svasdssvasds

นายกฯ ห่วงคุณภาพชีวิต "แรงงาน" ผลักดันกฎหมายเพิ่มความคุ้มครอง 11 เรื่อง

นายกฯ ห่วงคุณภาพชีวิต "แรงงาน" ผลักดันกฎหมายเพิ่มความคุ้มครอง 11 เรื่อง

นายกฯ ห่วงแรงงาน มุ่งยกระดับคุณภาพ ผลักดันกฎหมายเพิ่มความคุ้มครองให้กับลูกจ้าง 11 เรื่อง ส่งเสริมแรงงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ครอบคลุมตามกฎหมาย

SHORT CUT

  • นายกฯ ผลักดันมาตรการ ส่งเสริมแรงงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามกฎหมาย ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน
  • กระทรวงแรงงาน ผลักดันการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ.2567) ตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 
  • โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มการคุ้มครองให้กับลูกจ้างซึ่งทำงานบ้าน 11 เรื่อง

นายกฯ ห่วงแรงงาน มุ่งยกระดับคุณภาพ ผลักดันกฎหมายเพิ่มความคุ้มครองให้กับลูกจ้าง 11 เรื่อง ส่งเสริมแรงงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ครอบคลุมตามกฎหมาย

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับแรงงานนอกระบบ ซึ่งเป็นอีกกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มุ่งผลักดันมาตรการ ส่งเสริมแรงงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามกฎหมาย ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน

รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงาน ได้ผลักดันการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ.2567) ตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 30 เมษายน 2567 

จุดประสงค์เพื่อเพิ่มการคุ้มครองให้กับลูกจ้างซึ่งทำงานบ้าน 11 เรื่อง ได้แก่ 

  1. มีเวลาทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน
  2. มีเวลาพักไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
  3. มีสิทธิลากิจธุระอันจำเป็น
  4. ห้ามหญิงมีครรภ์ทำงานเวลา 22.00 – 06.00 น. ทำล่วงเวลา หรือวันหยุด
  5. ลูกจ้างหญิงลาคลอดได้ 98 วัน
  6. ห้ามเลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์
  7. ให้นายจ้างแจ้งการใช้แรงงานเด็ก 
  8. ลูกจ้างเด็กมีสิทธิฝึกอบรมโดยได้รับค่าจ้าง 30 วัน 
  9. ลูกจ้างหญิงได้รับค่าจ้างลาคลอด 45 วัน 
  10. ห้ามนายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด 
  11. ลูกจ้างได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 

รัฐบาลมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานในทุกภาคส่วน ให้แรงงานทุกกลุ่ม ได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ครอบคลุมและสอดคล้องตามสภาพสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้ง สนับสนุนให้ กฎ ระเบียบ ช่วยดูแลคุ้มครองแรงงาน อย่างทั่วถึง และเท่าเทียม ด้วยตระหนักดีว่า แรงงานทุกคนคือกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related