svasdssvasds

ชลประทาน เผยสถานการณ์น้ำและเฝ้าระวัง ชี้อ่างเก็บน้ำทั่วประเทศยังรับได้

ชลประทาน เผยสถานการณ์น้ำและเฝ้าระวัง ชี้อ่างเก็บน้ำทั่วประเทศยังรับได้

กรมชลประทาน เผยสถานการณ์น้ำและเฝ้าระวัง ขณะที่ปริมาณน้ำ เก็บกัก อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศยังคงรับน้ำได้

วันที่ 5 ก.ย. 2565 กรมชลประทาน ได้รายงานถึงสถานการณ์น้ำและการเฝ้าระวังในช่วงระยะนี้ หลังปริมาณฝนที่ตกหนักติดต่อกันหลายวันทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยสภาพภูมิอากาศ ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และ อ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ปริมาณฝนตก 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาสูงสุด 3 ล าดับ ได้แก่ อ.เกาะช้าง จ.ตราด 165.6 มม. อ.เกาะช้าง จ.ตราด 157.0 มม. และ อ.คุระบุรีจ.พังงา 155.0 มม

 

ขณะที่ปริมาณน้ำ เก็บกัก อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศยังคงรับน้ำได้

ภาคเหนือ

-ปี 2565 14,615 ล้าน ลบ.ม.

-ปี 2564 9,339 ล้าน ลบ.ม

-มากกว่า 5,276 ล้าน ลบ.

-รับน้ำได้อีก 11,217 ล้าน ลบ.ม

 

ภาคตะวันตก

-ปี 2565 19,897 ล้าน ลบ.ม.

-ปี 2564 18,969 ล้าน ลบ.ม.

-มากกว่า 928 ล้าน ลบ.ม.

-รับน้ำได้อีก 6,855 ล้าน ลบ.ม.

 

ภาคใต้

ปี2565 5,103 ล้าน ลบ.ม.

ปี2564 5,413 ล้าน ลบ.ม.

น้อยกว่า 310 ล้าน ลบ.ม.

รับน้ำได้ 3,760 ล้าน ลบ.ม.

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปี2565 6,834 ล้าน ลบ.ม.

ปี2564 4,651 ล้าน ลบ.ม.

มากกว่า 2,183 ล้าน ลบ.ม.

รับน้ำได้อีก 3,547 ล้าน ลบ.ม.

 

ภาคกลาง

ปี2565 854 ล้าน ลบ.ม.

ปี2564 401 ล้าน ลบ.ม.

มากกว่า 453 ล้าน ลบ.ม.

รับน้ำได้อีก 934 ล้าน ลบ.ม.

 

ภาคตะวันออก

ปี 2565 1,650 ล้าน ลบ.ม.

ปี 2564 1,413 ล้าน ลบ.ม.

มากกว่า 237 ล้าน ลบ.ม.

รับน้ำได้อีก 823 ล้าน ลบ.ม.

 

น้ำใช้การทั้งประเทศ

ปี 2565 48,953 ล้าน ลบ.ม.

ปี 2564 40,186 ล้าน ลบ.ม.

มากกว่า 8,767 ล้าน ลบ.ม.

รับน้ำได้อีก 27,126 ล้าน ลบ.ม.

 

พื้นที่ประสบอุทกภัย สาเหตุเนื่องจากอิทธิพล ร่องมรสุม และพายุ ดังนี้

- พายุดีเปรสชัน "มู่หลาน " ที่อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง และเคลื่อน เข้าปกคลุมประเทศจีนตอนใต้ ประเทศเมียนมาตอนบน และประเทศลาวตอนบน (วันที่ 11-13 ส.ค.65)

- ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อม ความกดอากาศต่ าบริเวณประเทศเมียนมาตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปก คลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีก าลังปานกลาง (วันที่ 20-22 ส.ค.65)

- พายุดีเปรสชัน "หมาอ๊อน" ที่อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง บริเวณประเทศลาวตอนบน (วันที่ 24-26 ส.ค.65) ส่งผลทำให้มีพื้นที่ได้รับผลกระทบรวม 35 จังหวัด ดังนี้

*จังหวัดที่เข้าสู่ภาวะปกติ 23 จังหวัด ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ล าปาง พะเยา น่าน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ตาก พิจิตร เลย นครราชสีมา ตราด จันทบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี เพชรบูรณ์ นครนายก ระนอง ภูเก็ต ระยอง และสระบุรี

*จังหวัดที่ประสบอุทกภัย 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี บุรีรัมย์ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และสุพรรณบุรี

 

ข้อมูลจาก : กรมชลประทาน