svasdssvasds

กว่าจะมาเป็น #สมรสเท่าเทียม ในสมัย "ประวัติศาสตร์" เคยพูดเรื่องนี้

กว่าจะมาเป็น #สมรสเท่าเทียม ในสมัย "ประวัติศาสตร์" เคยพูดเรื่องนี้

เมื่อกฎหมายสมรสเท่าเทียมของสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ ส่งผลให้ไทยกำลังจะเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ถัดจากไต้หวันและเนปาล และเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกัน

SHORT CUT

  • Spring จะมาชวนดูว่า กว่าจะมาเป็น "สมรสเท่าเทียม" ในสมัยประวัติศาสตร์ทั้งไทยและต่างประเทศ ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร เกี่ยวกับเรื่องนี้
  • ในสมัยก่อนกิจกรรมที่มีความหลากหลายทางเพศนั้นกำหนดให้เป็นความผิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2451 เนื่องจากได้มีการประกาศใช้กฎหมาย ร.ศ. 127 ด้วยค่านิยมวัฒนธรรมต่างๆ
  • ปี 2545 กรมสุขภาพจิตก็ได้มารับรองว่าการรักเพศเดียวกันไม่ใช่ความผิดปกติทางจิต ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในด้านการ "สมรสเท่าเทียม" ในหลายประเทศเริ่มเกิดขึ้น และสำเร็จครั้งแรกที่เนเธอร์แลนด์
     

เมื่อกฎหมายสมรสเท่าเทียมของสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ ส่งผลให้ไทยกำลังจะเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ถัดจากไต้หวันและเนปาล และเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกัน

วันนี้ Spring จะมาชวนดูว่า กว่าจะมาเป็น "สมรสเท่าเทียม" ในสมัยประวัติศาสตร์ทั้งไทยและต่างประเทศ ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยส่วนใหญ่แน่นอนว่าไปในทิศทางที่ไม่ค่อยจะยอมรับ สักเท่าไหร่นัก 

ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2554 ได้มีการใช้ศัพท์เรียกผู้ที่รักเพศเดียวกันว่า "กะเทย" นิยามแทน คนที่มีจิตใจและกิริยาอาการตรงข้ามกับเพศของตน และในสังคมไทยสมัยโบราณ จากเอกสาร "กฎหมายตราสามดวง" ในส่วนพระไอยการลักษณภญาน ก็กล่าวถึงกะเทย (กับบัณเฑาะก์) ว่าเป็นหนึ่งในคน 33 จำพวกที่ไม่สามารถเป็นพยานได้ เว้นแต่โจทก์หรือจำเลยยินยอม ความว่า "คน 33 จำพวกนี้ อย่าให้ฟังเอาเปนพญาณ ถ้า โจท/จำเลย ยอมให้สืบ ฟังเอาเปนพญาณได้"  

กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 

ในสมัยก่อน กิจกรรมทางเพศของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศนั้นกำหนดให้เป็นความผิดมาอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2451 เนื่องจากได้มีการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ขึ้น โดยในมาตรา 242 ได้บัญญัติไว้ว่า

"ผู้ใดทำชำเรา ผิดธรรมดามนุษย์ ด้วยชายก็ดี หญิงก็ดี หรือทำชำเราด้วยสัตว์เดียรฉานก็ดี ท่านว่ามันมีความผิด ต้องรวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงสามปี แลให้ปรับตั้งแต่ห้าสิบบาทขึ้นไป จนถึงห้าร้อยบาท ด้วยอีกโสดหนึ่ง"

"นายใน" สมัยรัชกาลที่ 6

แต่ในที่นี้เมื่ออ่านประโยคดูแล้ว ก็ไปในทิศทางที่เป็นคำพูดรุนแรงมากเกินไป และน่าจะมีคำพูดหรือประโยคอะไรที่น่าจะดูดีมากกว่านี้ แม้ความสัมพันธ์ทางเพศกับเพศเดียวกันจะเป็นความผิดตั้งแต่ ร.ศ.127 แต่การแสดงออกเป็นคนละเรื่องกัน ในรัชกาลที่ 6 ราชสำนักสยาม ขับเคลื่อนโดยผู้ชายตามความนิยมแบบวิคตอเรีย-เอ็ดเวอร์เดียน หรือที่บางคนเรียกว่า "นายใน" เป็นสังคมสุภาพบุรุษแบบอังกฤษ แต่ยอมรับการแสดงออกต่างๆ หรือนิยามว่าชายสวยนั่นเอง

กว่าจะมาเป็น #สมรสเท่าเทียม ในสมัย "ประวัติศาสตร์" เคยพูดเรื่องนี้

กฎหมายอาญา 2499 ประกาศสัมพันธ์เพศเดียวกันไม่มีความผิด

ความสัมพันธ์ทางเพศกับเพศเดียวกันโดยใจสมัครไม่มีความผิดนับแต่ประมวลกฎหมายอาญา 2499 ประกาศใช้ อย่างไรก็ตาม ความรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย ตั้งแต่ทศวรรษ 2500 (ประกาศใช้ ป.อาญา) ยังคงมีจำกัดไปอีกหลายทศวรรษ เพราะความรู้การแพทย์และจิตวิทยา ยังไม่เปิดกว้างมากเท่าไหร่ และด้วยค่านิยมวัฒนธรรมต่างๆในขณะนั้น ทำให้ภายหลังต่อมาความรักระหว่างเพศเดียวกันเริ่มถูกถอดออกจากความผิดปกติในทางการแพทย์และจิตวิทยา ประมาณกลางทศวรรษ 2510

"สมรสเท่าเทียม" เกิดขึ้นครั้งแรกที่เนเธอร์แลนด์

ทำให้แนวคิดสตรีนิยมก็เริ่มเกิดขึ้น และเข้าสู่สังคมไทยราวทศวรรษ 2540 ปี 2543 จึงมีการเรียกร้องมากยิ่งขึ้น ทำให้กฎหมายสมรสเท่าเทียมได้เกิดขึ้นครั้งแรกที่เนเธอร์แลนด์ ตั้งแต่นั้นหลายประเทศก็ทยอยผ่านกฎหมายนี้ 

และในปี 2545 กรมสุขภาพจิตของไทยก็ได้ออกมารับรองว่าการรักเพศเดียวกันไม่ใช่ความผิดปกติทางจิต ทำให้ความเคลื่อนไหวในด้านการสมรสเท่าเทียมก็เริ่มเพิ่มขึ้น และเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ พรมแดนความรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศก็ขยายขึ้นอย่างมาก แต่สุดท้ายก็ทำให้หลายๆประเทศ รวมถึงไทยเรา ได้เดินหน้ามาถึงกฎหมาย #สมรสเท่าเทียม สำเร็จเมื่อวานนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related