svasdssvasds

เดือดจัด โลโก้ไทยแลนด์ ขอเรียกค่าลิขสิทธ์ 1 ล้าน แต่ สมาคมขอจ่ายเแค่ 5 หมื่น

เดือดจัด โลโก้ไทยแลนด์ ขอเรียกค่าลิขสิทธ์ 1 ล้าน แต่ สมาคมขอจ่ายเแค่ 5 หมื่น

ดราม่าโลโก้ไทยแลนด์ ที่อ่านได้ทั้งสองภาษา เจ้าของผลงานขอเรียกค่าลิขสิทธิ์ 1 ล้าน แต่สมาคมปันจักสีลัตบอกไหวแค่ 5 หมื่นบาท ร้อนถึงเจ้าของขอเข้าแจ้งความอีกรอบ พร้อมย้ำเพราะตนไม่ได้รับความยุติธรรม

เมื่อช่วงมกราคมต้นปีที่ผ่านมาได้มีผลงานออกแบบโลโก้ที่เรียกเสียงฮือฮา ให้กับวงการการออกแบบโลโก้ไทย

ที่ต้องการออกแบบคำว่า ประเทศไทย ให้สามารถอ่านได้ทั้ง สองภาษา ทั้ง Thailand และ ไทยแลนด์ ในภาพเดียว

โดยฝีมือสุดเจ๋ง มากความสามารถและไอเดียนี้ เป็นของ นายสุชาล ฉวีวรรณ หลังจากที่มีผู้คนพบเห็นผลงานชิ้นนี้ก็ได้ทำให้ คุณสุชาล ฉวีวรรณ กลายเป็นที่รู้จักไปในชั่วข้ามคืน จากยอดไลก์ที่มากกว่า 1,500 ครั้ง และยอดแชร์ที่พุ่งมากกว่า 1,000 ครั้งกันเลยทีเดียว

เดือดจัด โลโก้ไทยแลนด์ ขอเรียกค่าลิขสิทธ์ 1 ล้าน แต่ สมาคมขอจ่ายเแค่ 5 หมื่น

แต่หลังจากกลายเป็นกระแสในเรื่องความสร้างสรรค์ได้ไม่นาน ก็เกิดกระแสดราม่าตามมาติดๆ จากกรณี เรื่องลิขสิทธิ์โลโก้ไทยแลนด์ ที่ปักอยู่บนเสื้อของทีมนักกีฬาซีเกมส์ 2021 จากทีมปันจักสีลัตลีลาไทย ที่มีลวดลายการปักโลโก้เหมือนกับเจ้าของผลงานอย่างกับพิมพ์เดียวกัน

เดือดจัด โลโก้ไทยแลนด์ ขอเรียกค่าลิขสิทธ์ 1 ล้าน แต่ สมาคมขอจ่ายเแค่ 5 หมื่น

จนเมื่อวันที่ 11 พ.ค.65 เจ้าของลิขสิทธิ์ได้ออกมาโพสต์เผยผ่านเฟซบุ๊คว่า ตนเองไม่เคยให้ใครนำโลโก้ดังกล่าวไปใช้ และต่อมาวันที่ 12 พ.ค.65 สมาคมกีฬาปันจักสีลัต ได้ออกมาแถลงการณ์ว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์

พร้อมขอกราบขออภัยต่อ นายสุชาล ฉวีวรรณ ผู้เป็นคนออกแบบโลโก้นี้และยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อีกด้วย และขออนุญาตให้สมาคมได้ใช้ตัวแบบโลโก้นี้ในการแข่งขันต่อไป

หลังจากมีการแถลงขอโทษจากสมาคมฯ นายสุชาล ฉวีววรณ อายุ 37 ปี ผู้ที่เป็นเจ้าของโลโก้ไทยแลนด์และเจ้าของลิขสิทธิ์ ได้เดินทางเข้าพบ ร.ต.อ.ชนินทร ดิสระ รอง สว.(สอบสวน) กก.1 บก.ปอศ. แจ้งความขอเอาผิดสมาคมกีฬาปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย

ในกรณีที่ถูกนักกีฬาจากสมาคมฯ นำผลงานไปใช้บนเสื้อของนักกีฬาปันจักสีลัต ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2021 ครั้งที่ 31 ประเทศเวียดนามในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

