svasdssvasds

ชายโคลอมเบียไม่ได้ป่วยระยะสุดท้าย ขอทำการุณยฆาต หลังต่อสู้กฎหมายมานาน

ชายโคลอมเบียไม่ได้ป่วยระยะสุดท้าย  ขอทำการุณยฆาต หลังต่อสู้กฎหมายมานาน

วิคตอร์ เอสโกบาร์ชาววัย 60 ปี ที่โดนโรครุมเร้า 17 โรค และเคย ขอสิทธิในการตายอย่างมีศักดิ์ศรี ได้กลายเป็นชาวโคลอมเบียคนแรก ที่ได้รับไฟเขียว อนุญาตให้รับความช่วยเหลือเพื่อทำ การุณยฆาต ได้ตามกฎหมาย โดยที่เขาไม่ได้อยู่ในสถานะของผู้ป่วยระยะสุดท้าย

"ผมจะไม่บอกคำลา...ผมจะบอกแค่ 'แล้วเจอกัน' "
.
นี่คือหนึ่งในถ้อยคำๆ ในช่วงเวลาท้ายๆชีวิตของ วิคตอร์ เอสโคบาร์ ชายโคลอมเบีย วัย 60 ปี ที่ต่อสู้กับโรคร้าย ต่อสู้กับกฎหมายการการุณยฆาตในประเทศโคลอมเบียมาอย่างยาวนาน ก่อนที่เข้าจะถึง "เป้าหมาย" ในการโบกมือลาโลกนี้ไปอย่างสงบอย่างที่เขาต้องการ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2022 ที่ผ่านมา 
.
ประเด็นการ ร้องขอให้ทำ การุณยฆาต ของ วิคตอร์ เอสโคบาร์ นั้นถือมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะ เขาคือ คนโคลอมเบียคนแรก ที่ไม่ได้อยู่ใน อาการป่วยขั้นสุดท้าย ที่เข้ารับการการุณยฆาต แต่อย่างไรก็ตาม วิคตอร์ เอสโคบาร์ แต่ถึงแม้ เขาจะไม่ใช่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย แต่สิ่งที่เขาต้องเผชิญอยู่นั้น มันก็เรียกได้ว่าอยู่ในสภาวะ หลุมดำแห่งความทรมานทั้งร่างกายและจิตใจมาหลายปี 

บนวัย 60 ปี วิคเตอร์ เอสโคบาร์ ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับ อาการป่วยจากโรคประจำตัวถึง 17 โรค อาทิ  โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง, โรคหลอดเลือดสมอง, ข้อเสื่อมอย่างรุนแรงจนเคลื่อนไหวได้จำกัด นอกจากนี้ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในชีวิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การมีชีวิตอยู่ บนพายุแห่งโรคร้าย และ ภาวะการ "ไม่หลงเหลือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์" ที่สมบูรณ์ มันอาจจะเป็นความเจ็บปวด ทุกข์ตรม และเป็นสิ่งที่ วิคตอร์ เอสโคบาร์ อยากเดินจากไปให้พ้นๆมานานแล้ว เพราะในอดีตเขาเคยร้องขอต่อศาล โดยเขาร้องขอเดินทางสู่ความตายอย่างสงบ  โดยในช่วงพฤศจิกายน 2021   วิคตอร์ เอสโคบาร์ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อ “ขอสิทธิในการตายอย่างมีศักดิ์ศรี” แต่สุดท้ายตอนนั้นเขาแพ้คดี

