svasdssvasds

บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกจากเศษเปลือกไม้ ย่อยสลายได้ ปล่อยคาร์บอนน้อยลง 6 เท่า

บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกจากเศษเปลือกไม้ ย่อยสลายได้ ปล่อยคาร์บอนน้อยลง 6 เท่า

สตาร์ทอัพด้านบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนในสหราชอาณาจักร เปิดตัวเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์จากเปลือกไม้ ซึ่งกระบวนการผลิตเม็ดที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ คล้ายกับกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติก แต่จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมย่อยสลายได้ และปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าถึง 6 เท่า

SHORT CUT

  • Bpacks สตาร์ทอัพในสหราชอาณาจักร ผลิตบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูปและเม็ดพลาสติกรักษ์โลกเพื่อใช้ทดแทนเม็ดพลาสติก
  • บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกจะย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์ในดินชื้นภายใน 1-2 เดือน
  • บรรจุภัณฑ์ที่สกัดจากเปลือกไม้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลงถึง 6 เท่า เมื่อเทียบกับวิธีการผลิตพลาสติกแบบดั้งเดิม

สตาร์ทอัพด้านบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนในสหราชอาณาจักร เปิดตัวเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์จากเปลือกไม้ ซึ่งกระบวนการผลิตเม็ดที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ คล้ายกับกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติก แต่จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมย่อยสลายได้ และปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าถึง 6 เท่า

Bpacks สตาร์ทอัพด้านบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนในสหราชอาณาจักร ใช้เทคโนโลยีพิเศษ ที่ผลิตทั้งบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูปและเม็ดพลาสติกรักษ์โลกเพื่อใช้ทดแทนเม็ดพลาสติก

เครดิต : Sustainable packaging News

กระบวนการผลิตเม็ดเพื่อทำบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากเปลือกไม้มีความคล้ายคลึงกับโพลีเมอร์มาก และไม่ต้องใช้เงินลงทุนในการเริ่มขึ้นรูป กระบวนการผลิตของ Bpacks เริ่มต้นด้วยการผสมเปลือกไม้ ตามด้วยการสร้างเม็ดหรือแผ่น และปิดท้ายด้วยการหล่อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นของแข็ง ซึ่งเกิดขึ้นโดยการฉีดขึ้นรูปหรือเทคนิคเทอร์โมฟอร์ม

วัสดุจะย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์ในดินชื้นภายใน 1-2 เดือน ในปัจจุบันโพลีเมอร์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่พบบ่อยที่สุด เช่น PLA หรือ PBAT จะสลายตัวเป็นน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ในปุ๋ยหมัก ซึ่งวัสดุที่ทำจากเปลือกมีความพิเศษคือจะเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักภายในหนึ่งสัปดาห์ในสภาพแวดล้อมที่มีการเคลื่อนไหว และทำให้ปุ๋ยหมักมีสารอาหารที่มีคุณค่ามากขึ้น

เครดิต : Sustainable packaging News

Bpacks ใช้เปลือกไม้ เศษไม้จากการผลิต ไม่ได้มาจากการตัดไม้ ด้วยระดับการผลิตเปลือกไม้โดยประมาณ 300-400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี สตาร์ทอัพจึงใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่มากมายนี้เพื่อสร้างโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การศึกษายังได้เน้นย้ำถึงศักยภาพในการต้านจุลชีพของสารสกัดจากเปลือกไม้จากต้นไม้หลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยีของ Bpacks ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลงถึง 6 เท่า เมื่อเทียบกับวิธีการผลิตพลาสติกแบบดั้งเดิม

เครดิต : Sustainable packaging News

ปัจจุบันตลาดบรรจุภัณฑ์ทั่วโลกที่มีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านยูโร และภาคส่วนบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนมีมูลค่า 285.3 พันล้านดอลลาร์ Bpacks ตั้งเป้าไปที่โอกาสทางการตลาด ส่วนแบ่งของบริษัทที่มีมูลค่า 348.1 พันล้านดอลลาร์ต่อปีที่ใช้จ่ายไปกับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก และได้กระตุ้นให้เกิดวัสดุใหม่ๆ และการลงทุนแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งนำเสนอโซลูชั่นบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ 

 

ที่มา : Sustainable packaging News

 

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :