svasdssvasds

เปลี่ยนอคติเป็นพันธมิตรหนังเอเชีย! เคลียร์ดราม่า 'แม่ณุน VS แม่นาค'

เปลี่ยนอคติเป็นพันธมิตรหนังเอเชีย! เคลียร์ดราม่า 'แม่ณุน VS แม่นาค'

เปิดมุมมองผู้สร้างภาพยนตร์ 'แม่ณุน' ท่ามกลางดราม่าเลียนแบบ 'แม่นาค'? ชวนเปิดใจมองความคล้ายที่แตกต่าง เป็นโอกาสสร้างความร่วมมือดันภาพยนตร์ไทย-กัมพูชาสู่ระดับโลก

SHORT CUT

  • ผู้สร้างภาพยนตร์แม่ณุนแจงเนื้อหาต่างจากแม่นาค 100% เพราะเล่าถึงความรักของแม่ลูก ขณะที่แม่นาคเป็นความรักระหว่างสามี-ภรรยา
  • ยุค 1960 วงการภาพยนตร์ไทยและกัมพูชาเคยช่วยเหลือกันอย่างใกล้ชิด และเป็นโอกาสพัฒนาภาพยนตร์เอเชีย
  • วัฒนธรรม-ความเชื่อที่ใกล้เคียงกันทำให้ภาพยนตร์หลายเรื่องดูคล้ายกัน แต่มีเส้นเรื่องที่ต่างกัน ขอให้ผู้ชมเปิดใจ

เปิดมุมมองผู้สร้างภาพยนตร์ 'แม่ณุน' ท่ามกลางดราม่าเลียนแบบ 'แม่นาค'? ชวนเปิดใจมองความคล้ายที่แตกต่าง เป็นโอกาสสร้างความร่วมมือดันภาพยนตร์ไทย-กัมพูชาสู่ระดับโลก

ภาพยนตร์แม่ณุน (The Dark Mother) เข้าฉายในประเทศไทยวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ท่ามกลางกระแสดราม่าบนโลกออนไลน์ตั้งคำถามว่าลอกเลียนแบบภาพยนตร์ 'แม่นาค พระโขนง' หรือไม่? 

ทีมข่าว SPRiNG สัมภาษณ์พิเศษคุณ Bun Channimol - ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท Sastra จำกัด ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ แนวคิดของภาพยนตร์และกระแสสังคมเป็นโลกออนไลน์

"รู้สึกช็อกและเศร้า เพราะถ้าเราชอบใครเราจะคิดว่าเขาจะต้อนรับเราเหมือนที่เราชื่นชมเขา แต่เป็นเพราะคนไทยยังไม่ยังเข้าและยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ทั้งเรื่อง นั่นจึงทำให้ฉันกล้าที่จะเสี่ยงมาที่ไทย ทำให้เป็นโอกาสให้คนไทยเข้าใจ"

เธอเล่าถึงความตั้งใจที่เอาภาพยนตร์เรื่องนี้เข้ามาโปรโมทและฉายในโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย เพราะเป็นโอกาสที่จะทำให้สังคมไทยเข้าใจถึงวัฒนธรรมของสองประเทศที่คล้ายกัน แต่ผู้ผลิตภาพยนตร์ก็มีไอเดียแปละเส้นเรื่องที่ต่างกันออกไป 

แม่ณุน (The Dark Mother)

เช่นเดียวกับ 'แม่ณุน' ที่หลายคนวิจารณ์ว่าเหมือนกับตำนานภาพยนตร์ไทยเรื่อง 'แม่นาค' แต่แท้จริงแล้วเนื้อเรื่องของแม่ณุน พูดถึงความรักของแม่ที่ไม่มีวันตาย โดยโครงเรื่องพูดถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่เสียชีวิตระหว่างคลอดลูก หรือตายทั้งกลม ในขณะที่ตอนนั้นเธอมีลูกอยู่แล้ว 3 คน ทำให้วิญญาณของเธอยังวนเวียนคอยปกป้องดูแลลูกไม่ห่างไปไหน และเมื่อลูกของเธอถูกรังแกจากคนในหมู่บ้านและถูกขับออกจากหมู่บ้าน เธอจึงต้องทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องลูก แม้จะต้องทำบาปก็ตาม ขณะที่ลูกสาวของเธอกลับไม่เข้าใจและทำไม่ดีกับแม่เพื่อต้องการให้วิญญาณของแม่เลิกเข้ามายุ่งวุ่นวายกับชีวิตเธอ ซึ่งทำให้แม่ณุนเสียใจอย่างมาก

