svasdssvasds

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ส่องนโยบาย 5 พรรคการเมือง พรรคไหนให้ - ซื้อใจ คนชราบ้าง

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  ส่องนโยบาย 5 พรรคการเมือง พรรคไหนให้ - ซื้อใจ คนชราบ้าง

ส่องนโยบาย 5 พรรคการเมืองใหญ่ ซื้อใจผู้สูงอายุ เหล่าบรรดาผู้สูงวัยที่มีมากกว่า 12 ล้านคน มีพรรคใด มีเป้าประสงค์ เพิ่ม "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" หรือไม่ เช็กเลย

เรื่องราวของประเด็นสังคม เรื่อง "เบี้ยผู้สูงอายุ" หรือ "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเพิ่ง มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว

 โดย ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ลงนามโดย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 โดยมีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่ 12 สิงหาคม 2566

สำหรับหลักเกณฑ์ใหม่การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เบื้องต้น ประกาศเงื่อนไขไว้ 4 ข้อดังนี้ 

  • มีสัญชาติไทย
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ยืนยันสิทธิขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด
     

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้  เป็นการปรับปรุง หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดิม  ซึ่งของเดิมนั้น  เป็นแบบ  การจ่ายเบี้ยยังชีพคนชราแบบ "ถ้วนหน้า"  และทันทีที่  เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566  หรือ เบี้ยยังชีพแบบใหม่ ประกาศใช้ ก็ นับได้ว่าเป็นการสิ้นสุดการจ่ายเบี้ยยังชีพคนชราแบบ "ถ้วนหน้า" ที่ดำเนินมากว่า 14 ปี  และมีทั้งกระแส "เห็นด้วย" กับ "ไม่เห็นด้วย" กับเรื่อง 

แต่ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ ก็คือ เรื่องการปรับ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 สร้าง แรงกระเพื่อมให้กับสังคม ไม่น้อย  ณ เวลานี้ ที่ประเทศไทย ยังสามารถตั้งรัฐบาลได้ หลังการเลือกตั้ง 2566 , แม้จะผ่าน วันเลือกตั้งมาแล้ว 3 เดือนเต็มก็ตาม 

SPRiNG ชวนย้อนดู นโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุ พรรคใหญ่ ๆ พรรคใดบ้าง ที่ออกนโยบาย วาดฝันให้ผู้สูงอายุ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ พรรคใดบ้าง โฟกัส เรื่อง "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ"

ส่องนโยบาย 5 พรรคการเมืองใหญ่ ซื้อใจผู้สูงอายุ เหล่าบรรดาผู้สูงวัยที่มีมากกว่า 12 ล้านคน  มีพรรคใด มีเป้าประสงค์ เพิ่ม "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" หรือไม่  เช็กเลย

• พรรคเพื่อไทย 

เริ่มต้นกันที่พรรคเพื่อไทย พรรคที่กำลังจะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล 2566 , หลังจากที่ พรรคก้าวไกล เปิดทางให้ หลังจากตั้งรัฐบาลและเสนอชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกฯ ไม่สำเร็จ , โดย 

โดยพรรคเพื่อไทย มีนโยบายด้านสาธารณสุข , ไม่มีการเพิ่มเบี้ยคนชรา หรือ เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  แต่ พรรคเพื่อไทย มีความประสงค์

- บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทั่วไทย
- ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกฟรีเด็กหญิงอายุตั้งแต่ 9-11 ปี และผู้หญิงที่ยังไม่เคยรับเชื้อ HPV
- ส่งเสริมให้มีสถานชีวาภิบาล ดูแลผู้ป่วยติดเตียง โดยงบประมาณ สปสช.
- กรุงเทพฯ มีโรงพยาบาลประจำเขตครบทั้ง 50 เขต
- ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ผ่านระบบทางไกล หรือ Telemedicine รักษาและจ่ายยาออนไลน์ ลดภาระของผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์
- ส่งเสริมให้มีสถานชีวาภิบาล สำหรับผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผ่านความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโดย สปสช.