และเข้าเจรจาพูดคุยกันถึง 3 รอบ โดยมีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นคนกลาง และ นายสุชาล ฉวีวรรณ ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เรียกค่าเสียหายจำนวน 1 ล้านบาท แต่ทางสมาคมฯ ต่อรองขอจ่ายเพียงแค่ 5 หมื่นบาท

ล่าสุด 2 ส.ค. 65 เวลาประมาณ 13.30 น. นายสุชาล ฉวีวรรณ ได้ตัดสินใจเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับทางสมาคมฯ ในความผิดฐานละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ที่ ศูนย์รับแจ้งความกองบัญชาการสอบสวนกลาง (บช.ก.) ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กทม.

ทาง นายสุชาล ฉวีวรรณ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ตั้งแต่เกิดเหตุละเมิดลิขสิทธิ์นี้ ทางสมาคมฯ และตนได้ไกล่เกลี่ยผ่านกรมทรัพย์สินทางปัญญา แต่ตกลงกันไม่ลงตัว และส่วนตัวรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม วันนี้จึงต้องมาขอแจ้งความดำเนินคดี

ซึ่งทางตนเองได้ยื่นข้อเสนอ เรียกร้องค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 1 ล้านบาทไปพร้อมกับเอกสารประกอยว่าทำไมต้องเรียกเก็บเงินในจำนวนเท่านี้ แต่หลังจากนั้นตนไม่ทราบว่าทางสมาคมฯ ใช้หลักการใดในการพิจารณาและตอบกลับมาว่า สามารถชดใช้ให้ได้ในราคา 5 หมื่นบาท ถึง 1 แสนบาทเพียงเท่านั้น

ตนเองรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะผลงานดังกล่าวเป็นการใช้ความสามารถ ความคิดและความสร้างสรรค์ของตนเองออกแบบและนำเสนอ และเชื่อว่างานอักษรที่ตนออกแบบสามารถสร้างมูลค่าได้ด้วยตัวเอง

และการที่สมาคมฯ นำไปใช้ทำให้เกิดความสับสนว่าตนมอบสิทธิ์ให้ จึงเป็นความเสียหายและต้องมีการเรียกชดใช้ให้กับสิ่งที่เกิดขึ้น ยิ่งเป็นการนำไปใช้ในพื้นที่ ที่มีการรับรู้อย่างกว้างขวางอย่างงานกีฬาซีเกมส์ ตนจึงคิดว่าไม่เหมาะสม

 

และ นายสุชาล ฉวีวรรณ ได้ขอทิ้งท้ายว่า ที่ตนเดินทางมาแจ้งความในวันนี้ เพราะที่ผ่านมาตนได้ถือว่าให่เวลาคุยไกล่เกลี่ยแล้ว แต่สุดท้ายก็ไม่เป็นไปตามข้อตกลงและตนก็มีงานที่จะต้องทำ จึงคิดว่าเวลานี้เหมาะสมที่สุดที่จะดำเนินการอย่างจริงจัง

และในประเทศไทยนั้นด้านกฎหมายของลิขสิทธิ์ได้มีการระบุไว้ว่า “กฎหมายลิขสิทธิ์ เป็นกฎหมายที่กำหนดงานที่ได้รับความคุ้มครอง อันได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภท วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง

งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด

และลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน”

แม้ไม่ว่ารู้ว่าสรุปสุดท้ายนี้เรื่องนี้จะจบลงอย่างไร แต่ถือว่าเรื่องนี้เป็นบทเรียนราคาแพงให้กับเรื่องของลิขสิทธิ์์ที่ปัจจุบันคนยังไม่ค่อยใส่ใจหรือให้คุณค่ากับงานที่มีลิขสิทธิ์

เชื่อว่าเรื่องราวนี้จะทำให้คนตระหนักเพิ่มขึ้นว่า ผลงานทุกชิ้น หากไม่มีการยินยอมจากเจ้าของผลงานและเจ้าของลิขสิทธิ์ ก็ไม่มีสิทธ์หยิบยืมนำไปใช้โดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด

related