป็นความผิดทางอาญา มีโทษปรับสูงสุด 2,500 ปอนด์ หรือประมาณ 111,000 บาท

หลายประเทศในยุโรปเก็บค่าปรับบุหรี่ (สูบผิดที่ ผิดเวลา)

แคนาดาก็ไม่น้อยหน้า เผชิญปัญหา “ขยะบุหรี่” อย่างหนักหน่วง องค์กรอนามัยโลก (WHO) เผยว่า ประเทศแคนาดาต้องเผชิญกับขยะบุหรี่กว่า 4.5 ล้านมวนต่อปี ซึ่งสร้างผลกระทบในแง่ลบแก่ทรัพยากรดิน น้ำ และทางเท้าของเมืองอย่างมหาศาล

 

ที่มา: euronews , EcoButt , CBC

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related