ส่องนโยบาย 5 พรรคการเมืองใหญ่ ซื้อใจผู้สูงอายุ เหล่าบรรดาผู้สูงวัยที่มีมากกว่า 12 ล้านคน  มีพรรคใด มีเป้าประสงค์ เพิ่ม "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" หรือไม่  เช็กเลย

• พรรคภูมิใจไทย

-  ไม่เพิ่มเบี้ยคนชรา 
 - เสนอนโยบายกองทุนประกันชีวิต สำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับสิทธิเป็นสมาชิกกองทุนประกันชีวิต 
- มีกรมธรรม์ประกันชีวิตทันที โดยไม่ต้องสมัคร ไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต
- ศูนย์ฟอกไตฟรีทุกอำเภอ ศูนย์ฉายรังสีรักษาโรคมะเร็งฟรีทุกจังหวัด

ทั้งนี้ โดย ภูมิใจไทย อธิบายเหตุผลสำคัญ 2 ข้อคือ เกี่ยวกับ เรื่องกองทุนประกันชีวิต 60 ปีขึ้นไป ไว้ดังนี้ 
1.ในวันที่อยู่ "ผู้สูงวัย" จะไม่เป็นภาระของลูกหลาน มีสิทธิกู้เงินเพื่อประกอบอาชีพและหาเลี้ยงตัวเองได้ในวงเงิน 20,000 บาท โดยไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน แต่จะใช้กรมธรรม์ประกันชีวิตที่รัฐบาลทำให้ ค้ำประกันตัวเอง
2. ในวันที่จากไป "ผู้สูงวัย" ไม่สร้างภาระให้ลูกหลาน ทุกคนจะมีมรดกให้ลูกหลาน ทายาท และครอบครัว รายละ 100,000 บาท

ส่องนโยบาย 5 พรรคการเมืองใหญ่ ซื้อใจผู้สูงอายุ เหล่าบรรดาผู้สูงวัยที่มีมากกว่า 12 ล้านคน  มีพรรคใด มีเป้าประสงค์ เพิ่ม "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" หรือไม่  เช็กเลย

• พรรค ก้าวไกล
- เพิ่มเบี้ยคนชรา เป็นเดือนละ 3,000 บาท จากสวัสดิการเก่าซึ่งอยู่ที่ 600-1,000 บาทต่อเดือน 
- พัฒนากองทุนดูแลผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยติดเตียง เฉลี่ยเดือนละ 9,000 บาทต่อคน 
- ปลดล็อกระบบการแพทย์ทางไกล Telemedicine

ทั้งนี้ พรรคก้าวไกล มองว่า ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักหรือเข้าไม่ถึงการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยในระยะปานกลาง ระยะยาว ระยะประคับประคอง ทำให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแล ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสูงอายุและไม่สามารถพึ่งพาตัวเอง  
• พรรคพลังประชารัฐ

พรรคของลุงป้อม "พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ" ชูนโยบายเรื่องดูแล ผู้สูงอายุ โดยจะ ปรับขึ้นเบี้ยคนชราแบบขั้นบันได

60 ปีขึ้นไป รับ เดือนละ 3,000 บาท
70 ปี รับเดือนละ 4,000 บาท
80 ปีขึ้นไป รับเดือนละ 5,000 บาท
- ขยายอายุเกษียณจาก 60 เป็น 63 ปี

นอกจากนี้พรรคพลังประชารัฐ จะให้  หลักประกันสุขภาพที่คุ้มครองและครอบคลุมประชาชนทุกคน

• พรรครวมไทยสร้างชาติ

ปรับเบี้ยสูงอายุที่เคยเป็นแบบขั้นบันได ให้เท่ากันทุกช่วงวัย เดือนละ 1,000 บาท
สร้างศูนย์ดูแลผู้สูงวัย สร้างศูนย์สันทนาการผู้สูงอายุชุมชน และลดภาษีให้ผู้ประกอบการที่จ้างผู้สูงวัยทำงาน
จัดทำแอปพลิเคชันและระบบสมาร์ทโฮมสำหรับการดูแลผู้สูงวัยในที่อยู่อาศัย และคลินิกสำหรับคนสูงวัยในโรงพยาบาลระดับอำเภอ
เพิ่มเงินสมทบของภาครัฐ เพื่อให้ผู้ประกันตนมีรายได้หลังเกษียณอายุไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 บาท


สำหรับประเด็นเรื่อง "เบี้ยผู้สูงอายุ" ที่กำลังร้อนแรงปรอทแตกนั้น คงต้องยอมรับความจริงว่า "ผู้สูงอายุ" จำนวนมาก กำลัง ถูกตรวจสอบ "ความจน" ว่าจน จริงไหม
ต้องถูกตรวจสอบคุณสมบัติด้านรายได้ จากเดิมที่เป็นระบบการขึ้นทะเบียนยืนยันสิทธิ โดยไม่มีการเช็คคุณสมบัติสถานะทางเศรษฐกิจ...

การปรับครั้งนี้ เวิร์ก หรือไม่เวิร์ก  , แต่ที่แน่ๆ มันส่งผลกระทบแรงกระเพื่อมต่อ ประชาการ ผู้สูงอายุ ในไทย ที่มีมากกว่า  12 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 19.21 แน่นอน!

related