svasdssvasds

อัตราการครองเตียงโควิด กทม.-ปริมณฑลเริ่มตึงตัว

อัตราการครองเตียงโควิด กทม.-ปริมณฑลเริ่มตึงตัว

อธิบดีกรมควบคุมโรค เผย สัดส่วนอัตราการครองเตียงผู้ป่วยหนักเริ่มตึงตัว! ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะใน 4 จังหวัด เตรียมพร้อมระบบบริการ ด้านสธ. ระบุสามารถขยายเตียงเพิ่มได้ ส่วน กทม. ต้องหารือร่วมกันจัดระบบ กลุ่มเสี่ยงต้องรีบเข้าถึงการรักษาเพื่อลดการเสียชีวิต

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.)  เปิดเผยว่า  ขณะนี้ ใน กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี สัดส่วนการครองเตียงผู้ป่วยหนักเริ่มตึงตัว เนื่องจากมีคนไข้เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะทางรพ.ที่เคยกันไว้สำหรับโควิดก็เอาไปใช้สำหรับดูแลผู้ป่วยทั่วไป อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นก็จะขยับขยายเตียงเพิ่มได้  

นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า การเข้าถึงการรักษาของกลุ่มเสี่ยงเป็นประเด็นสำคัญที่จะช่วยลดการเสียชีวิตได้มากที่สุดในระยะต่อไป ซึ่งขณะนี้กราฟผู้ป่วยอาการหนักที่เข้ารพ.ยังอยู่ในเส้นสีเขียว สำหรับผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจแนวโน้มยังสูงอยู่แต่เชื่อว่าสถานการณ์จะคลี่คลายและเบาลง สำหรับผู้เสียชีวิตก็ไต่ระดับยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป ดังนั้นมามาตรการที่จะดำเนินการต่อไปนั้นความร่วมมือของประชาชนสำคัญมากจึงขอความร่วมมือทำ 2U คือ

  • Universal prevention สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือ 
  • Universal Vaccinations ฉีดวัคซีน

ซึ่งขณะนี้เปิดทุกที่ไม่เว้นวันหยุด รวมถึง เทศบาล ตำบลได้จัดชุดฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุตามบ้านด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นพ.โอภาส กล่าวว่า สายพันธุ์โอมิครอน BA.4 และ BA.5 อาการเด่นคือ

  • เจ็บคอ
  • ระคายคอ
  • มีน้ำมูก
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ปวดตามตัว
  • อาการเหมือนไข้หวัด

เพราะฉะนั้นคนหนุ่มคนสาวแข็งแรง ฉีดวัคซีนมาแล้วอาการก็จะอยู่ประมาณนี้ แต่ก็อย่านิ่งนอนใจโดยคิดว่าเป็นหวัดแต่หากมีอาการแล้วควรตรวจ ATK  สำหรับบริษัทห้างร้านหากมีคนติดโควิด ถ้าอาการน้อยให้แยกกักตัวที่บ้านตามคำแนะนำแพทย์ 7 วันเป็นอย่างน้อย หลังจากนั้นหากสบายดีก็สามารถกลับมาทำงานได้ อย่างไรก็ตามช่วง 3 วันแรกขอให้งดเว้นการพบกับผู้อื่น ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
 

เมื่อถามถึงกรณีมีรายงานผู้เสียชีวิตตามบ้าน นพ.โอภาส กล่าวว่า ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่กทม. จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องหารือกับเขา เพราะจะเป็นจุดที่มีปัญหา และต้องเห็นใจ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีรพ.เยอะ ทั้งเอกชน รพ.สังกัดมหาวิทยาลัย รพ.สังกัดกทม. และรพ.ภาครัฐอื่นๆ ทั้งสังกัดตำรวจ ทหาร การบูรณาการจัดการหากไม่คุยกันให้เข้าใจจะมีปัญหาเรื่องการจัดการ ซึ่งต้องยอมรับว่ากทม. ไม่มีระบบการส่งต่อผู้ป่วย  แตกต่างจากรพ.ในสังกัด สธ. ซึ่งสามารถสั่งการเรื่องการส่งต่อได้ ดังนั้น กทม.จึงต้องหารือ โดยสธ. ก็ต้องเป็นผู้ประสานให้มีการหารือกันเพื่อจัดระบบ

related