ชายโคลอมเบียไม่ได้ป่วยระยะสุดท้าย  ขอทำการุณยฆาต หลังต่อสู้กฎหมายมานาน Credit ทวิตเตอร์ Luis Giraldo Montenegro
สำหรับ โคลอมเบีย นั้น มีกฎหมาย ให้กระทำการุณยฆาตได้เฉพาะกับผู้ป่วยในระยะสุดท้ายที่ประเมินแล้วว่าจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน ต่อมาก็มีการปรับแก้กฎหมายเมื่อปีที่แล้ว โดยตัดคุณสมบัติการเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายและมีชีวิตได้ไม่เกิน 6 เดือนออกไป และต้องมีภาวะป่วยทางกายหรือจิตรุนแรงที่ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี   ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำให้ วิคตอร์ เอสโคบาร์ ได้ "เลือก" เส้นทางที่ตัวเองปรารถนา และจากไปอย่างมี "ศักดิ์ศรี" ในแบบที่เขาต้องการ
.
เคสกรณีการ "เลือก" เดินทางสู่ความตายอย่างสงบด้วยตนเอง ของ เอสโคบาร์นั้น ไม่ใช่เคสเดียวในช่วงที่ผ่านมาของโคลอมเบีย เพราะในเวลาไล่เลี่ยกัน มาร์ทา เซปุลเบดา ซึ่งเจ็บป่วยจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) และเกือบจะได้รับการการุณยฆาตเมื่อเดือนตุลาคม 2021 แต่ถูกคลินิกยกเลิกไม่กี่วันก่อนวันนัดหมาย จนกระทั่งทนายความนำเรื่องสู่ชั้นศาล ซึ่งศาลก็ยืนยันว่าเซปุลเบดามีสิทธิทำการุณยฆาต จนกระทั่งทำสำเร็จเมื่อวันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2022  เป็นคนที่ 2 ต่อจากวิคตอร์ เอสโคบาร์

สำหรับ ประเทศโคลอมเบีย ถือเป็นประเทศแรก ในแถบเทือกเขาอันเดียน ที่มีการยินยอมให้ทำ การุณยฆาต ให้กับผู้ป่วยที่ไม่ใช่ระยะสุดท้ายได้ และนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา หากนับจนถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2021 มีผู้ป่วยที่ร้องขอ การเดินทางสู่วาระสุดท้ายอย่างสงบในประเทศนี้ จำนวน 178 คนแล้ว
.
ทั้งนี้ กับคำถามที่ว่า การุณยฆาต คืออะไร ? คำตอบปัญหานี้ มันคือ  การฆ่าด้วยความเมตตาด้วยความหวังว่าจะช่วยให้ผู้ถูกฆ่า หลุดพ้นจากความทรมานด้วยวิธีการที่สงบ  ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามรูปแบบการลงมือ

1. การุณยฆาตเชิงรุก (Active Euthanasia) คือ การตั้งใจทำให้ผู้ถูกฆ่าเสียชีวิต อย่างเช่น การฉีดยา โดยประเทศที่เปิดทางให้มีการการุณยฆาตเชิงรุก อาทิ แคนาดา โคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และลักเซมเบิร์ก ขณะที่การฆ่าตัวตายด้วยความช่วยเหลือทางการแพทย์ ถูกกฎหมายในญี่ปุ่น เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐ
.
 2. การุณยฆาตเชิงรับ (Passive Euthanasia) คือ การไม่ใช้เครื่องมือหรือวิธีการอะไรตามเพื่อช่วยยืดความตายออกไป อย่างเช่น การปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต อาทิ เกาหลีใต้ โปรตุเกส ฝรั่งเศส สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร อาร์เจนติน่า อิตาลี อินเดีย อิสราเอล และไอร์แลนด์  ส่วนออสเตรเลีย มีความแตกต่างกันในข้อกฎหมายในแต่ละรัฐไป 
.
ขณะที่ประเทศไทย ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 มาตรา 12 ได้ระบุว่า “บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจต นา ของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”
.
...กับคำพูดของ  วิคตอร์ เอสโคบาร์ ชายผู้เดินทางสู่ความตายที่ตัวเองปรารถนา ที่ทิ้งไว้ในช่วงวาระสุดท้าย ว่า "ผมจะไม่บอกคำลา...ผมจะบอกแค่ 'แล้วเจอกัน' มันคงมีความหมาย และเป็นการ "ปลด" พันธนาการแห่งความทรมานของชีวิต

มันคงเป็นเรื่องที่ดี ถ้าเรา "เลือก" ทางเดินในวาระสุดท้ายได้ ...ด้วยความ ไม่ทรมาน...

related