 

เธอเล่าว่า เรื่องราวของวิญญาณของแม่ที่คอยวนเวียนอยู่ใกล้เพื่อปกป้องลูก เป็นความเชือและเรื่องเล่าที่เธอได้ฟังจากคุณยายและผู้เฒ่าผู้แก่ในกัมพูชาเล่าสืบต่อกันมา ประกอบกับความเชื่อแบบพุทธผสมการนับถือภูตผีของชาวเขมร ทำให้เธอนึกถึงความเชื่อที่ว่า เวลาเจอกับเรื่องที่ไม่ดี เรามักจะไหว้ขอบรรพบุรุษให้ปกป้องคุ้มครองและช่วยเหลือ แม้ความโชคดีและความสำเร็จ ส่วนหนึ่งมาจากการกระทำ แต่เธอยังเชื่อว่าส่วนหนึ่งย่อมมาจากวิญญาณของพ่อแม่ที่ยังรักและดูแลเรา

Bun Channimol - ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ Sastra Film Production

"ถ้าเก็บภาพยนตร์เรื่องนี้ไว้ฉายแค่ในกัมพูชา ไม่เข้ามาในไทย เมื่อไรคนจะเข้าใจว่าเรามีวัฒนธรรมที่คล้ายกัน แต่เส้นเรื่องต่างกัน"

เธอยกตัวอย่างภาษาว่า คำว่าขอบคุณกับ Arkoun หรือคำว่าแม่กับ Mae ในภาษาเขมรก็ออกเสียงใกล้เคียงกัน เนื่องจากวัฒนธรรมไทยและเขมรที่มีภูมิประเทศอยู่ใกล้เคียงกันก็ย่อมมีจุดร่วมที่เหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่เราต้องมาทวงสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันเหล่านี้ แต่ต้องเปิดใจเพื่อแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

Bun ยังยืนยันว่า เธอไม่คิดจะมีใครไปขโมยวัฒนธรรมไปจากใคร และเราศึกษาประวัติศาสตร์จะพบว่าช่วงทศวรรษที่ 1960 วงการภาพยนตร์ไทยและกัมพูชาต่างมีความใกล้ชิดกันมาก ผู้สร้างภาพยนตร์ทั้งสองประเทศต่างทำงานร่วมกัน และแลกเปลี่ยนกันส่งออกภาพยนตร์มาฉายในโรงภาพยนตร์ของทั้งสองประเทศและคนทั้งสองประเทศฏ็ให้การสนับสนุนภาพยนตร์ของกันและกัน แต่ปัจจุบันไม่มีภาพยนตร์กัมพูชามาฉายที่ไทยเหมือนเมื่อก่อน ทำให้คนไทยไม่คุ้นเคยกับภาพยนตร์กัมพูชามาเป็นระยะเวลานาน จึงคิดว่าวัฒนะรรมและความเชื่อของกัมพูชาที่ใกล้เคียงกับไทยและปรากฎในเนื้อเรื่องของภาพยนตร์กัมพูชาเป็นการลอกเลียนแบบ

 

ในทางกลับกัน เธอมองว่า แม้วันนี้ขนาดอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยจะใหญ่กว่ากัมพูชามาก แต่ถ้าหากเราใช้ความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมร่วมมือกันเหมือนในอดีตจะเป็นโอกาสให้อุตสาหกรรมนี้โตขึ้นอีกและภาพยนตร์ของทั้งสองประเทศไปสู่สายตาชาวโลกได้อย่างฮอลลิวูดหรือบอลลิวูดสักวันหนึ่ง

โปสเตอร์ภาพยนตร์ แม่ณุน

รับชมเพิ่มเติม